WHO เผยคนทำงานหนักจนเสียชีวิต มากถึงปีละ 7 แสนกว่าราย

7 ก.พ. 66

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เผยผลการศึกษา งานหนักไม่เคยฆ่าใคร ไม่จริง เพราะในปี 2016 มีคนตายจากการทำงานหนักเกือบ 8 แสนคน ยิ่ง Work From Home ยิ่งเป็นปัญหา เพราะคนส่วนใหญ่ทำงานมากขึ้นกว่าเดิม

 

คำกล่าวที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” เห็นท่าจะไม่จริงเสียแล้ว เพราะองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เปิดเผยผลการศึกษาว่า ในแต่ละปีมีคนที่เสียชีวิตจากการทำงานหนักจำนวนมาก

งานหนักไม่เคยฆ่าคน ไม่จริง ทุกปีมีคนตายจากการทำงานหนักหลายแสน

องค์การอนามัยโลก เปิดเผยผลการศึกษา พบว่า ในปี 2016 มีผู้เสียชีวิตจากการทำงานหนักมากถึง 745,000 คน เพิ่มขึ้น 29% เมื่อเทียบกับปี 2000 โดยจำนวนผู้ที่เสียชีวิตจากการทำงานหนักนี้ แบ่งออกเป็น

 

เสียชีวิตจากเส้นเลือดในสมองแตก 398,000 คน

เสียชีวิตจากโรคหัวใจ 347,000 คน

 

istock-1142198731_0

 

คนทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กระทบหนักสุด

โดยผู้ที่เสียชีวิตจากการทำงานหนัก เป็นผู้ที่ทำงานมากกว่าสัปดาห์ละ 55 ชั่วโมง ยิ่งทำงานมาก ยิ่งเสี่ยงมาก นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังระบุด้วยว่า ผู้ที่เสียชีวิตจากการทำงานหนักส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย (72%) และเป็นคนทำงานที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก

อย่างไรก็ตามไม่ได้แปลว่าคนที่ทำงานหนัก จะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตทันที หรือเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในเวลาไม่นาน เพราะองค์การอนามัยโลกพบว่า คนที่เสียชีวิตจากการทำงานหนักในช่วงอายุ 60-79 ปี เป็นคนที่เคยทำงานหนักมากกว่า 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตั้งแต่ช่วงอายุ 45-74 ปี

ส่วนในกรณีที่ไม่ได้เสียชีวิต แต่การทำงานหนักก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน เพราะการทำงานหนักเกิน 55 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 17% และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเส้นเลือดในสมองแตก 35%

ยิ่ง Work From Home ยิ่งทำงานหนักมากขึ้น

แม้ว่าทุกคนจะรู้ว่าการทำงานหนักส่งผลเสียต่อสุขภาพ มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควร แต่กลายเป็นว่าโลกนี้ก็ยังมีผู้ที่บูชาการทำงานหนักต่อไป จากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่าประชากรโลกกว่า 9% เป็นคนที่ต้องเผชิญกับการทำงานหนัก

ยิ่งมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนคนทำงานทั่วโลกต้องเปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นการทำงานที่บ้าน (Work From Home) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าชั่วโมงการทำงานจะน้อยลงกว่าเดิม จากการที่บริษัทบางแห่ง ปิดสำนักงาน ปรับลดพนักงาน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ภาระหนักจึงตกอยู่ที่พนักงานที่ยังต้องทำงานอยู่

แม้ในมุมของนายจ้าง จะมองว่าการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานมาทำงานที่บ้าน ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มมากขึ้นจากการที่พนักงานมีภาระรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในขณะที่ทำงานที่บ้าน

 

ขอบคุณที่มา WHO

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส