ผลสอบบิ๊กสตช.ชี้ชัดมีขัดแย้งรุนแรง“บิ๊กต่อ” คัมแบ็ก ผบ.ตร.-“บิ๊กโจ๊ก” รอก่อน

20 มิ.ย. 67

“วิษณุ” แถลงผลสอบ ให้ “บิ๊กต่อ” คัมแบ็ก ตำแหน่ง ผบ.ตร.ตามเดิม ส่วน “บิ๊กโจ๊ก” รอไปก่อน ผลสอบชี้ชัดมีความขัดแย้งรุนแรงเกือบ 10 ปี

นายวิษณุเครืองาม ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติราชการ ได้รับมอบหมายจาก นายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรี ชี้แจงกรณีที่ คณะกรรมการสอบสวนเรื่องตำรวจ ได้ รายงาน ผลการสอบสวนไปให้นายกรัฐมนตรีแล้ว เมื่อ2-3 วันที่ผ่านมา และนายกรัฐมนตรี ก็เห็นว่า สมควร จะแถลง ให้ทราบ เพราะว่าคณะกรรมการสอบสวนเสร็จสิ้นภารกิจ หรือที่เรียกว่า “ปิดจ๊อบ” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังมีเรื่องอื่นที่ต้องทำต่อไป ในอนาคตอีกหลายเรื่อง แต่ว่าคนอื่นเป็นคนทำ

246372

โดยผลการสอบสวนสรุปว่าได้  เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา คือครบ 4 เดือนพอดี ท่ามกลางข่าวความขัดแย้งอย่างรุนแรง ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานใหญ่ในกระบวนการยุติธรรม ทำให้ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจ หรือไม่พอใจ ต่อสภาพที่เกิดขึ้น นายกรัฐมนตรี จึงได้มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อประเมินเรื่องราวว่ามีความเป็นมาอย่างไร เพื่อจะได้แก้ไข ต่อไปในอนาคตได้ ประกอบด้วย

  1. นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ
  2. นายชาติพงษ์ จีระพันธุ อดีตรองอัยการสูงสุด เป็นกรรมการ
  3. พล.ต.อ.วินัย ทองสอง อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจเเห่งชาติและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจเป็นกรรมการ และเลขานุการ

และคณะกรรมการชุดนี้ได้ตั้งคณะอนุกรรมการ ขึ้นมาอีกหลายชุด เพื่อมาช่วยสอบพยาน ภายใน 4 เดือนที่ผ่านมา นับเป็นจำนวน 50 กว่าคน ในจำนวนนั้นได้สอบสวน คู่กรณี คือพลตำรวจเอกต่อศักดิ์ สุขวิมล และพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล ด้วย โดยใช้เวลา 4 เดือนในการปิดจ๊อบเรื่องนี้ ซึ่งผลการสอบสวน ระบุว่า

1.ผลการตรวจสอบ พบว่ามีความขัดแย้ง เกิดขึ้นภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติจริง มีความขัดแย้งเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสูง  ระดับกลาง ระดับเล็ก และทุกระดับ ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเพราะเหตุเดียวกันหรือคนละเหตุ หรือบังเอิญ มาประจวบกันด้วยกันก็ตามจนกระทั่งเกิดเป็นคดีความต่างๆ ทั้งฟ้องร้องกันอยู่ภายนอก ร้องเรียนกันอยู่ภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  

2.พบว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ จะเกี่ยวพันกับบุคคล 2 คนคือพลตำรวจเอกต่อศักดิ์ ผบ. ตร และพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ รองผบ. ตร. ซึ่งแต่ละคนก็มีทีมงานของตัวเองอยู่ใต้บังคับบัญชา ทำให้ทีมงานก็พลอยเกิดความขัดแย้งไปด้วย โดยคดีสำคัญที่เกี่ยวพัน กับบุคคลเหล่านี้ เช่น คดี 140 ล้าน ( เป้รักผู้การเท่าไหร่) คดีกำนันนก คดีมินนี่ (เว็บพนันออนไลน์มินนี่) พนันออนไลน์ bnk และคดีที่กระจายกันตามอยู่สถานีตำรวจต่างๆ และคดีที่อยู่ในชั้นศาล  โดยเฉพาะศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ภาค 7 หรือคดีที่อยู่ในส่วนกลาง รวมทั้งความขัดแย้งบางเรื่องเป็นเรื่องเพิ่งเกิด ความขัดแย้งบางอย่างเกิดขึ้นเกือบ 10 ปีมาแล้ว จึงทำให้เกิดเป็นคดีเหล่านี้ขึ้น

3.ดังนั้น เรื่องที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม จึงต้องส่งเรื่องให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ คือตำรวจ อัยการ ศาล

