รู้ทันอันตราย "ก๊าซไข่เน่า" ผลที่เกิดกับร่างกายหลังสูดรับพิษ-วิธีปฐมพยาบาล

14 ส.ค. 67

"ก๊าซไข่เน่า" คืออะไร ผลที่เกิดกับร่างกายหลังสูดดมก๊าซพิษ ความเข้มข้นระดับไหน-สูดเข้าไปนานเท่าไหร่ ถึงเกิดภาวะหยุดหายใจและเสียชีวิตได้ วิธีปฐมพยาบาลผู้ได้รับพิษ

ก๊าซไข่เน่า คืออะไร

ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ แก๊สไข่เน่า คือ ก๊าซที่กลิ่นฉุนรุนแรง กลิ่นคล้ายไข่เน่า ไม่มีสีและติดไฟได้ ก๊าซชนิดนี้เกิดขึ้นในขบวนการสลายตัวของสารอินทรีย์ รวมถึงอุตสาหกรรมหมัก หรือเกี่ยวกับ กำมะถัน

แก๊สไข่เน่า ไม่สามารถซึมผ่านผิวหนัง การเกิดพิษต้องโดยการสูดดมเข้าโดยตรง ในระดับความเข้มข้นที่ไม่สูงมากนัก มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร 

เมื่อความเข้มข้นสูงขึ้นเริ่มทำให้ประสาทรับกลิ่นไม่ทำงาน ผู้ป่วยจะเริ่มไม่ได้กลิ่นที่ความเข้มข้นระดับมากกว่า 200 ppm ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ ก๊าซไข่เน่าจะยับยั้งขบวนการหายใจโดยใช้ ออกซิเจน ที่ระดับ เซลล์ (Cell) จะปรากฏได้ชัดขึ้นที่ระดับความเข้มข้นสูงๆ

สอดคล้องกับข้อมูลจาก รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ "อาจารย์อ๊อด" อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่า "ก๊าซไข่เน่า" เป็นก๊าซพิษ ที่ไม่สามารถซึมผ่านผิวหนัง เเต่จะเกิดผลกระทบหรือได้รับพิษ ต้องโดยการสูดดมเข้าโดยตรง มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ และทางเดินอาหาร"

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์

ระดับความเข้มข้นของ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือ แก๊สไข่เน่า กับผลที่เกิดกับร่างกาย

ความเข้มข้น (ppm) / ผลกระทบที่เกิดขึ้น
0.2  เริ่มได้กลิ่น
10  ได้กลิ่นที่รุนแรงมาก
50  ระคายเคืองตาและเยื่อบุทางเดินหายใจ
150  ประสาทรับกลิ่นไม่ทำงาน
200  ไม่ได้กลิ่น ตาแดง เจ็บในคอ
250  อาจน้ำท่วมปอด ถ้าสูดดมนาน
500  รับพิษในระยะเวลานาน ครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชม. เกิดการปวดศีรษะ คลื่นไส้ หมดสติ และหยุดหายใจ
500 – 1,000  เกิดอาการจากการขาดออกซิเจน ในทุกระบบ และหยุดหายใจ

วิธีปฐมพยาบาล ผู้ได้รับพิษ ก๊าซไข่เน่า

"อาจารย์อ๊อด" เผยว่าวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากเจอกับ ก๊าซไข่เน่า จะต้องมีการระบายอากาศในจุดที่พบก๊าซไข่เน่า และจะต้องมีการเติมออกซิเจนเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมกับนำร่างของบุคคลที่หมดสติเอาออกมาให้พ้นจุดที่ยังมีก๊าซไข่เน่า
ขณะที่ผู้ปฏิบัติงานที่เข้าไปช่วยเหลือบุคคลอื่น ก็จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันภัย เป็นหน้ากากที่มีออกซิเจนลำเลียงในการหายใจ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น

อ้างอิงข้อมูล : ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี, รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์

istock-2154917134

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

สกู๊ปพิเศษ เป็นกระแส