ป.ป.ช. แจ้ง บิ๊กต่อ-ภรรยา รับทราบข้อกล่าวหา ปมซุกบ้านที่อังกฤษจริง

29 พ.ค. 67

 

เลขาธิการ ป.ป.ช. รับ ป.ป.ช. แจ้ง บิ๊กต่อ-ภรรยา มารับทราบข้อกล่าวหา ปมซุกบ้านที่อังกฤษจริง ขณะที่เจ้าตัวขอเลื่อน

จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แจ้งข้อกล่าวหา พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. และภรรยา เนื่องจากไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สิน ซึ่งเป็นบ้านที่ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค. 67 และขอให้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ และภรรยามารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งต่อมา พล.ต.อ.ต่อศักดิ์และภรรยา ได้ขอเลื่อนรับทราบข้อกล่าวหานั้น 

ล่าสุดวันที่ 29 พ.ค. 67 นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวใน รายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ถึงกรณีดังกล่าวว่า ทราบว่าเมื่อวานนี้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ และภรรยายังไม่ได้เดินทางมารับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งน่าจะขอเลื่อน ตอนนี้ตนยังไม่ได้รับทราบว่ามีการอนุมัติให้เลื่อนหรือไม่ ทราบเพียงแต่ว่าทั้งสองคนไม่ได้มา 

เมื่อถามว่า ตามระเบียบของ ป.ป.ช. ในกรณีนี้ขอเลื่อนได้หรือไม่ เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ได้ ถ้ามีเหตุผลและความจำเป็น ส่วนใหญ่เราก็จะให้ขยายเวลาการชี้แจง เมื่อถามย้ำว่าได้กี่ครั้ง และครั้งละกี่วัน เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า เป็นดุลยพินิจของอนุกรรมการในการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินที่จะตรวจสอบ ตนไม่สามารถชี้ได้ว่ากี่วัน ซึ่งต้องดูเหตุผลความจำเป็น ตามกฏหมายมีกรอบกำหนดอยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรม เราก็ต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาว่ามีเหตุผลความจำว่าให้ชี้แจงภายในกี่วัน แต่เพื่อความเป็นธรรมเราก็ต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาว่ามีเหตุผลมีความจำเป็นหรือไม่ เช่น การเจ็บป่วย ไม่สบาย หรือเกิดอุบัติเหตุไม่สามารถมาได้ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งต้องดูเหตุผละแต่ละกรณี ซึ่งเราก็ต้องไปตรวจสอบเหตุผลที่อ้างว่า หากเจ็บป่วยมีใบแพทย์หรือไม่ ถึงขนาดไม่สามารถมาชี้แจงได้ 

ซึ่งยังถึงขั้นคณะอนุกรรมการไต่สวน เพราะในกระบวนการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินจะใช้แค่คณะคณะอนุกรรมการในการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน และคณะพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น มันจะแตกต่างจากการดำเนินคดีอาญา ซึ่งการตรวจสอบทรัพย์สินจะเป็นในลักษณะทางแพ่ง ไม่เหมือนกับคดีอื่นๆ 

เมื่อถามว่า หากตรวจพบว่ามีการซุกทรัพย์สิน หรือซุกหนี้ ขั้นตอนจะเป็นอย่างไรเลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า ก็จะมีการสรุปรายละเอียดให้บุคคลที่เกี่ยวข้องชี้แจง และสรุปรายละเอียด โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.จะวินิจฉัยว่ามีกรณีจงใจยื่นบัญชีเท็จ ปกปิด หรือไม่ยื่นหรือไม่ โดยมีนิติกรรมอำพราง หรือมีเจตนาปกปิดซ่อนเร้น ทรัพย์สินหรือไม่ ซึ่งต้องดูที่เจตนา 

เมื่อถามถึงกรณีที่ภรรยาของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ พบว่าสัญญาเงินกู้ 20 ล้าน อาจเป็นนิติกรรมอำพราง ไม่มีการกู้ยืมเงินกันจริงๆ นี่คือจุดตั้งต้นของการตรวจสอบเรื่องทรัพย์สินใช่หรือไม่ และเป็นที่มาของการแจ้งข้อกล่าวหาใช่หรือไม่ เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าวว่า น่าจะเป็นเรื่องของการตรวจสอบเกี่ยวกับรายละเอียดของทรัพย์สินส่วนรายละเอียดข้อเท็จจริงตนต้องขออนุญาตไม่ให้ข้อมูล เพราะอยู่ระหว่างการตรวจสอบ 

 

ขอบคุณข้อมูล : รายการเจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand

advertisement

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวทั่วไป เป็นกระแส