อายุมาก โรคมาก เป็นความคิดที่เราเข้าใจกันทั่วไป ก็ใช้ชีวิตมานานขนาดนี้จะยังสุขภาพดีกระปรี้กระเปร่าก็คงจะแปลก แต่หากอันที่จริงแล้วมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อสุขภาพมากกว่า “การอยู่มานาน” ล่ะ? วิจัยใหม่ฮาวาร์ดเผยว่า อาหารที่เราบริโภคในช่วงวัยกลางคนส่งผลต่อสุขภาพบั้นปลายมากกว่าที่คิด คือการกินแบบสุขภาพดี 8 ประเภท
ทีมวิจัยจากวิทยาลัยสาธารณสุขฮาวาร์ด (Harvard T.H. Chan School of Public Health) นำโดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นำการวิจัยติดตามชาวอเมริกัน 100,000 คนเป็นเวลากว่า 30 ปี ตั้งแต่อายุ 40-70 ปีอย่างต่อเนื่อง และได้ผลที่เพิ่งตีพิมพ์ออกมาเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมาบนวารสารการแพทย์ Nature Medicine ในชื่อ Optimal dietary patterns for healthy aging
รายงานดังกล่าวชี้ว่าพฤติกรรมการบริโภคช่วงวัยกลางคนมีผลต่อสุขภาพเมื่อสูงวัย แม้ว่าจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีส่วน อย่างการออกกำลังกาย หรือการสูบบุหรี่ก็ตาม ด็อกเตอร์เลอานา เวน ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นอยู่ที่ดีกล่าวกับสำนักข่าว CNN ว่า
“นี่คือการศึกษาระยะยาวเชิงสังเกต หมายความว่าพวกนักวิจัยติดตามคนกลุ่มเดิมเป็นเวลานาน และศึกษาผลการรายงานพฤติกรรมและผลลัพธ์ทางสุขภาพด้วยตนเองของพวกเขา นักวิจัยสอบถามผู้เข้าร่วมว่ามีพฤติกรรมการบริโภาคอย่างไรเป็นเวลา 30 ปีจนกระทั่งพวกเขาอายุแตะเลข 7 ผู้เข้าร่วมบันทึกอาหารที่กินเป็นประจำอย่างละเอียด รายงานว่าพวกเขากินอาหารหลากหลายมากกว่า 130 ชนิด”
ผ่านไป 30 ปี นักวิจัยก็ได้แยกผู้เข้าร่วมจำนวน 9,771 คนออกมาจากผู้เข้าร่วม 105,015 คน และกลุ่มคนราว 9.3% นี้เองที่ได้ชื่อว่า “สูงวัยอย่างสุขภาพดี” ที่ว่าสุขภาพดีก็คือมีอายุ 70 โดยที่ไม่มีโรคเรื้อรัง อย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือ ไม่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ร่างกาย หรือจิตใจ ทีมวิจัยพบว่าคน 9.3 เปอร์เซ็นกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการกินที่กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพทั้ง 8 ประเภท
ด็อกเตอร์เวนกล่าวว่า ผู้เข้าร่วมไม่ได้นิยามเอาเองว่าพวกเขากำลังบริโภคตาม 8 แนวทางการกินอาหารที่ดี แต่ทีมวิจัยสังเกตรูปแบบการกินระยะยาวและจัดออกมาเป็น 8 ประเภทได้แก่
เน้นการกินผัก ผลไม้ ถั่ว เนื้อบางประเภทเช่นเนื้อปลา และผลิตภัณฑ์จากนมสามารถกินได้ ไม่สนับสนุนให้ทานเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบขอบน้ำตาลหรือสารให้ความหวาน เนื้อแดง เนื้อแปรรูป เกลือ และไขมันทรานส์
เน้นการทานพืชผัก เว้นมันฝรั่ง และทานผลไม้ ถั่ว ปลา ธัญพืชเต็มเมล็ดและปลา จำกัดการบริโภคเนื้อแปรรูป ธัญพืชขัดสี เครื่องดื่มที่ผสมน้ำตาลและสารให้ความหวาน ทานแอลกอฮอล์ระดับกลางได้ อย่างไวน์แดง และทานแต่พอดี
เน้นการจำกัดการบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,300 กรัม/วัน หรือเกลือราว 1 ช้อนโต๊ะ (บางครั้งก็จำกัดที่ 1,500 กรัม/วัน) ทานอาหารที่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ไฟเบอร์ และโปรตีนสูง และมีไขมันอิ่มตัวต่ำ และยังสนับสนุนให้ทานผัก ผลไม้ ธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ โปรตีนไขมันต่ำ จำกัดการบริโภคไขมันและน้ำตาล และจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ชาย 2 แก้วต่อวัน และผู้หญิง 1 แก้วต่อวัน
เน้นการทานผักใบเขียว 6 มื้อ/สัปดาห์เป็นอย่างน้อย รับประทานผักทุกชนิด ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถั่วอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ธัญพืช เนื้อไก่ เนื้อปลา และน้ำมันมะกอก หลีกเลี่ยงการบริโภคเนยและมาการีน ชีส เนื้อแดง อาหารทอด ขนมหวานและขนมอบ อาหารเหล่านี้ช่วยลดภาวะเครียดจากการออกซิเดชันในร่างกายและการอักเสบได้
ทานอาหารที่ทำจากพืช อาจเป็นผัก ผลไม้ ถั่ว หรือธัญพืช แต่ก็ไม่ใช่อาหารที่ทำจากพืชทุกชนิด ควรหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ เครื่องดื่มรสหวาน ธัญพืชขัดสี มันฝรั่ง ของทอด และของหวาน อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือบริโภคในปริมาณน้อยมากคือ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ นม และไข่
มีความใกล้เคียงกับ hPDI มาก คือเน้นการทานอาหารจากพืช และจำกัดการทานอาหารจากเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและ และยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงผักที่เป็นแป้ง ควรทานถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี น้ำมันไม่อิ่มตัว ผักและผลไม้ให้หลากหลาย นอกจากนี้ยังสนับสนุนการกินที่ส่งผลดีต่อโลก สร้างความยั่งยืนให้ห่วงโซ่อาหาร
เน้นการกินอาหารที่ลดการอักเสบเป็นหลัก ให้ความสำคัญกับการบริโภคผักใบเขียวและสีเหลืองเข้ม อย่างแครอท มันหวาน สควอช ผักโขม เคล ทานชา กาแฟ น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง พิซซา ไวน์ หรือขนมขบเคี้ยวได้ ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เครื่องในสัตว์ และเนื้อสัตว์สีแดง หลีกเลี่ยงธัญพืชขัดสี เครื่องดื่มแคลอรี่สูง ปลา และมะเขือเทศ (เว้นสีเหลือง) เนื่องจากเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ
เน้นการทานผลไม้ทั้งลูก ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันเต็มปริมาณ สามารถทานกาแฟ และไวน์ได้ จำกัดการทานเนื้อแดง เนื้อไก่ เนื้อแปรรูป ไข่ มะเขือเทศ ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ และเครื่องดื่มแคลอรี่สูง
งานวิจัยชี้ว่าการทานอาหารแบบ AHEI มีผลเชิงบวกต่อการมีอายุยืนอย่างแข็งแรงมากที่สุด โดยผู้ที่รับประทานอาหารแบบนี้มีคะแนน มีโอกาสบรรลุการสูงวัยอย่างมีคุณภาพมากถึง 86 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ rEDIH, aMED, DASH, PHDI, MIND, rEDIP และสุดท้ายคือ hPDI
การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพทั้ง 8 ประเภทนี้มีลักษณะร่วมกันอยู่หลายประการ ตัวอย่าง aMED และ MIND มีอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียนเป็นพื้นฐาน กินอาหารจากพืชมาก เน้นการกินโปรตีนไขมันต่ำ และไขมันดี ส่วนการบริโภคแบบ PHDI และ hPDI จะเน้นการบริโภคผลไม้ ผัก ถั่วต่างๆ เป็นหลัก แต่ก็ยังมีความต่างอยู่บ้าง คือ DASH เน้นการลดโซเดียมเป็นหลัก EDIP มองที่ดัชนีการทำให้อักเสบในอาหาร และ EDIH ให้คะแนนอาหารตามการหลั่งอินซูลินที่คาดไว้
นอกจากนี้ด็อกเตอร์เวนยังบอกว่า การกินคือปัจจัยหลักในการมีอายุยืนโดยมีสุขภาพที่ดี และควรตั้งเป้าและแม้งานวิจัยชิ้นนี้จะไม่ได้ศึกษากลุ่มตัวอายุน้อยกว่า 40 ปี ด็อกเตอร์เวนก็ยังแนะนำให้เริ่มทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของชีวิต