พบ “อัลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล” อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก

18 ต.ค. 66

พบ “อัลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล” อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก อายุประมาณ 230,000 ปีก่อน ค้นพบใน จ.นครราชสีมา

วันที่ 18 ตุลาคม 2566 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) ร่วมกับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทือบิงเกน ประเทศเยอรมนี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงผลการศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ของอัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก “อัลลิเกเตอร์ มูลเอนซิส (Alligator munensis) หรืออัลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล

จระเข้
ขอบคุณรูปภาพจาก : กรมทรัพยากรธรณี

 

ซากดึกดำบรรพ์นี้ ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.2548 โดยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมา แจ้งกรมทรัพยากรธรณีขอให้เข้าตรวจสอบซากดึกดำบรรพ์ ที่เก็บรักษาไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พบเป็นกะโหลกสัตว์โบราณ 1 ชิ้น กรามสัตว์โบราณ 2 ชิ้น และกระดูกสัตว์โบราณ 5 ชิ้น

จระเข้
ขอบคุณรูปภาพจาก : กรมทรัพยากรธรณี

 

จากนั้นได้ลงพื้นที่บ้านเจ้าของที่ดิน นายสมพร โนกลาง บ้านสี่เหลี่ยม ตำบลใหม่ อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา พบชิ้นส่วนโดยมากเป็นเศษกระดูกแตกหักจนไม่สามารถศึกษาได้ จากการตรวจสอบชิ้นส่วนกะโหลกอัลลิเกเตอร์ที่พบมีสภาพเกือบสมบูรณ์ในชั้นตะกอนทรายลึกลงไปจากผิวดินประมาณ 2 เมตร คาดว่า มีอายุในช่วงไม่เกินสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง หรือประมาณ 230,000 ปีก่อน หรืออาจมีอายุอ่อนกว่านั้น พบว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่ของโลก ถูกศึกษาและตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Scientific Reports  โดยผลการศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่ของโลกจากประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อัลลิเกเตอร์ มูลเอนซิส (Alligator munensis) หรืออัลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล โดยตั้งชื่อตามแหล่งค้นพบใกล้กับแม่น้ำมูล

จระเข้
ขอบคุณรูปภาพจาก : กรมทรัพยากรธรณี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมทรัพยากรธรณี

advertisement

advertisement

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส