ซึมเศร้าหลังน้ำท่วม อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะภัยพิบัติทางธรรมชาติ

29 ส.ค. 67

น้ำท่วม 2567 สถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น อาจเป็นต้นเหตุของ ซึมเศร้าหลังน้ำท่วม อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สถานการณ์น้ำท่วม 2567 ยังเป็นที่ต้องจับตามองอย่างต่อเนื่อง ด้วยหลายพื้นที่ ประชาชน หน่วยงานที่ได้รับผลกระทบยังคงเป็นวงกว้าง จากการ น้ำท่วม 2567 อาจทำให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบรู้สึกแย่ หรือสูญเสียบางอย่าง นับเป็นความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ จากผลกระทบของการน้ำท่วมครั้งนี้ หากถึงเวลาที่สถานการณ์คลี่คลายลง ประชาชนอาจรู้สึกโศกเศร้า รู้สึกแย่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จนกลายเป็นภาวะ ซึมเศร้าหลังน้ำท่วม ได้เช่นกัน

น้ำท่วมเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือแหล่งรายได้ และความเสียหายจะยิ่งเด่นชัด เมื่อเกิดผลปรากฏชัดเจนหลังจากน้ำลดลง สิ่งเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตใจ หรือเกิดเป็นความเครียดต่อผู้สูญเสีย ซึ่งวิธีการจัดการและรับมือของแต่ละคนต่างกัน ภูมิคุ้มกันทางจิตใจก็ย่อมต่างกันไป ผู้ที่มีโอกาสเป็น ซึมเศร้าหลังน้ำท่วม เกิดได้หลายสาเหตุ อาทิ

  • ผู้ที่สูญเสียเป็นจำนวนมาก ทั้งสมาชิกครอบครัวเสียชีวิต สูญเสียทรัพย์สิน สูญเสียแหล่งรายได้
  • ผู้ที่มีแหล่งช่วยเหลือน้อย หรือไม่สามารถหาทางออกจากคนรอบข้างได้ เพราะต้นทุนชีวิตที่มีจำกัด
  • ผู้ที่มีปัญหาเดิมส่วนตัว เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัว พิการ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ รวมถึงผู้ที่ป่วยซึมเศร้าเดิม
  • ผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือจากหน่วยงาน องค์กร หรือภาครัฐได้ ต้องจัดการด้วยตนเอง

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตได้ระบุว่า หลังจากสถานการณ์น้ำลด อาจมีผู้ประสบภัยที่ไม่สามารถปรับตัวกับเรื่องที่เกิดขึ้น จนเป็นสาเหตุของความเครียด อีกทั้งบางคนอาจเพิ่งตื่นรู้จากสภาพชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม อาจมีความรู้สึกทางอารมณ์ที่เปลี่ยนไป รวมถึงอาจมีอาการเตือนทางร่างกายที่อาจที่อาจเป็นสาเหตุของการเป็นผู้ป่วยจิตเวช

 

ปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากภัยพิบัติ ที่อาจก่อให้เกิดภาวะ ซึมเศร้าหลังน้ำท่วม

  • โรคเครียดรุนแรง หรือ PTSD

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักแสดงอาการอย่างชัดเจน หลังพ้นเหตุการณ์ไป 3-6 เดือน มักมีอาการฝันร้ายถึงเหตุการณ์บ่อย ๆ รู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์ หรือเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกครั้ง สั่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับ มีปัญหาเรื่องการตัดสินใจ

 

  • ความเครียดและวิตกกังวล

กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบที่มีความเครียด หรือมีความวิตกกังวล อาจมีอาการตื่นตระหนกในภายหลัง มีอาการมือสั่น ใจสั่น เหงื่อออก ปวดศีรษะบ่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือนอนหลับยาก บางรายอาจส่งผลกระทบที่พัฒนาไปเป็นอาการแพนิกต่อเนื่อง

 

  • ภาวะซึมเศร้า

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยมักแสดงอาการหลังจากนั้นอย่างชัดเจน ในช่วง 2 สัปดาห์ให้หลังเหตุการณ์ โดยมีอาการปรากฏทั้งทางร่างกายและจิตใจ ได้แก่ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ทำงานไม่ไหว ปวดศีรษะบ่อย จุกเสียด นอนไม่หลับ และมีอาการทางจิตใจอย่าง อารมณ์เศร้าหมอง ท้อแท้ ร้องไห้ง่าย เบื่อหน่าย ลืมบ่อย ใจลอย รู้สึกชีวิตไม่มีความหมาย ซึ่งถือเป็นอาการอันตรายที่ควรต้องเร่งรับคำปรึกษา ที่อาจเป็นสาเหตุของการปลิดชีวิตตนเอง

 

  • ภาวะติดสุราหรือสารเสพติด

ผู้ประสบภัยบางรายอาจรับมือกับเรื่องที่เกิดขึ้น ด้วยการคลายเครียดด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ เสพสารเสพติด จนเกิดเป็นปัญหาต่อเนื่องด้วยการขาดไม่ได้ บางครั้งอาจเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อย แต่เมื่อนานวันยังคงพฤติกรรมเดิม อาจเป็นอาการเสพติดที่นำไปสู่การเสียความสามารถด้านต่าง ๆ

 

ครอบครัวและคนใกล้ชิด คือกำลังสำคัญในการฟื้นตัวหลังน้ำลด
ความเครียดหรืออาการ ซึมเศร้าหลังน้ำท่วม เป็นเรื่องปกติที่มนุษย์จะรู้สึกวิตกกังวล ซึ่งการฟื้นฟูสภาพจิตใจที่สำคัญคือ การเข้าถึงการเยียวยา หรือการได้รับความช่วยเหลือให้กลับสู่สภาวะที่ปกติโดยเร็วที่สุด ที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ที่ได้รับความเสียหาย ไม่รู้สึกถึงการตกเป็นเหยื่อสำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งหากมีการร่วมแรงร่วมใจกันภายในชุมชน ร่วมด้วยช่วยกันสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ จะเป็นหนึ่งในการจัดการที่ไวที่สุด

นอกเหนือจากนี้ภายในครอบครัวเดียวกัน ต้องหมั่นสังเกต พูดคุย ระบายความรู้สึกด้วยกันบ่อย ๆ เพื่อเป็นตัวช่วยไม่ให้ความเครียดพุ่งสูง จนเป็นเหตุให้ตัดสินใจด้วยสภาพจิตใจที่ไม่มั่นคง ทั้งนี้ระหว่างที่ฟื้นฟูสภาพจิตใจ ต้องไม่ใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติดอื่น ที่อาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้ปัญหาหนักกว่าเดิม

สำหรับผู้ที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่าง น้ำท่วม 2567 หากรู้สึกว่าสิ่งที่เยียวยากันและกันภายในครอบครัวอยู่ เริ่มเป็นปัญหาที่ใหญ่เกิดการจะแก้ไขได้ หรือไม่สามารถพูดคุยกับผู้ที่อยู่ในภาวะเครียดได้ ควรต้องรีบพาเข้ารับการรักษา ทั้งนี้หากผู้ป่วยเองรู้สึกว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หนักเกินกว่าที่ตนเองจะสามารถรับมือได้ และเพื่อโอกาสในการก้าวเดินต่อไปข้างหน้า สามารถเข้ารับคำปรึกษา หรือติดต่อเพื่อปรึกษาได้ที่ สายด่วนกรมสุขภาพจิต โทร. 1312 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ที่มา : สสส. thaihealth.or.th (1) (2)

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ไลฟ์สไตล์ ล่าสุด