สำหรับเจ้าของรถส่วนใหญ่น่าจะรู้จักกันดีว่าในแต่ละปีรถยนต์ในการครอบครองของเราก็จะมีค่าใช้จ่ายประจำปี ไม่ว่าจะค่าใช้จ่ายในการต่อภาษี รวมถึงค่า พ.ร.บ. ส่วนรถบางคันอาจมีการต่อประกันอุบัติเหตุเพิ่มอีกด้วย แต่มีใครรู้บ้างหรือไม่ว่า แท้จริงแล้ว พ.ร.บ. รถยนต์ มีไว้ทำไม แล้วไม่ต่อได้ไหม
คือประกันภัยภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี พ.ศ. 2535 ถือว่าเป็นประกันภัยที่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคันต้องมี โดยที่ พ.ร.บ.รถยนต์ ราคาจะไม่สูงมากนัก แตกต่างกับประกันภาคสมัครใจที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้ และจะมีราคาที่สูงกว่า ซึ่งถ้ารถคันไหนถูกตรวจพบว่าไม่มี หรือขาดต่อ พ.ร.บ. จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
โดยเฉพาะการทำ พ.ร.บ. ในทุกๆ ปี จะมีเอกสารส่วนสำคัญที่ต้องใช้เป็นหลักฐานในการ ต่อภาษีรถยนต์ ประจำปี ซึ่งถ้ารถคันใดขาดต่อ พ.ร.บ. ย่อมส่งผลต่อการต่อภาษีตามมา
จะคุ้มครองผู้ที่ประสบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงคนเดินเท้า เมื่อได้รับความเสียหายแก่ชีวิต บาดเจ็บ ทุพพลภาพ รวมถึงสูญเสียอวัยวะ จะได้รับการชดเชยตามความคุ้มครองเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าปลงศพ แต่จะไม่รวมค่าเสียหายของทรัพย์สิน
ค่าเสียหายเบื้องต้น เคลมได้ โดยยังไม่ต้องพิสูจน์ฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด
ค่าเสียหายส่วนเกิน
ค่าสินไหมทดแทน คือเงินชดเชยที่ฝ่ายถูก
สำหรับการขอรับค่าเสียหายนั้น ผู้เอาประกัน หรือทายาท ต้องยื่นเรื่องขอรับการชดเชยค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเอง หรือจะทำการมอบอำนาจให้โรงพยาบาลเป็นผู้รับแทนก็ได้เช่นกัน ค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจ่ายตามจริงจำนวนไม่เกิน 30,000 บาท มีสิทธิ์รับได้ภายใน 7 วัน นับจากวันร้องขอจากบริษัทประกันภัยโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ถูกผิด ระยะเวลาการขอใช้สิทธิ์ พ.ร.บ. ภายใน 180 วันหลังจากเกิดเหตุ
การขับขี่ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ประเทศไทย
พ.ร.บ. รถ จะคุ้มครองเฉพาะการใช้รถยนต์ที่อยู่ในพื้นที่ขอบเขตประเทศไทยเท่านั้น ไม่ให้ความคุ้มครองในกรณีขับขี่ออกนอกราชอาณาจักรไทย ซึ่งหากประสบเหตุจะทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ในคดีอาญา
รถยนต์ที่ถูกขโมย ยักยอก หรือกรรโชกทรัพย์ แม้จะมีพ.ร.บ. แต่ในกรณีเช่นนี้ก็ถือว่าจะไม่ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องรีบติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการแจ้งความลงบันทึกประจำวันเอาไว้
ใช้รถยนต์แบบผิดกฎหมาย
หากมีการใช้รถยนต์กระทำในสิ่งผิดกฎหมาย หรือไม่ถูกทำนองครองธรรม อาทิ จี้ ปล้น ก่อการร้าย หรือกระทั่งขนส่งยาเสพติดทุกชนิด แม้รถคันนั้นจะมี พ.ร.บ. หรืออาจตรวจเช็คพ.ร.บ.ออนไลน์ ว่ายังมีอายุเหลืออยู่ แต่ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองใดๆ เช่นเดียวกัน
ใช้รถยนต์ผิดวัตถุประสงค์
กรณีสุดท้าย ที่ว่า พ.ร.บ.รถไม่คุ้มครองอะไรบ้าง ก็คือการใช้รถยนต์ผิดจากวัตถุประสงค์ของการเดินทาง ใช้แข่งขันความเร็วบนถนนหลวง รวมถึงการกระทำผิดใดๆ ทางด้านกฎหมาย ก็จะไม่ได้รับการชดเชย หรือคุ้มครองใดๆ
สำหรับค่าใช้จ่ายในการซื้อ หรือต่ออายุ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทของรถ รวมถึงลักษณะการใช้งานของรถประเภทนั้น นอกจากนั้นในแต่ละบริษัทประกันภัยก็มีราคาที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน สำหรับราคา พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ สามารถเช็คค่าใช้จ่ายได้อย่างง่ายดาย และสะดวกสบาย ตรวจสอบได้ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน
ในปัจจุบันสามารถทำการเช็คอายุของ พ.ร.บ. รถยนต์ได้หลายช่องทาง ถือเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเช็กวันหมดอายุของ พ.ร.บ. ด้วยการหาข้อมูลที่ระบุอยู่บนหน้าเอกสารกรมธรรม์ประกันฯ ที่ระบุเอาไว้
หรือจะติดต่อสอบถามข้อมูลของกรมธรรม์ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ผ่านสายด่วน 1186 หรือจะไปติดต่อโดยตรงยัง คปภ. ในเวลาราชการก็สามารถทำได้
และวิธีที่สะดวกสำหรับการเช็ค พ.ร.บ.หมดอายุออนไลน์ ก็คือการโทรสอบถามโดยตรงกับทางเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่เราได้ทำเอาไว้ โดยที่ในบางบริษัทประกันภัยฯ ก็จะมีการโทรแจ้งเตือนล่วงหน้าก่อนที่ พ.ร.บ. รถยนต์ของเราจะหมดอายุลง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่อำนวยความสะดวกเราได้เป็นอย่างมาก
พ.ร.บ. รถยนต์ถือว่าเป็นเรื่องที่บังคับตามกฎหมาย ที่รถทุกคันต้องมี ถือว่าเป็นประกันภัยภาคบังคับ ส่วนใครจะซื้อประกันภัยภาคสมัครใจเพิ่มก็แล้วแต่ความพร้อมของแต่ละบุคคล แต่ถ้าไม่มี พ.ร.บ. รถยนต์ หรือหมดอายุ และยังนิ่งเฉยก็ถือว่ามีความผิด และจะไม่สามารถนำไปสู่การเสียภาษีรถยนต์ในปีต่อไปได้ ก็ยิ่งเป็นความผิดเข้าไปอีกกระทง ดังนั้นจึงไม่สามารถปล่อยปะละเลยได้ การ เช็คเบี้ยประกัน และพ.ร.บ. ออนไลน์ สามารถทำได้ง่ายๆ