เปิดขั้นตอนการให้ที่ยิ่งใหญ่ การบริจาคอวัยวะ การบริจาคเพื่อต่อลมหายใจของมนุษย์ หนึ่งในเรื่องที่ไม่ใหม่ แต่ขาดความเข้าใจในวงกว้าง
การบริจาคอวัยวะ หรือ การปลูกถ่ายอวัยวะ ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในสังคมไทย แต่ความรับรู้เกี่ยวกับการบริจาค ยังไม่กว้างขวางและเข้าใจมากพอในวงกว้าง การบริจาคอวัยวะเพื่อการปลูกถ่าย ถือเป็นการให้ที่ไม่มีที่สิ้นสุด หนึ่งในการต่อชีวิตให้ผู้ที่ป่วย ได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุข นับเป็นหนึ่งในมหากุศล
บางความเชื่อยังมีการพูดถึงเรื่องการบริจาคอวัยวะในเชิงที่กระทบต่อจิตใจ และนี่คือข้อมูลที่ได้รวบรวมมาให้ทุกคน เพื่อสร้างความเข้าใจและตัดสินใจส่งต่อการบริจาคได้อย่างสบายใจมากขึ้น
การบริจาคอวัยวะ คืออะไร ?
การบริจาคอวัยวะ คือการบริจาคอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ตับอ่อน ลิ้นหัวใจ ปอด ที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ ให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ เพื่อรักษาโรคหรือต่อลมหายใจให้กับผู้ป่วย
ปัจจุบันมีผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ทุกข์ทรมาณ เพราะอวัยวะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งวิธีรักษาทางการแพทย์ที่ดีที่สุด สำหรับผู้ป่วยเหล่านี้ คือ การปลูกถ่ายอวัยวะใหม่ เปลี่ยนแทนอวัยวะเดิมที่เสื่อมสภาพ และการผ่าตัดจะเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อให้อวัยวะใหม่ทำงานแทนอวัยวะเดิม
อวัยวะที่สามารถบริจาคและนำไปปลูกถ่ายได้
คุณสมบัติผู้บริจาคอวัยวะ
ทั้งนี้ เกณฑ์ในการรับบริจาคอวัยวะในแต่ละสถานที่รับบริจาค อาจมีความแตกต่างกันไป เพื่อความถูกต้องและครบถ้วน ควรติดต่อสอบถามกับสานที่ดังกล่าว ที่ต้องการทำเรื่องบริจาคอวัยวะโดยตรง
สถานที่รับบริจาคอวัยวะ
ขั้นตอนการบริจาคอวัยวะ
โดยกรณีที่รับเอกสารจากไปรษณีย์ หรือดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บไซต์ เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนเรียบร้อย ให้ส่งไปยัง "ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) ชั้น 5 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330"
ภาวะสมองตาย คืออะไร ?
ในข้อกำหนดของคุณสมบัติผู้บริจาคอวัยวะ ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า "ผู้ที่จะสามารถบริจาคอวัยวะได้ ต้องเสียชีวิตจากภาวะสมองตายต่าง ๆ" ซึ่งภาวะสมองตายคือภาวะที่ถูกทำลาย จนสูญเสียการทำงานอย่างสิ้นเชิง ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นใด ๆ ไม่สามารถหายใจได้เอง รวมถึงไม่สามารถรักษาให้ฟื้นคืนชีพได้
โดยส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองตาย มักเกิดจากการบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง เส้นเลือดในสมองแตก หรือเลือกออกในช่องสมอง ซึ่งการวินิจฉัยว่าเข้าข่ายการเสียชีวิตด้วยสมองตายหรือไม่ ต้องมีการตรวจและยืนยันโดยแพทย์ไม่น้อยกว่า 3 คน
ในการรับบริจาคอวัยวะจากผู้ป่วยภาวะสมองตาย ส่วนใหญ่มักอยู่ในช่วงที่ยังอยู่ระหว่างการใช้เครื่องช่วยหายใจ เพราะตราบใดที่ร่างกายยังมีการไหลเวียนของเลือด เลือดไปเลี้ยงยังอวัยวะอื่นก็ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ จึงเป็นหนึ่งในการรักษาด้วยการปลูกถ่ายแก่ผู้ป่วยที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตาย ไม่เทียบเท่ากับผู้ป่วยที่มีสภาพเจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทรา เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังไม่ถือว่าเสียชีวิต จากการที่แกนสมองยังสามารถทำงาน และยังสามารถหายใจได้ด้วยตัวเอง เพียงแต่สมองสั่งการส่วนอื่นเสียความสามารถ จนไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างปกติได้ จึงสรุปได้ว่า "ผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะผักไม่สามารถบริจาคอวัยวะได้"
นอกจากนี้แล้วยังมีคำกล่าวที่ว่า "ผู้ที่ตั้งกุศลเจตนาให้อวัยวะของตน เมื่อวายชนม์แล้ว ได้ไปช่วยต่อชีวิตผู้อื่น คือผู้กอบกู้หนึ่งชีวิต หรืออีกหลาย ๆ ชีวิต นับว่าได้บำเพ็ญบุญกิริยาอย่างสูง"
ที่มา : ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย (organdonate.in.th) / สภากาชาดไทย (redcross.or.th)
Advertisement