ส่องข้อแตกต่าง นกยูงไทย นกยูงอินเดีย คนละสปีชีส์ เพราะฉะนั้นจะมาเป็นนกยูงเหมือนกันไม่ได้

4 ก.ค. 67

ส่องข้อแตกต่าง นกยูงไทย นกยูงอินเดีย แม้จะเป็นนกยูงเหมือนกันแต่คนละสปีชีส์ เพราะฉะนั้นจะมาเป็นนกยูงเหมือนกันไม่ได้

จากกรณีมีช่างภาพถ่ายภาพนกยูงอินเดียสีขาว และนกยูงพันธุ์ผสม เดินหากินปะปนอยู่ในฝูงนกยูงไทย ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า หากมีการผสมข้ามพันธุ์กับนกยูงไทยจะเกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรม กลายเป็นนกยูงไฮบริด ที่จะมียีนด้อย สุขภาพไม่ดี และอายุสั้น ทำให้นกยูงไทยสูญเสียความเป็นนกยูงไทยแท้นั้น

• นกยูงอินเดีย โดนสอยแล้ว เจอเหลือแต่เศษขน หลังคนหวั่นมาผสมข้ามพันธุ์กับนกยูงไทย

สำหรับในเมืองไทยมีนกยูงอยู่ 2 ชนิด คือ นกยูงเขียวหรือนกยูงไทย และนกยูงฟ้าหรือนกยูงอินเดีย แต่มีเพียงนกยูงเขียวหรือนกยูงไทยเท่านั้น ที่สามารถพบได้ในป่าธรรมชาติของประเทศไทย ซึ่งแพร่กระจายในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย

นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ หมอหม่อง อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ นักดูนก นักอนุรักษ์ และนักสื่อสารเรื่องราวจากธรรมชาติ เผยว่านกยูงไทยกับนกยูงอินเดีย แม้จะเป็นนกยูงเหมือนกันแต่คนละสปีชีส์ ประชากรของบรรพบุรุษนกยูงทั้งสองชนิด ต่างคนต่างอยู่ ถิ่นอาศัยแยกจากกันด้วยปราการทางธรรมชาติ เวลาผ่านไปนานหลายล้านปี จึงแยกสายวิวัฒนาการกัน จนเกิดเป็นพันธุ์ใหม่ 2 ชนิด เพื่อเหมาะสมกับถิ่นอาศัยและระบบนิเวศที่แตกต่างกัน

สำหรับนกยูงเขียวหรือนกยูงไทย (Green peafowl) เป็นนกขนาดใหญ่ตระกูลไก่ฟ้า ที่มีหางสีสวย และปลายหางจะมีแผ่นขนแบนๆ เป็นวงกลมหรือที่เรียกว่าแววมยุราไว้ใช้สำหรับรำแพนเกี้ยวตัวเมีย ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีขนหงอนเป็นพู่ชี้ตรงอยู่บนหัวมีสีเขียวเหลือบ นกยูงเพศผู้จะมีขนบริเวณหัวและคอเป็นขนสั้นๆ เหลือบสีเขียวแกมน้ำเงิน สีของผิวหนังบริเวณหน้าของนกยูงไทยทั้งสองข้างจะมีสีฟ้าและมีสีดำคาดบริเวณตา บริเวณแก้มมีสีเหลือง ขนคอและบริเวณหน้าอกและขนส่วนบนของหลัง มีปลายขนลักษณะป้านกลม ตรงกลางขนเหลือบ สีน้ำเงินแก่ล้อมรอบด้วยสีเขียวและสีทองแดง ตรงขอบของกลุ่มขนปีกในเพศผู้มีขอบเหลืองเขียวแกมดำมองดูคล้ายเกล็ดปลา หลังเป็นขนสีเหลือบเขียวตรงกลางเป็นสีทองแดงแกมดำ

istock-1638155772

นกยูงเพศเมียมีขนาดเล็กกว่า สีขนโดยทั่วไปไม่สดใสเท่าเพศผู้และมีเดือยสั้นกว่าเดือยของเพศผู้มาก นอกจากนั้นบริเวณขนต่างๆ ของเพศเมียมักมีสีน้ำตาล ดำหรือสีน้ำตาลแดงแทรกเป็นคลื่น จึงมองเห็นเป็นลายคลื่นทั่วทั้งลำตัว

นกยูงไทยเป็นนกที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ได้แก่ พวกเมล็ดหญ้า เมล็ดของไม้ยืนต้น ธัญพืช ผลไม้สุกที่หล่นจากต้น ยอดอ่อนของหญ้า แมลง ตัวหนอน ไส้เดือน งู และสัตว์ขนาด เล็ก หากินตามพื้นดินเช่นเดียวกันกับไก่ฟ้าและไก่ป่า และในขณะเดียวกันนกยูงก็ตัวช่วยในการกระจายพันธุ์พืชไปด้วย

ส่วนนกยูงอินเดียจะเป็นนกยูงที่มีขนาดเล็กกว่านกยูงเขียวหรือนกยูงไทยเล็กน้อย ขนหงอนจะมีลักษณะเป็นรูปพัด สีของผิวหนังบริเวณหน้าจะมีสีขาว และมีสีดำคาดบริเวณตา ขนบริเวณคอและอกมีสีน้ำเงิน ขนบริเวณปีกเป็นลายสีขาวสลับกับสีดำ ขนตามลำตัวจะมีสีเขียวอมน้ำเงิน ด้านหลังเป็นเกล็ดคล้ายใบไม้ ในเพศเมียนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้ ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาล ขนคอและหลังจะมีสีอ่อนกว่าเพศผู้

istock-117704670

ส่วนใหญ่นกยูงอาศัยอยู่ที่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ด้วยความที่นกยูงตัวใหญ่และมีขนยาวสวยงาม เลยตกเป็นเป้าหมายในการล่า เพื่อนำมาเลี้ยง เอาหางไปทำเครื่องประดับ อีกทั้งป่าแบบที่นกยูงชอบอยู่ก็ถูกบุกรุกทำลายจนเหลือน้อยเต็มที นกยูงไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดหนึ่งของประเทศไทย

294260

advertisement

ข่าวยอดนิยม