สารสกัดจากธรรมชาติ น้ำมันเมล็ดคามีเลีย (Camellia Seed Oil) ขุมทรัพย์แห่งสุขภาพ
น้ำมันเมล็ดคามีเลีย (Camellia Seed Oil) หรือที่รู้จักกันในชื่อ "น้ำมันเมล็ดชา" เป็นน้ำมันพืชที่สกัดจากเมล็ดของต้นคามีเลีย (Camellia) ซึ่งเป็นพืชในตระกูลเดียวกับชา โดยเฉพาะพันธุ์ Camellia oleifera และ Camellia sinensis น้ำมันนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในเอเชีย โดยเฉพาะในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เนื่องจากมีประโยชน์ทั้งในด้านสุขภาพ ความงาม และการประกอบอาหาร
น้ำมันเมล็ดคามีเลียเป็นน้ำมันที่ได้จากเมล็ดของต้นคามีเลีย โอเลอิเฟอรา ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศจีน มีการใช้น้ำมันเมล็ดคามีเลียมานานกว่าพันปีในแถบเอเชีย และได้รับฉายาว่าเป็น "น้ำมันมะกอกแห่งโลกตะวันออก" เนื่องจากมีคุณประโยชน์และองค์ประกอบของไขมันที่ดีต่อสุขภาพคล้ายกับน้ำมันมะกอก น้ำมันเมล็ดชายังเป็นที่ยอมรับกันในวงการว่าน้ำมันมะกอกของชาวเมดิเตอเรเนียนเป็นน้ำมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดต่าง ๆ ในปริมาณที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
โดยวิทยาศาสตร์การอาหารพบว่า ในเอเชียก็มีน้ำมันเมล็ดชาที่มีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดต่าง ๆ ในปริมาณที่ดีที่ไม่ด้อยไปกว่าน้ำมันมะกอก นั่นคือ “น้ำมันเมล็ดชา” เป็นน้ำมันที่นิยมใช้กันทางใต้ของประเทศจีน และมีการใช้น้ำมันชามานานกว่า 1,000 ปี เป็นน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดของดอกชาคามิเลียโอลิเฟร่า (Camellia oleifera Abel, Theaceae) โดยวิธีการหีบเย็น (Cold pressed) ส่วนในประเทศญี่ปุ่นใช้น้ำมันชาที่สกัดมาจากชาพันธุ์ (Camellia japonica)
ต้นกำเนิดต้นคามีเลียพืชล้ำค่าจากเอเชีย
ต้นคามีเลียเป็นพืชพื้นเมืองของจีนและแถบเอเชีย มีการปลูกและใช้ประโยชน์มานานกว่า 1,000 ปี ในสมัยโบราณน้ำมันเมล็ดคามีเลียถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร เครื่องสำอาง และยาพื้นบ้าน โดยต้นคามีเลียมีต้นกำเนิดจาก เอเชียตะวันออก โดยเฉพาะใน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีภูมิอากาศอบอุ่นและชื้น ต้นคามีเลียเป็นพืชในวงศ์ Theaceae และมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่
Camellia sinensis – ใช้ใบในการผลิตชา เช่น ชาเขียว ชาดำ และชาอู่หลง
Camellia japonica – นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกสวยงาม มีหลายสี
Camellia oleifera – เป็นแหล่งสกัดน้ำมันคามีเลียที่ใช้ในเครื่องสำอางและการบำรุงผิว
ในประเทศจีนต้นคามีเลียมีการปลูกมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในมณฑลยูนนานและฝูเจี้ยน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชาที่สำคัญ โดยในญี่ปุ่นคามีเลียมีชื่อเรียกว่า "ซึบากิ" และเป็นดอกไม้ที่มีความหมายเชิงวัฒนธรรม พบมากในศิลปะและบทกวี ในศตวรรษที่ 18 คามีเลียถูกนำเข้ายุโรปโดยพ่อค้าชาวดัตช์และอังกฤษ และกลายเป็นไม้ประดับยอดนิยม ปัจจุบันต้นคามีเลียยังคงได้รับความนิยมทั้งในด้านความสวยงามและประโยชน์จากน้ำมันที่สกัดได้จากเมล็ดของมัน
คุณสมบัติของน้ำมันเมล็ดคามีเลีย
มีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง
น้ำมันเมล็ดคามีเลียจะมีโอเมก้าครบ 3 ชนิด
มีกรดโอเลอิก (โอเมก้า 9) สูงถึง 81-87% ดีต่อหัวใจ
มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว (โอเมก้า 6) สูง 13-28% บำรุงผิว มี Antioxidant
มีกรดแอลฟาไลโนเลนิก (โอเมก้า 3) 1-3% ดีต่อสมอง
มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดระดับ LDL (คอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี) และเพิ่ม HDL (คอเรสเตอรอลชนิดดี)
น้ำมันเมล็ดคามีเลียเป็นน้ำมันธรรมชาติที่มีคุณสมบัติหลากหลาย สามารถใช้บำรุงผิวพรรณให้ความชุ่มชื้น ลดการอักเสบ ช่วยลดการระคายเคืองและอาการผิวแห้งเป็นตัวช่วยที่ดีในการบำรุงผิวในช่วงอากาศแห้ง รวมถึงใช้บำรุงเส้นผม เพิ่มความเงางามทำให้ผมดูสุขภาพดี อีกทั้งยังใช้ในการทำเครื่องสำอาง น้ำมันเมล็ดคามีเลียเป็นส่วนประกอบที่พบได้ในครีมบำรุงผิว โลชั่น หรือผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมต่าง ๆ เนื่องจากคุณสมบัติที่บำรุงล้ำลึกและให้ผลลัพธ์ที่ดี
รวมถึงใช้ในการทำอาหาร เพราะเป็นน้ำมันที่เหมาะสำหรับปรุงอาหาร น้ำมันเมล็ดคามีเลียมีจุดเดือดสูงและมีรสชาติที่ละเอียดอ่อน เหมาะสำหรับการใช้ในการปรุงอาหาร เช่น ผัด ทอด หรือทำซอส เนื่องจากมีกรดไขมันโอเลอิกสูง น้ำมันดอกคามีเลียช่วยลดคอเลสเตอรอลและดีต่อสุขภาพ โดย 87% เป็นไขมันดี ไม่มีไขมันทรานส์ มีโอเมก้า 3-6-9 ดีต่อสมอง หัวใจ และยังช่วยบำรุงผิวพรรณ ทั้งยังสามารถทนความร้อนได้ 252 องศาเซลเซียส
ขณะที่โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเมล็ดคามีเลียและน้ำมันพืชอื่น ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนาที่ส่งเสริมการปลูกต้นคามีเลียและการผลิตน้ำมันคามีเลียในประเทศไทย โดยร่วมมือกับเกษตรกรในการเพาะปลูกและผลิตน้ำมัน รวมถึงได้ทำการพัฒนาค้นคว้า วิจัย และพัฒนาน้ำมันจากเมล็ดคามีเลียหรือน้ำมันเมล็ดชาให้กลายเป็นน้ำมันเพื่อสุขภาพของคนไทย ซึ่งพบว่าน้ำมันเมล็ดคามีเลียหรือน้ำมันเมล็ดชาเป็นน้ำมันที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก
ทั้งนี้น้ำมันเมล็ดคามีเลียเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จากโครงการศูนย์วิจัยฯ ซึ่งเป็นน้ำมันที่ได้จากเมล็ดของต้นคามีเลียมีประโยชน์มากมายจนได้รับฉายานามว่า “น้ำมันมะกอกแห่งโลกตะวันออก” ผลผลิตที่ได้มาจากชาวบ้านจึงไม่เพียงสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พวกเขา แต่ยังได้มอบสุขภาพที่ดีส่งต่อไปถึงผู้บริโภคอีกด้วย
Advertisement