4.บางเรื่องเกี่ยวพันกับนอกกระบวนการยุติธรรม ก็คือองค์กรอิสระได้แก่ป.ป.ช รับไปดำเนินการ ซึ่งได้รับไปแล้ว และคดีทั้งหมด ได้มีเจ้าของคดีรับดำเนินการอยู่แล้วทั้งสิ้น ไม่มีคดีที่ตกค้างอยู่ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติอีก

5.ผลสรุปรายงาน พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล เนื่องจากได้รับคำสั่ง ให้กลับไปปฏิบัติราชการ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน เดิมทีเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ และพลตำรวจเอกต่อศักดิ์ ได้ถูกคำสั่ง สำนักนายกฯ เรียกให้มาช่วยราชการ สำนักนายกฯ แต่เมื่อถึงวันที่ 18 เมษายน ก็ได้ส่งตัวพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ เพียงผู้เดียวกลับไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไปอยู่ในตำแหน่งและหน้าที่เดิม (รอง ผบ.ตร.) แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง ก็มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นอีกชุดหนึ่ง เพื่อสอบสวนทางวินัย แล้วตามมาด้วยคำสั่ง อีกฉบับหนึ่ง คือคำสั่งให้พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ ออกจากราชการไว้ก่อน

ส่วนกรณีพลตำรวจเอกต่อศักดิ์ ยังไม่ได้กลับไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดังนั้นจึงสมควรที่จะส่งพลตำรวจเอกต่อศักดิ์ กลับไปปฏิบัติราชการในตำแหน่งหน้าที่เดิม คือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพราะวันนี้ไม่มีอะไรจะสอบสวนแล้ว

ส่วนคดีจะเป็นอย่างไร ก็ให้ดำเนินการต่อไป ตามสายงาน เช่นคดีที่อยู่ป.ป.ช. ก็ไปป.ป.ช. คดีที่อยู่ที่ศาล ก็ไปที่ศาล ส่วนจะตั้งกรรมการสอบวินัยอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะดำเนินการต่อไป

6.จากการที่คณะกรรมการตรวจสอบ เข้ามาตรวจสอบครั้งนี้ ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง ไม่ได้ชี้ว่าใครถูกใครผิดเพราะว่าคนชี้เป็นคนอื่น แต่ว่าได้รายงานนายกรัฐมนตรีด้วย ว่าพบเห็นความยุ่งยากสับสน ระหว่างอำนาจสอบสวน ของหน่วยงานหลายหน่วย ซึ่งความจริงควรจะพบเห็นเรื่องนี้มานานแล้ว แต่ว่าด้วยความที่มีคดีใหญ่ๆ หลายคดีมาประดัง ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้พบว่าเวลามีเรื่องเกิดขึ้นไม่รู้ว่าเรื่องนี้ อยู่ในอำนาจตำรวจ หรืออยู่ในอำนาจของป.ป.ช  หรืออยู่ในอำนาจของ ปปง. หรืออยู่ในอำนาจของ DSI หรืออยู่ในอำนาจของป.ป.ท. คณะกรรมการป้องกันทุจริตภาครัฐ คดีทุจริตนั้นมันมีเจ้าภาพหลายรายเกินไป ความจริงเจ้าภาพใหญ่ก็คือป.ป.ช. แต่ว่าแต่ละหน่วยงานอาจจะได้รับมอบหมาย ในระดับรองๆลงไปก็ได้

คณะกรรมการจึงเสนอแนะว่า ให้กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ช่วยตรวจพิจารณาให้ชัดว่าอำนาจหน้าที่ ในเรื่องแบบนี้ถ้าเกิดขึ้นอีก อยู่ในอำนาจของใคร เพราะถ้าสอบสวนอีกไปถึงศาล ศาลก็ยกฟ้อง จึงต้องสอบสวนให้ถูกต้องว่าใครเป็นคนมีอำนาจกันแน่ เพื่อจะได้ดำเนินการต่อไปให้ถูกต้อง และเป็นคู่มือให้กับทางผู้เกี่ยวข้องเก็บไว้ ทุกหน่วยจะได้คิดเห็นตรงกัน ไม่เช่นนั้นก็จะมีปัญหา เรื่องโยนกันไปโยนกันมา ว่าเรื่องนี้ตำรวจสอบ หรือ ป.ป.ช.สอบกันแน่ ซึ่งจะต้องป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น โดยนายกรัฐมนตรีได้รับทราบรายงานนี้ทั้งหมดแล้ว จึงได้ให้ตนเองมาชี้แจงและแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปก็คือ 1.กฤษฎีกา และกระทรวงยุติธรรม ซึ่งก็มีคณะกรรมการประสานงาน กระบวนการยุติธรรมอยู่ที่นั่นไปตรวจสอบในเรื่องของเขตอำนาจ เพราะในคดีศาล ถ้าเกิดความขัดแย้งระหว่างอำนาจศาล ต่างกันจะเป็นศาลปกครอง หรือศาลยุติธรรม ก็มีกรรมการชี้ขาด อย่างในกรณีของคดีอาญา ในชั้นสอบสวน ไม่มีคนชี้ขาด ดังนั้นต้องส่งไปให้กฤษฎีกา กระทรวงยุติธรรมรับไปดำเนินการ และออกคำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อศักดิ์ไปดำรงตำแหน่งเดิม

