โรคที่มากับน้ำ ภัยร้ายต่อสุขภาพที่ต้องระวัง เมื่อเกิด น้ำท่วม 2567

28 ส.ค. 67

เช็กลิสต์ โรคที่มากับน้ำ ภัยร้ายอันตรายต่อสุขภาพ ที่ควรต้องสังเกตและป้องกัน เมื่อประสบภัย น้ำท่วม 2567 รู้ก่อนป้องกันก่อน ลดความรุนแรง!

สถานการณ์น้ำท่วม 2567 สร้างความเสียหายหนักให้กับประชาชนหลายพื้นที่ โดยเฉพาะประชาชนภาคเหนือในจังหวัด เชียงราย แพร่ น่าน สุโขทัย น้ำท่วม 2567 ครั้งนี้สร้างความเสียหายหนักทั้งทรัพย์สินและพื้นที่การเกษตร เป็นผลกระทบต่อเนื่องต่อความเป็นอยู่แล้การใช้ชีวิตของประชาชน ซ้ำยังนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพบางโรค ที่อาจมาพร้อมกับน้ำท่วมอีกด้วย

น้ำท่วมเหนือ ใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาได้ทุกที
สปสช. ให้ข้อมูลไว้ว่า เนื่องจากสถานการณ์ น้ำท่วมเหนือ ทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากการบริการรักษาที่ไม่ทั่วถึง ฉะนั้นแล้วสำหรับประชาชนทั่วไปที่ถือสิทธิ์บัตรทอง 30 บาท ในพื้นที่กระทบจากน้ำท่วม สามารถเข้าร่วมโครงการรักษาทุกที่ทันที โดยไม่ต้องเดินทางไปยังหน่วยพยาบาลที่มีสิทธิ์ และไม่มีค่าใช้จ่าย โดยเป็นหนึ่งในการอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ที่ไม่สามารถเดินทางไปได้ เนื่องจากการสัญจรที่ยากลำบาก และอาจเกิดเหตุอันตรายซ้ำซ้อนได้ ทั้งนี้หากสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายอยู่ในระดับปกติ แนะนำให้ประชาชนกลับไปรับสิทธิ์การรักษาตามหน่วยปฐมภูมิใกล้บ้านที่ลงทะเบียนไว้

 

โรคที่มากับน้ำ ภัยร้ายต่อสุขภาพที่ต้องระวัง
ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศเตือน โรคที่มากับน้ำ 6 ภัยร้ายอันตรายต่อสุขภาพที่มากับน้ำท่วม อันได้แก่ โรคไข้เลือดออก, โรคน้ำกัดเท้า, โรคตาแดง, โรคระบบทางเดินหายใจ, โรคฉี่หนู และ โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร

 

pic1

 

โรคไข้เลือดออก

อาการ : ผู้ป่วยอาจมีไข้สูงลอย 2-7 วัน อุณหภูมิสูงกว่าปกติตลอด 24 ชั่วโมง โดยอุณหภูมิสูงและต่ำสุดต่างกันไม่เกิน 1 องศาเซลเซียส มีอาหารปวดศีรษะ ปวดเมื่อตามตัว มีจุดเลือดสีแดงตามผิวหหนัง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว เบื่ออาหาร หรืออารกมีเลือดออกตามไรฟัน

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
  • ทายากันยุง นอนในมุ้ง
  • สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว
  • กำจัดแหล่งน้ำขัง บริเวณที่พักชั่วคราว

 

โรคน้ำกัดเทา

อาการ : ผู้ป่วยอาจรู้สึกเริ่มคันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังมีอาการลอกเป็นขุย บางรายอาจผิวหนังอักเสบ บวมแดง หรือเป็นผื่นแผลพุพอง เท้าเปื่อย เท้าเป็นหนอง

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการแช่ การลุยน้ำ ลุยโคลน
  • สวมรองเท้าบู๊ทเมื่อต้องลุยน้ำ
  • หากจำเป็นต้องลุย รีบล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำ แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็ว
  • หากมีบาดแผลใช้แอลกอฮอล์เช็ด และทายาฆ่าเชื้อ

 

โรคตาแดง

อาการ : ผู้ป่วยที่มีอาการตาแดง จะเริ่มจากการรู้สึกระคายเคืองตา ปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง หนังตาบวม มีขี้ตามากกว่าปกติ เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง ตาสู้แสงไม่ได้

การป้องกัน

  • ล้างตาด้วยน้ำสะอาด เมื่อมีฝุ่นหรือสิ่งสกปรกเข้าตา
  • ไม่ควรขยี้ตาด้วยมือสกปรก เมื่อรู้สึกระคายเคือง
  • แยกตัวจากคนอื่นเมื่อมีอาการตาแดง
  • แยกของใช้ ไม่ใช้ของร่วมกับผู้ป่วยตาแดง

 

โรคระบบทางเดินหายใจ

อาการ : ผู้ป่วยจะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ น้ำมูก ไอ เจ็บคอ ปวดศีรศะ ปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

การป้องกัน

  • รักษาร่างกายให้แห้งและอบอุ่นโดยเสมอ
  • เลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง
  • รักษาสุขอนามัยอย่างดี
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือน้ำสะอาด
  • ปิดปากและจมูกเวลาไอหรือจาม
  • หากมีอาการนานเกิน 7 วันรีบไปพบแพทย์

 

โรคฉี่หนู หรือ โรคเลปโตสไปโรซิส

อาการ : ผู้ป่วยจะมีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา หรือหลัง ปวดศีรษะ ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง เจ็บคอ เบื่ออาหาร มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง รวมถึงมีอาการปัสสาวะน้อย

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการแช่ การลุยน้ำ ลุยโคลน
  • สวมรองเท้าบู๊ทเมื่อต้องลุยน้ำ
  • หากจำเป็นต้องลุย รีบล้างเท้าด้วยสบู่และน้ำ แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็ว
  • ดูแลที่พักไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อ

 

โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร อาทิ โรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค โรคบิด ไทฟอยด์ และโรคตับอักเสบ

อาการ : ผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินอาหาร จะมีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือถ่ายเป็นมูกเลือด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เบื่ออาหาร หรือมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง

การป้องกัน

  • ทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุก
  • ดื่มน้ำสะอาด น้ำที่มีฝาปิด หรือน้ำต้มสุก
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้ง
  • ระวังการขับถ่ายส่วนตัวเป็นประจำ

ทั้งนี้ นอกจากอันตรายจาก โรคที่มากับน้ำ ภัยร้ายต่อสุขภาพที่ต้องระวัง เมื่อเกิด น้ำท่วม 2567 แล้ว ยังมีอุบัติเหตุและการถูกกัดจากสัตว์มีพิษร้ายที่ควรต้องระวังช่วง น้ำท่วม เช่น อาการไฟดูด, จมน้ำ หรือเยียบของมีคอม รวมถึงต้องะระวังงู ตะขาย แมงป่อง ที่หนีน้ำมาอาศัยบริเวณบ้านเรือนอีกด้วย

 

ที่มา : The Coverage (thecoverage.info) / กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (facebook.com)

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด