จับตาทิศทางสุขภาพคน ไทย ปี 2568 เมื่อโลกเดือด โรคก็เดือด วิธีรับมือดูแลสุขภาพใจ-กาย อย่างยั่งยืน
จับตาทิศทางสุขภาพคน ไทย 2568 โลกร้อน เทคโนโลยี กระทบสุขภาพกาย-ใจ คนไทยป่วย NCDS-โรคติดต่อทางเพศ พุ่ง! "บุหรี่ไฟฟ้า" สิ่งเสพติดมหันตภัยตัวใหม่ โหมโฆษณามอมเมาเยาวชน น่าห่วงกลุ่มวัยทำงานเครียดจัด เลือกคิดสั้นเป็นทางออก สะท้อนสังคมอมทุกข์ ฉุดสุขภาพระยะยาวทรุดโทรม
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในงาน จับตาทิศทางสุขภาพคน ไทย 2568 (ThaiHealth Watch 2025) ว่า สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนสังคมด้วยข้อมูล (Data-Driven Society) พัฒนานวัตกรรม ThailHealth Watch เพื่อน้ำเสนอแนวทางลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นใหม่ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 โดยรวบรวมองค์ความรู้จากสถานการณ์สุขภาพคนไทย ปี 2567 ประกอบกับความคิดเห็นเรื่องสุขภาพยอดนิยมบนสื่อออนไลน์ และข้อแนะนำทั้งระดับปัจเจกบุคคลและนโยบายต่อสังคม เกิดเป็นประเด็นกระแสสังคม 7 ประเด็น ประกอบด้วย
สำนักบริการด้านสภาพแวดล้อมของสหภาพยุโรป พบปี 2566 เป็นปีที่โลกมีอุณหภูมิร้อนที่สุด โลกร้อนขึ้นทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความหลากหลายทางระบบนิเวศ ระบบสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ไทยเสี่ยงจากผลกระทบสภาพภูมิอากาศเป็นอันดับ 9 ของโลกโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางคือกลุ่มเสี่ยงที่สุด สสส. จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย สร้างทักษะคนรุ่นใหม่สามารถสื่อสารลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในปัจจุบัน รัฐบาลมีความก้าวหน้าเชิงนโยบายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอย่างมาก เช่น นโยบายการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ทั้งนี้ บางนโยบายยังไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร เช่น การจัดการขยะและการรีไซเคิล การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้หรือการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน ฯลฯ
รายงานคุณภาพอากาศปี 2566 พบไทยมีมลพิษมากเป็นอันอันดับที่ 36 ของโลก เฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 23.3 มคก./ลบ.ม.มากกว่าค่าเฉลี่ยรายปีที่องค์การอนามัยโลกกำหนดถึงเกือบ 5 เท่า โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ได้รับผลกระทบเทียบเท่ากับ สูบบุหรี่ 1,224 มวน ส่งผลให้มีผู้ป่วยทางเดินหายใจกว่า 11 ล้านคนต่อปี สสส. ชวนจับตาร่าง พ.ร.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 2-3 ในต้นปี 2568
อนึ่ง ปัญหาฝุ่น PM 2.5 สัมพันธ์กับการเกิดโรคทางจิตเวช เนื่องจากการอักเสบของหลอดเลือดและระบบประสาทมีผลต่อการทำงานของระบบสารสื่อประสาท อันนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ภาวะเครียด ไปจนถึงฆ่าตัวตาย
พบผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มขึ้นจาก 1.3 ล้านคนในปี 2558 เป็น 2.9 ล้านคน ในปี 2566 สสส. ร่วมกับภาคีพัฒนานวัตกรรมดูแลสุขภาพจิต ภายใต้โต้โครงการ "ประสบการณ์" เพื่อลดช่องว่างและทัศนคติระหว่างวัย
พฤติกรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 2565 โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พบคนไทยใช้อินเทอร์เน็ต 7.04 ชม./วัน แต่กลับมีความรู้ด้านการป้องกันภัยออนไลน์ต่ำ ส่งผลให้เสพติดพนันออนไลน์ โดนกลั่นแกล้ง คุกคามทางเพศ สสส. ได้ผลักดันกลไกเครือข่ายสร้างทักษะรู้เท่าทันสื่อทุกลุ่มวัย เพื่อเฝ้าระวังและลดภัยออนไลน์ทุกรูปแบบ
พบคนไทยเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ (NCDS) สูงถึง 74% ของการเสียชีวิตทั้งหมด คิดเป็น 4 แสนคนต่อปี เด็กที่อ้วนมีแนวโน้มเป็นผู้ใหญ่ที่ป่วยโรค NCDs โดยเฉพาะโรคเบาหวานที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มจาก 4.8 ล้านคนในปี 2566 เป็น 5.3 ล้านคนในปี 2583 ซึ่งสาเหตุเกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น เครื่องดื่มชง เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป
พบไทยป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจาก 28.8 คนต่อประชากรแสนคน ในปี 2560 เป็น 53 คนต่อประชากร ปี 2566 สสส. พัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม เครื่องมือสำหรับทุกกลุ่มวัยในเว็บไซต์ www.คุยเรื่องเพศ.com เน้นให้ความรู้ตั้งแต่ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายไปถึงความเข้าใจสิทธิทางเพศ
ข้อมูลจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพปี 2566 พบเด็กสูบบุหรีไฟฟ้า 9.1% จากการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มนักสูบหน้าใหม่ โดยออกแบบผลิตภัณฑ์สีสันสดใส ทันสมัย และกลิ่นหอม โฆษณาว่าว่าเป็นสินค้าที่เท่และปลอดภัย ประกอบกับผู้ปกครองชาดความรู้เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า สสส. มุ่งเป้าลดอัตรานักสูบหน้าใหม่ มีนโยบายสนับสนุน 5 มาตรการ 1.พัฒนาองค์ความรู้ 2.สร้างความตระหนักรู้ 3.เฝ้าระวังและบังดับใช้กฎหมาย 4.พัฒนาศักยภาพเครือข่าย 5.ผลักดันนโยบายและมาตรการป้องกัน
ทั้งนี้ ThailHealth Watch 2025 เป็นเครื่องมือสำคัญกระตุ้นสังคมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคต ลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงนวัตกรรมสุขภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของทุกคนในสังคม ติดตามข้อมูลได้ที่ htps:/resourcecenter.thaihealth.or.th/healthtrend และสามารถรับขัอมูล สุขภาพเฉพาะรายบุคคลได้ที่แอปพลิเคชัน Persona Health"
ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิช รองคณบดี คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปี 2566 คนไทยมีอัตราการฆ่าตัวตาย 7.9 คนต่อประชากรแสนคน และยังมีแนวโน้มมากขึ้นทุกปี แต่บุคลากรด้านสุขภาพจิตกลับเป็นสาขาที่มีจำนวนจำกัด มีจิตแพทย์ 1,000 คน นักจิตวิทยา 1,000 คน ซึ่งการจะเพิ่มบุคลากรด้านสุขภาพจิตให้เพียงพอต้องใช้เวลาถึง 5-10 ปี กระทรวงสาธารณสุขคาดการณ์ว่า 10 ปีข้างหน้า สุขภาพจิตจะกลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นอันดับ 1 ของโรคไม่ติดต่อทั้งหมด ซึ่งกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง คือ กลุ่มวัยทำงาน พบมีความเครียดในการทำงาน 42.7% ในจำนวนนี้นี้มี ภาวการณ์ฝืนทำงานแม้มีปัญหาสุขภาพจิต 27.5% การรักษาในโรงพยาบาลจึงอาจไม่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต
แนวทางการสร้างนโยบายการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตที่ดีในการทำงาน 6 เรื่อง คือ
1. เพิ่มสวัสดิการด้านการ รักษาสุขภาพกายและใจ
2. อบรมให้ความรู้และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ
3. เพิ่มสวัสดิการการลา
4. ส่งเสริมการพูดคุยสื่อสารและรับฟังปัญหา
5. สร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมที่ดีในองค์กร
6. เพิ่มสวัสดิการทางการเงิน ช่วยให้พนักงานเข้าถึงการได้รับบริการหรือการส่งเสริมสุขภาพจิตและสุขภาพใจ"
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผยกับ "อมรินทร์ ออนไลน์" ว่า ในสุขภาวะที่ยั่งยืนต้องเริ่มที่ตัวเราเองก่อนเลย อย่าพึ่งคิดถึงคนอื่น เราควรจะต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่า วันนี้ เราดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืนของเราดีหรือยัง? ทั้งเรื่องของการใช้ชีวิต การกิน การออกกำลังกายดีแล้วหรือยัง ถ้าเราทำทั้งหมดดีแล้วเราก็ค่อยมาตั้งคำถามต่อว่าสิ่งแวดล้อมของเราดีหรือยัง
เมื่อเรามอง เราจะเห็นเลยว่าปัญหาส่วนใหญ่ของสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ทั้งเรื่องโลกเดือด หรือชีวิตอมฝุ่น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะทุกคนเอาตัวรอด ทุกคนมองถึงตัวเองก่อน แล้วพอทุกคนเอาตัวรอด มองไปใครๆ ก็เอาตัวรอด ดังนั้นฉันก็ทำได้สิ
อย่างปัญหาการเผาป่า ฉันจุดไฟทำไมล่ะ คนอื่นเขาก็จุดกัน เมื่อทุกคนคิดถึงแต่ตัวเองก่อน แล้วระบบเองมันก็ไม่ได้มาบอกว่าทำไม่ได้ด้วย เพราะฉะนั้นสิ่งที่ทุกคนทำก็คือมองแต่ตัวเอง เรื่องของน้ำท่วม ภัยต่างๆ ก็แบบเดียวกัน ป่าก็หายไปเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันเพราะทุกคนมองเห็นแต่ตัวเอง เพราะฉะนั้นมันต้องหยุด หยุดชี้ที่คนอื่น ต้องกลับมามองตัวเอง ถ้าทุกคนหันมามองตัวเองไม่ไปชี้นิ้วที่คนอื่น เราจะเริ่มปัญหาที่ถูกแล้ว เริ่มมาชวนคุยว่าเราจะเริ่มลดและควบคุมพฤติกรรมในแง่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใช้ร่วมกัน
บางทีเราไปรอแต่ภาคราชการ จริงๆ เราเริ่มได้จากตัวเราเองคือ ภาคพลเมือง พลเมืองคือพลังของเมือง เราก็ลุกขึ้นมาชวนคนนั้นคนนี้ขึ้นมาพร้อมกันอย่างเช่นที่เรียกว่า ประชาสังคม แล้วลองขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ ใกล้ตัวเล็กๆ น้อยๆเริ่มจากที่ตัวเรา เมื่อเราทำได้มากขึ้นมันจะเป็นพลังที่มากขึ้น แล้วขับเคลื่อนสังคมทุกอย่างไปเรื่อยๆ
ถ้าทุกคนเข้าใจและรู้ว่าความยั่งยืนคืออะไรและทุกคนยอมละวางสิ่งที่เป็นความเห็นแก่ตัวลง มันจะมีพลังมากขึ้น แล้วมันก็จะมีพลังที่มากขึ้นในการร่วมกันเข้ามาแก้ปัญหา ตรงนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เราเรียกว่า การขับเคลื่อนทางสุขภาวะปัญญา ที่รู้เท่าทันในการที่ไม่ติดกับดักกับกิเลสของเราเองและสามารถดึงความร่วมมือของทุกคนเข้ามาด้วยกันได้
Advertisement