โครงการ TRUST (Thailand Road Users Safety through Technology) เป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ กรุงเทพมหานคร UN-Habitat AIT และโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดตัวเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในไทยผ่านการใช้ข้อมูลเชิงระบบและการวิเคราะห์ข้อมูล โครงการนี้มีจุดเริ่มต้นจากความมุ่งมั่นของโตโยต้าในการส่งเสริมความปลอดภัยทางถนน และเป็นผลมาจากการประชุม Tateshina โดยจะเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ถนน ยานพาหนะ และโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกนำร่องในจังหวัดฉะเชิงเทราโดยใช้ข้อมูล Probe Data จากรถยนต์โตโยต้าเพื่อระบุจุดเสี่ยง ส่วนระยะที่สองจะขยายไปสู่เขตจตุจักร กรุงเทพฯ และจะใช้ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง รวมถึงข้อมูลอุบัติเหตุจาก RVP เพื่อพัฒนามาตรการความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ โครงการนี้มีระยะเวลา 2 ปี และมีเป้าหมายที่จะพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุที่สามารถนำไปใช้ในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ และนำเสนอในระดับนานาชาติ
ความคิดริเริ่มที่สำคัญ: ระยะนำร่อง (เฟส 1) และการขยายผลสู่เฟส 2
โครงการทดลองระยะที่ 1 (เมษายน 2567 – มิถุนายน 2568)
ในระยะเริ่มต้นของโครงการ มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) ได้ร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ทดลองดำเนินงานในพื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา โดยใช้ ข้อมูลจากยานพาหนะของโตโยต้า (Probe Data) เพื่อระบุพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่ 5 จุดเสี่ยง ในอำเภอพนมสารคามและอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา โดยวิเคราะห์พฤติกรรมต่างๆ เช่น การเบรกกะทันหัน การเร่งเครื่องอย่างรวดเร็ว การเลี้ยวกระทันหัน
ผลการศึกษาในระยะแรกแสดงให้เห็นว่า Probe Data มีศักยภาพในการระบุจุดเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ยังคงมุ่งเน้นไปที่ยานพาหนะสี่ล้อเป็นหลัก ขณะที่อุบัติเหตุทางถนนส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักเกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์ ซึ่งยังคงต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถทำการวิเคราะห์ได้อย่างครอบคลุมและพัฒนาวิธีการการแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ระยะที่ 2 (พฤษภาคม 2568 – เมษายน 2570)
ในระยะที่ 2 ของโครงการ TRUST มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้จะขยายการใช้แหล่งข้อมูล และเครือข่ายความร่วมมือให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงและออกแบบมาตรการด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่เป้าหมายหลักในระยะนี้คือ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูง เนื่องจากลักษณะการจราจรที่หนาแน่น และมีโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ครอบคลุมอย่างทั่วถึง
ในระยะนี้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (RVP) จะเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ โดยให้ ข้อมูลอุบัติเหตุ ซึ่งจะช่วยเสริมความแม่นยำในการวิเคราะห์ พร้อมนำไปสู่การพัฒนาแนวทางจัดการความปลอดภัยบนท้องถนนที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองอย่างแท้จริง
ความสำเร็จของโครงการ TRUST เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันของกลุ่มพันธมิตรหลากหลายภาคส่วน โดยบทบาทที่ได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) และแบ่งบทบาทที่ชัดเจน ดังนี้
นอกจากนี้ยังได้รับการสนันสนุนข้อมูลจากพันธมิตร ได้แก่
ระยะเวลาดำเนินโครงการและแนวทางการขยายผลในอนาคต
โครงการ TRUST จะเริ่มดำเนินการในดือนพฤษภาคม 2568 ถึง เดือนเมษายน 2570 (ระยะเวลา 2 ปี) โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุที่สามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ความสำเร็จและข้อมูลเชิงลึกจากโครงการ TRUST จะถูกนำเสนอในเวทีนานาชาติเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาความปลอดภัยบนท้องถนนในระดับสากลต่อไป
มร. ซูซุมุ มัตสึดะ ผู้อำนวยการมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ กล่าวถึงความยินดีในการเปิดตัวโครงการ TRUST โดยมุ่งหวังที่จะลดอุบัติเหตุในประเทศไทยผ่านการใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ขั้นสูง เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมบนท้องถนนที่ปลอดภัยและสะดวกสบายในกรุงเทพฯ และมีแผนที่จะขยายโครงการไปยังภูมิภาคอื่นๆ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการลดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์ด้วยความร่วมมือและนวัตกรรม ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่าความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระสำคัญของกรุงเทพฯ และต้องมีมาตรการจริงจังเพื่อลดอุบัติเหตุ การจำกัดความเร็ว การส่งเสริมการสวมหมวกกันน็อก และการปรับปรุงสภาพถนนเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงทางข้ามถนน และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายจราจร การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ปลอดภัยและน่าอยู่ มร. ศรีนิวาสะ โปปุริ จาก UN-Habitat กล่าวว่าเมืองต่างๆ ต้องเร่งพัฒนาความปลอดภัยทางถนน และเชื่อว่าการใช้ข้อมูลและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างเมืองที่ปลอดภัยและครอบคลุม ศาสตราจารย์ ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ จากศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย กล่าวถึงผลการดำเนินงานระยะแรกในฉะเชิงเทรา โดยใช้ Probe Data และ AI ในการวิเคราะห์สาเหตุอุบัติเหตุควบคู่ไปกับวิธีการดั้งเดิม ซึ่งพบว่ามีข้อได้เปรียบในการให้ข้อมูลที่ครอบคลุมระยะเวลานานกว่าและลดอคติจากมนุษย์ แต่ยังมีความท้าทายในการเก็บข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การวิเคราะห์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น