10 กันยายน วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก เพราะสุขภาพจิตดี สร้างได้ด้วยตัวเองและคนรอบข้าง ร่วมด้วยช่วยป้องกัน ลดอัตราการเสียชีวิต
ปัญหาสุขภาพจิตกับประเทศไทย ถือเป็นเรื่องที่อยู่คู่สังคมมาอย่างยาวนาน โดยไม่แม้แต่ภายในประเทศ แต่เป็นถึงในระดับโลก อนึ่งเกิดจากข้อมูลทางองค์การอนามัยโลกที่ได้คาดว่า ในปีหนึ่งจะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน เมื่อคิดเฉลี่ยต่อเวลาจะพบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ทุก 40 วินาที จึงได้กำหนดให้วันที่ 10 กันยายน ของทุกปี เป็น "วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day)"
วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก คืออะไร ?
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ได้กำหนดให้ วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก หรือ World Suicide Prevention Day ตรงกับวันที่ 10 กันยายน ของทุกปี โดยยึดถือเป็นวันสำคัญ มีการประกาศครั้งแรกในปี พ.ศ.2546 หรือ ค.ศ.2003
WHO ได้คาดการณ์ว่าในปีหนึ่ง จะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 1 ล้านคน เฉลี่ยต่อเวลาจะพบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ทุก 40 วินาที นาทีละ 2 คน หรือเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 114 คน อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนี้การฆ่าตัวตายของบุคคลหนึ่ง ยังได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนรอบข้างของผู้ตายอีก 5-10 ล้านคน นอกจากนี้แล้วปัญหาการฆ่าตัวตายยังติดใน 10 อันดับแรกของการเสียชีวิต ของประชากรทั่วทั้งโลก
ชุดข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก ได้ระบุว่า ผู้ที่ทำร้ายร่างกายตนเองเพื่อปลิดชีวิต มีจำนวนมากกว่าผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 20 เท่า โดยผู้ที่ทำร้ายร่างกายตัวเองมีโอกาสทำซ้ำ และประสบความสำเร็จเพื่อฆ่าตัวตายได้ในภายหลัง มีอัตราสูงถึงร้อยละ 10
สถิติการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในประเทศไทย
ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย มีการรายงานสถิติที่เฉลี่ยแล้ว มีผู้เสียชีวิตปีละกว่าห้าพันราย นับเป็นวันละ 14 คน โดยข้อมูลจากปี 2566 พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 5,172 คน หรือเท่ากับ 7.94 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 14 คน หรือเสียชีวิต 1 คน ในทุก 2 ชั่วโมง และพยายามฆ่าตัวตาย 31,110 คน หรือเท่ากับ 47.74 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 85 คน หรือมีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 7 คน ในทุก 2 ชั่วโมง
ปัญหาการฆ่าตัวตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย ถือเป็นปัญหาหลักของสาธารณสุขในประเทศไทย โดยมีผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย 31,110 คน เฉลี่ยวันละ 85 คน เหตุการณ์ฆ่าตัวตายไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย ผู้ที่พยายามมักมีความเปราะบางที่เสี่ยงอยู่ก่อนแล้ว หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกกระทบจิตใจเพิ่ม อาทิ ความอับอายขายหน้า, ความพ่ายแพ้ล้มเหลว ร่วมกับการหาทางออกไม่เจอ ทำให้ความคิดการฆ่าตัวตายเกิดขึ้น กลายเป็นการพยายามฆ่าตัวตาย ทั้งนี้แนวทางการแก้ไขไม่มีสูตรสำเร็จที่ได้ผลที่สุด เนื่องจากเหตุปัจจัยแปรเปลี่ยนไปตามเวลา ยุคสมัย และในแต่ละรายบุคคล
ปัจจัยที่มีผลต่อการฆ่าตัวตายในทางจิตเวชศาสตร์
มีการศึกษาระบุว่า การเป็นโสดหรือหย่าร้าง ทำให้ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง รวมถึงผู้ที่คู่ครองแล้ว หากคนรอบข้างห่างไกลและไร้ความผูกพัน ก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน
กว่า 90% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ ได้รับคำยืนยันวินิจฉัยว่าเป็นโรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคซึมเศร้า รวมไปถึงผู้ที่ใช้แอลกอฮอลล์ สุรา และยาเสพติด อาจเกิดจากภาวะการสูญเสีย การทะเลาะเบาะแว้ง ปัญหาการทำงาน เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายกว่า 26%
ผู้ที่มีอาการซึมเศร้า ท้อแท้ หมดหวัง หรือรู้สึกหมดหนทางในชีวิต อาจรู้สึกไร้จุดมุ่งหมาย ขาดที่พึ่งทางจิตใจ อาจมีอาการวิตกกังวลรุนแรง รวมไปถึงผู้ที่มีบุคลิกภาพที่หุนหันพลันแล่น อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการตัดสินใจ
จากการทบทวนข้อมูลพบว่า ร้อยละ 17 ของผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ มีประวัติการทำร้ายร่างกายตนเองมาก่อน ทำให้ผู้ที่มีประวัติการพยายามฆ่าตัวตายบ่อย ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จมากขึ้น
ผลกระทบจากการเจ็บป่วยทางกาย โรคที่รักษาไม่หาย หรือมีอาการทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง มักเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะช่วงที่มีอาการกำเริบ หรือรู้สึกไม่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เป็นภาระให้กับคนอื่นและครอบครัว
วิธีรับมือหากมีคนใกล้ชิด เสี่ยงภาวะพยายามฆ่าตัวตาย
หากคนใกล้ชิดตกอยู่ในภาวะที่เสี่ยงแก่การจบชีวิต การรีบให้ความช่วยเหลือเป็นสิ่งทีสำคัญที่สุด ทั้งนี้คนที่มีความคิดอยากลาโลก อาจเกิดความคิดในแง่ลบมากกว่าแง่บวก อาจเกิดความคิดว่าไม่มีใครสามารถยื่นมือเข้ามาช่วยได้ ฉะนั้นแล้ว ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์ จึงควรเป็นฝ่ายเข้าหามากกว่ารอสังเกตการณ์
ผู้ที่เผชิญภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตาย ต้องการคนที่เข้าใจและเห็นอกเห็นใจในเรื่องที่เกิดขึ้น การรับฟังด้วยท่าทีที่ตั้งใจ และพร้อมฟังไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวแบบใด ย่อมเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับบุคคลดังกล่าว บางครั้งการด่วนสรุปหรือตัดสินไปก่อนว่าไม่ควร จะยิ่งทำให้ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายที่มีอัตราสำเร็จสูงขึ้น
วิธีรับมือหากมีตัวเอง มีภาวะเสี่ยงพยายามฆ่าตัวตาย
การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตข้อแรกคือ หากรู้สึกทุกข์หรือไม่สลายใจ และรู้สึกได้ว่าสภาพจิตใจไม่ปกติ มีความรู้สึกที่ไม่ดีกับตัวเอง ต้องพยายามตั้งสติ และจัดการความรู้สึกของตัวเองให้เร็ว โดยไม่ปล่อยให้จบอยู่กับความรู้สึกลบนานเกินไป เพราะอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเป็นภาวะซึมเศร้า จนนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้
6 วิธีป้องกันปัญหาสุขภาพจิตใจ
หน่วยงานที่ให้คำช่วยเหลือในการป้องกันการฆ่าตัวตาย
การฆ่าตัวตาย ไม่ใช่การตัดสินว่ามีปัจจัยจากเหตุใดเหตุหนึ่ง หรือมีต้นเหตุมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคแต่อย่างใด แต่เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็นถึงความเกี่ยวพันธ์อย่างต่อเนื่อง ของปัจจัยต่าง ๆ ที่หลากหลายตามแต่ละบุคล ดังนั้นเพื่อการแก้ปัญหาได้ดีที่สุด จึงควรเริ่มด้วยการป้องกันรวมไปถึงการเสริมสร้างแนวคิด ปรับมุมมองด้านบวก ลดอคติ
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงฆ่าตัวตายด้วยตนเอง หรือคนรอบข้างมีความเสี่ยง การพยายามป้องกันและให้ความช่วยเหลือ ถือเป็นบุญกุศลใหญ่ เพราะเท่ากับช่วยคนใกล้ชิดอีกหลายชีวิตให้พ้นจากความทุกข์ใจจากการสูญเสีย
ที่มา : ศูนย์เฝ้าระวังป้องกันการฆ่าตัวตาย (suicide.dmh.go.th) / สสส. (thaihealth.or.th) / โรงพยาบาลมนารมย์ (manarom.com)
Advertisement