วิจารณ์สนั่น! สักยันต์มิติใหม่ ยุงดูดของลับสาว ผู้หญิงที่อยากจับเสี่ย-คนรวย นิยมบูชา ด้านเณรแอ ลั่นเลอะเทอะพุทธคุณนอกลัทธิ แนะคนสักต้องมีสติ
วันที่ 27 มิ.ย. 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้ใช้ติ๊กต๊อกรายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า “@chot4868” แชร์คลิปบอกเล่าเรื่องราวของ ยันต์ยุงดูดของลับสาวของสำนักพระเวท โดยในคลิปจะได้ยินเสียงคนถ่ายวิดีโอสอบถาม อ.เฉลิมวุฒิ หนุ่มใหญ่เกจิว่า ยันต์ที่อยู่ในคลิปคืออะไร “ยุงตัวเมีย”
คำตอบที่ได้ยินจากเกจิที่นั่งเล่าอย่างอารมณ์ดี ถึงที่มาที่ไปของเครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่เรียกติดปากกันว่า ผ้ายันต์ โดยลายอักขระที่คล้ายกับรูปสัตว์ดูดเลือดนี้มาบวกกับเลขคาถาตามความเชื่อก็จะเกิดอิทธิที่แรงขึ้น แล้วแต่คนใช้เป็นหรือไม่เป็น
ทั้งนี้ อ.เฉลิมวุฒิ ยังเล่าอีกว่า ยันต์ยุงดูดจิ๋มนี้เป็นของฤาษี ไม่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ ของนอกลัทธิ ผู้หญิงที่คอยจับอาเสี่ยส่วนใหญ่จะนิยมนำมาบูชา เพราะเป็นของที่ผู้หญิงใช้ ผู้ชายใช้ไม่ได้ โดยจะต้องมาตรวจเช็กดวงชะตาก่อน สามารถใช้กับฝรั่งตาน้ำข้าวได้ และไม่จำเป็นต้องลงที่ตัว
จากกรณีดังกล่าว ทีมข่าวอมรินทร์ทีวี ได้มีโอกาสพูดคุยกับ เณรแอ จอมขมังเวทย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไสยศาสตร์ และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการสักยันต์ เจ้าตัวได้อธิบายถึงเรื่องราวที่ปรากฏในโซเชียลเกี่ยวกับการสักยันต์ “ยุงดูดจิมิ” ว่า ตนเชื่อในเรื่องของเลขอักขระ รวมถึงตัวอักษรอักขระไสยศาสตร์ และเป็นที่มาของการสักยันต์อักขระ แต่ประเด็นที่กำลังเป็นข่าวที่มีเรื่องของยุง หรือจิ้งจก ตนมองว่าเป็นเรื่องของการอุปโหลก และสมมติขึ้นมา โดยเชื่อมโยงกับของจริงที่เป็นอักษรหรือเลขอักขระในอดีต แต่การนำตัวยุ่งหรือสัตว์ที่ไม่ได้มีในคัมภีร์ มารวมกับอักขระที่มีจริง เป็นเหมือนการเอามาทำเองโดยที่ไท่ได้มีในคำสอนหรือ คัมภีร์
เป็นการเขียนเพื่อสร้างกระแส แม้ว่าในยันต์นั้น จะมีเลขหรืออักขระที่เป็นของจริงผสมอยู่ แต่เมื่อมีการนำรูปยุงหรือจิ้งจกแล้วมาแอบอ้างว่าเป็นลัทธิหรือเป็นยันต์ที่พุทธคุณในด้านเรื่องของเสน่ห์มองว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องจริง ย้อนอยากให้คนมองว่าปกติแล้ว ปกติแล้วยุงเป็นสัตว์ที่เสียชีวิตหรือตายได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งไม่มีตำราหรือใครนำมาเป็นสัตว์ที่ใช้ในการประกอบพิธีหรือใช้ในการสักเพื่อความสิริมงคล
ตนอยากให้คนมีความเชื่อด้วยสติ เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ตนไม่ได้อยากโจมตีหรือว่าใคร ในฐานะตนก็อยู่ในวงการนี้ ก็อยากเตือนกลุ่มคนที่อยู่ในวงการไสยศาสตร์ด้วยกัน อย่านำเอาความเชื่อที่เลอะเทอะมาผสมกับความเชื่อที่มีจริง
ขอบคุณภาพ : ผู้ใช้ติ๊กต๊อกชื่อ @chot4868