นายวิษณุ ยังกล่าวถึงกรณี พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ซึ่งการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน เป็นการสั่งตามแบบที่เคยสั่งกันมาในอดีต คือสั่งตามมาตรา 132 พรบ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ 2505 แต่อย่างไรก็ตามในพรบ.ตำรวจแห่งชาติฉบับใหม่ล่าสุด 2565 ได้เพิ่มมาตราไว้ 1 มาตราคือ ในกรณีที่การ สั่งให้ตำรวจออกจากราชการไว้ก่อน ไปกระทบต่อสิทธิประโยชน์ของบุคคลนั้น การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน จะต้องกระทำโดยคำแนะนำหรือเสนอแนะ จากคณะกรรมการสอบสวน แต่เรื่องนี้ปรากฏว่าวันที่ 18 เมษายน มีการออกคำสั่ง 3 คำสั่งติดต่อกัน คือ

1.คำสั่งเรียกพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ กลับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

2.คำสั่งที่ตามมาติดๆคือคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัย พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์

และตามมาด้วยคำสั่งที่ 3 ติดกันคือ คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนทันที ซึ่งเรื่องนี้ก็ถือเป็นปัญหา จึงได้มีการส่ง เรื่องนี้ไปหาหรือคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการกฤษฎีกามีมติ 10 ต่อ 0 เห็นว่า การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนป็นการกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ ซึ่งกรณีของพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ ก็กระทบต่อสิทธิและหน้าที่ เพราะว่า ถ้าออกจากราชการไว้ก่อนจริง เงินเดือนก็ไม่ได้ เงินประจำตำแหน่งก็ไม่ได้ เงินเพิ่มก็ไม่ได้ รถประจำตำแหน่งก็ใช้ไม่ได้ ป้ายก็ต้องถอดกลับบ้าน รวมทั้งสิทธิในการที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งในโอกาสต่อไป ก็ไม่ได้ แสดงว่าเป็นการเสียสิทธิประโยชน์ จึงต้องทำโดยคำแนะนำหรือเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวน

แต่ปรากฏว่าเรื่องนี้ไม่ได้ผ่านคณะกรรมการสอบสวน เนื่องจากตั้งคณะกรรมการสอบสวน ก็ออกคำสั่งปลดทันที  กฤษฎีกาจึงเห็นว่า ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรม จึงแนะให้ไปจัดการแก้ไข ให้ถูกต้อง หรือจะเปลี่ยนใจ จะดำเนินการอย่างไร ก็เป็นอำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่จะดำเนินการต่อไป

เพราะฉะนั้นสถานภาพของพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ ก็คือ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างรอนำความกราบบังคมทูลให้ออกจากราชการไว้ก่อน ซึ่งการที่จะนำความกราบบังคมทูลให้ออกจากราชการไว้ก่อนนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก็จะต้องมีการตรวจสอบว่า ได้ทำถูกต้อง ตามกฎหมายหรือไม่ ขณะเดียวกันพลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ ก็ได้นำเรื่องไปฟ้อง ต่อคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรมของตำรวจ ซึ่งก็อยู่ระหว่างการพิจารณา

สรุปให้เข้าใจง่ายก็คือเหตุผล !! ทำไม “บิ๊กโจ๊ก” พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ยังไม่มีคำสั่งเด็ดขาดให้กลับไปสตช. เหมือนพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ที่ได้กลับไปนั่งเก้าอี้ผบ.ตร.เดิม โดยก่อนหน้านี้ เคยมีคำสั่งให้พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ กลับปฏิบัติราชการ สตช. ก่อนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย. และในวันเดียวกันนายกฯได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อสอนสวนทางวินัย และมีคำสั่งให้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ออกจากราชการไว้ก่อน ซึ่งสถานภาพตอนนี้ของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ต้องตรวจสอบว่ามีการทำถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และต้องรอผลจากคณะกรรมการพิทักษ์คุณธรรม อีกทั้ง กฤษฎีกาท้วงติง ขั้นตอนดังกล่าวอาจผิด จึงยังไม่มีการยื่นทูลเกล้าฯให้ออกจากราชการไว้ก่อน

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม