“ทนาย” ร้องกองปราบฯ ตรวจสอบ “เรืองไกร” ร้องเอาผิดนายกฯ ปมลาออกบริษัท-ถือหุ้นฯ อาจเข้าข่ายแจ้งความเท็จ-พรบ.คอมฯ
วันนี้ (20ก.ย.67) นายเดชา บัวปลี ทนายความ เดินทางมาที่ศูนย์รับแจ้งความกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เนื่องจากกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้มีการร้องเรียนนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากประเด็นการลาออกจากบริษัทเอกชน และการถือหุ้นในบริษัทฯ ว่า ตนมาร้องในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เนื่องจากนายเรืองไกร ได้มีการร้องเรียนนายกรัฐมนตรี ในประเด็นดังกล่าว ซึ่งตามป.วิอาญามาตรา 21 ตนจึงขอให้พนักงานสอบสวนของกองปราบปรามฯ ทำการตรวจสอบผู้กล่าวหาควบคู่กันไป
ทั้งนี้ตามกฏหมาย พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. 2543 มาตรา 4 บัญญัติว่า รัฐมนตรีต้องเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่ คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเว้นแต่ในกรณีก็คือในห้างหุ้นส่วนจำกัดรัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความผิดได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของหุ้นทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น และอีกประเด็นคือ ในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด รัฐมนตรีเป็นผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้ในบริษัทนั้น
และมาตรา 5 บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในส่วนที่เกินกว่ากำหนดที่กำหนดไว้ในมาตรา 4 ให้รัฐมนตรีดำเนินการก็คือการแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ประธานป.ป.ช.) ทราบภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2567 และนายกรัฐมนตรี มีสิทธิ์ตามกฎหมายทำหนังสือแจ้งประธานป.ป.ช. ภายใน 30 วันตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งวันสุดท้ายคือวันที่ 17 กันยายน 2567
นอกจากนี้ในส่วนการโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติบุคคลภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งให้ประธานป.ป.ช. ทราบ และเมื่อได้ดำเนินการโอนหุ้นหรือหุ้นให้กับนิติบุคคลใดแล้วให้รัฐมนตรีแจ้งเป็นหนังสือไปยังประธานป.ป.ช. ภายใน 10 วันนับตั้งแต่วันที่ได้โอนหุ้นส่วนหรือหุ้นนั้น ซึ่งหากดูตามข้อกฎหมายนี้กรณีนายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์ตามกฎหมายทำหนังสือแจ้งประธานป.ป.ช. ภายใน 30 วันตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งวันสุดท้ายที่นายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์ทำหนังสือแจ้งประธานผ.ป.ช. คือวันที่ 17 กันยายน 2567 และวันสุดท้ายที่นายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์โอนหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นให้นิติคนภายใน 90 วัน หากนับตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2567 ซึ่งจะครบในวันที่ 18 ธันวาคม 2567 ซึ่งถือเป็นวันที่นายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์กระทำ ได้ภายในกรอบเวลาของกฎหมาย
พร้อมยืนยันว่า และการกระทำแบบนี้อยากให้ทางพนักงานสอบสวนของกองปราบฯ ทำการรวบรวมพยานหลักฐานตรวจสอบข้อเท็จจริง จากกกต. พร้อมขอข้อมูลมาตรวจข้อเท็จจริงว่าการร้องเรียนแบบนี้ จะเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จกับเจ้าพนักงาน และหากตรวจสอบพบความผิดจริง ก็จะเข้าสู่ความผิดฐานนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
“เราในฐานะประชาชนอยากเห็นรัฐบาลที่เราเลือกมาทำหน้าที่บริหารประเทศ เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นคนสำคัญ ต้องสานสัมพันธ์กับต่างประเทศ รวมถึงดูแลความมั่นคง ซึ่งการกล่าวร้องแบบนี้ทำให้ประเทศชาติเดินหน้าไปไม่ได้”