Top 10 มหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืนของไทย จากการจัดอันดับของ QS World University Rankings: Sustainability 2025
QS World University Rankings โดย Quacquarelli Symonds (QS) องค์กรจากประเทศอังกฤษ เป็นที่รู้จักกันในการให้ข้อมูลด้านการศึกษาและการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและมีอิทธิพลมากที่สุดในโลกอีกองค์กรหนึ่ง ล่าสุดได้เผยผลการจัดอันดับ QS World University Rankings: Sustainability 2025 ที่โดดเด่นในเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัดหลัก คือ
ผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) 45%
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 45%
ระบบอภิบาล (Governance) 10%
ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมและได้รับการจัดอันดับมากกว่า 1,743 แห่งทั่วโลก โดยเป็นมหาวิทยาลัยจากเอเชีย 661 แห่ง และมหาวิทยาลัยไทย 18 แห่ง
โดย 10 อันดับแรกที่ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืนของไทย ได้แก่
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University)
คะแนนผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) 78.7 คะแนน
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 78.8 คะแนน
ระบบอภิบาล (Governance) 89 คะแนน
อันดับโลกอยู่ที่ลำดับที่ 168
2. มหาวิทยาลับเชียงใหม่ (Chiang Mai University)
คะแนนผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) 64.5 คะแนน
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 73.4 คะแนน
ระบบอภิบาล (Governance) 61.1 คะแนน
อันดับโลกอยู่ที่ลำดับที่ 357
3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (King Mongkut's University of Technology Thonburi)
คะแนนผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) 65 คะแนน
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 58.4 คะแนน
ระบบอภิบาล (Governance) 66.8 คะแนน
อันดับโลกอยู่ที่ลำดับที่ 473
4. มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University)
คะแนนผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) 48.6 คะแนน
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 73.7 คะแนน
ระบบอภิบาล (Governance) 69.2 คะแนน
อันดับโลกอยู่ที่ลำดับที่ 480
5. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (Prince of Songkla University)
คะแนนผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) 60.5 คะแนน
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 61.7 คะแนน
ระบบอภิบาล (Governance) 66.7 คะแนน
อันดับโลกอยู่ที่ลำดับที่ 492
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University)
คะแนนผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) 62.7 คะแนน
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 61.2 คะแนน
ระบบอภิบาล (Governance) 59.3 คะแนน
อันดับโลกอยู่ที่ลำดับที่ 497
7. มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์ (Thammasat University)
คะแนนผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) 48.6 คะแนน
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 68.7 คะแนน
ระบบอภิบาล (Governance) 87.3 คะแนน
อันดับโลกอยู่ที่ลำดับที่ 500
8. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Khon Kaen University)
คะแนนผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) 57.6 คะแนน
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 60.5 คะแนน
ระบบอภิบาล (Governance) 77.1 คะแนน
อันดับโลกอยู่ที่ลำดับที่ 512
9. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology, Thailand : AIT)
คะแนนผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact)57.8 คะแนน
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 51.8 คะแนน
ระบบอภิบาล (Governance) 17.3 คะแนน
อันดับโลกอยู่ที่ลำดับที่ 740
10. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (Suranaree University of Technology)
คะแนนผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม (Environmental impact) 41.2 คะแนน
ผลกระทบเชิงสังคม (Social impact) 46.1 คะแนน
ระบบอภิบาล (Governance) 70.9 คะแนน
อันดับโลกอยู่ที่ลำดับที่ 898
นอกจากนี้ยังมีอีก 8 มหาวิทยาลัยในไทยที่ได้รับการจัดอันดับด้วย ได้แก่
11. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (Walailak University)
12. มหาวิทยาลัยนเรศวร (Naresuan University)
13. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang)
14. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (Srinakharinwirot University)
15. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (King Mongkut's University of Technology North Bangkok)
16. มหาวิทยาลัยเกริก (Krirk University)
17. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Mahasarakham University)
18. มหาวิทยาลัยพะเยา (University of Phayao)
Advertisement