นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คนที่ 68 เป็นประธานเปิดงานถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field day) "ชาวนายุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ลดและงดการเผาตอซัง ฟางข้าว และเศษวัสดุทางการเกษตร เพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และเพื่อการผลิตข้าวที่ยั่งยืน" ภายใต้โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ตามนโยบายของรัฐบาล ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
โดยการจัดงานถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตข้าวอย่างปลอดภัยด้วยการจัดการตอซังและฟางข้าว ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อปลอดการเผา และผลิตข้าวอย่างยั่งยืน ให้แก่เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ ศูนย์ข้าวชุมชน smart farmer ชาวนาอาสา ผู้นำองค์กรชาวนา และประชาชนทั่วไป ได้รับรู้ถึงผลกระทบจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร วิธีการกำจัดเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ตลอดจนให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการงดเผาตอซังและผลิตข้าวอย่างปลอดภัย เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จนเกินค่ามาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพและการท่องเที่ยว
นายอัครา กล่าวว่า หลายพื้นที่ในภาคเหนือ ยังคงเผชิญวิกฤติฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องฝุ่นควัน สาเหตุหลักคือ การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าว จึงได้ร่วมกันสร้างจิตสำนึกในการจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมให้เกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการเผา ที่จะสามารถช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ “นาแปลงใหญ่” ที่เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มผลิต และบริหารจัดการผลิตข้าว มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ กลุ่มเกษตรกรให้มีความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ห่วงโซ่การผลิตข้าวแบบเดิม โดยการผสานเชื่อมโยงกันตั้งแต่เริ่มการจัดการการเพาะปลูกข้าวไปจนถึงการตลาด โดยกระบวนการรับรองการผลิตข้าวมีทั้งการรับรองรายเดี่ยวและการรับรองแบบกลุ่ม ซึ่งการขอการรับรองแบบกลุ่มนั้น จะช่วยประหยัดงบประมาณและเวลา สร้างความเข็มแข็งและความยั่งยืนในการผลิตให้กับกลุ่มเกษตรกร
ด้าน ร.อ.ธรรมนัส กล่าวว่า ปัญหา PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติมาหลายปี ตั้งแต่รัฐบาลที่แล้ว ถามว่ามันเกิดจากอะไร เราก็ทราบกันอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องของการเผาพื้นที่ ไฟป่า จากการเผาในประเทศใกล้เคียง โรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ต่างๆ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งเหล่านี้มันผสมผสานกลายเป็น PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาหลักของประเทศในขณะนี้ แต่ที่ผ่านมาการแก้ไขเป็นเพียงแค่การป้องกัน ถามว่า 100% ไหม เมื่อปีที่แล้วที่ผมลงพื้นที่กับ อดีตนายก เศรษฐา ก็ได้แค่ 50% มันไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด ดังนั้น ณ เวลานี้กลมฝนลวงได้ศึกษาวิจัยเรื่องนี้จนได้แนวทางแก้ PM 2.5 วิธีการนี้ดีที่สุด คือ การทำลายชั้นบรรยากาศผกผลัน เพื่้อระบายฝุ่นขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ
ในเรื่องของการลดการเผา ตั้งแต่ผมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นโยบายให้ชัดเจนว่า ปีนี้น้ำเยอะเราใช้วิธีเอาน้ำเข้านาที่เกี่ยวแล้ว หว่านจุลินทรีย์เข้าไป 7 วัน กลายเป็นปุ๋ย เรื่องนี้กรมวิจัยการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมการข้าวก็ดี เราได้ตั้งงบประมาณบางส่วนไว้อยู่แล้ว จะผลักภาระไปที่พี่น้องเกษตรกรไม่ได้ เรื่องการไถกลบหรือใช้จุลินทรีย์ก็ตาม เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อไม่ให้ชาวบ้านเผาบนพื้นที่เกษตร ขณะที่การแปรรูปวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรต่างๆ ก็เป็นนโนบายที่เราทำต่อเนื่อง ฟางทั้งหมดเรารับซื้อ สิ่งเหล่านี้เพิ่มมูลค่าให้เห็นว่าสิ่งที่เขาเผานั้นก่อเกิดรายได้ อันนี้ก็เป็นการรณรงค์อีกทางหนึ่ง
ท้ายที่สุด ร.อ.ธรรมนัส ฝากถึงพี่น้องเกษตรกรว่า "ตั้งแต่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เราคุยกันว่าเราจะไม่เผาบนพื้นที่เกษตรรัฐบาลมีนโยบาลสำคัญที่จะช่วยพวกท่านเพิ่มรายได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องซัง ฟางข้าว มีราคาหมด อย่าเผา รัฐบาลวิธีการที่จะเข้าไปแก้ปัญหาให้พวกท่าน เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ พร้อมเข้าให้ไปให้คำแนะนำ สำหรับพี่น้องชาวไร่อ้อยรัฐเข้าไปช่วยเหลือปีที่แล้ว 8000 กว่าล้านบาท ในการไม่อยากให้พวกท่านเผา รัฐเข้าไปเยี่ยวยา ปีนี้ก็เหมือนกันครับ อย่าเผาเลย"
Advertisement