โควิดสายพันธุ์อินเดีย นพ.โอภาส ชี้แรงพอๆกับ สายพันธุ์อังกฤษ ติดแล้ว 36 ราย

21 พ.ค. 64

โควิดสายพันธุ์อินเดีย 21 พ.ค. 64 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าว ประเด็นการพบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ "สายพันธุ์อินเดีย" ในแคมป์ก่อสร้างหลักสี่ 15 ราย โว่า มีการค้นพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อินเดียในประเทศไทย หรือ B.1.617.2 โดยสายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 มีการกลายพันธุ์ตลอดเวลาจากสายพันธุ์ดั้งเดิมที่ค้นพบที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

ด่วน! ศบค.เผย คลัสเตอร์แคมป์คนงานหลักสี่ พบ โควิดสายพันธุ์อินเดีย 15 คน 

ทั้งนี้ โควิดสายพันธุ์อินเดีย การแพร่กระจายไม่ได้แตกต่างจากสายพันธุ์อินเดีย แปลว่า สายพันธุ์อังกฤษกับสายพันธุ์อินเดีย การแพร่กระจายเชื้อไม่แตกต่างกัน ส่วนความรุนแรงของโรคยังไม่มีข้อมูลที่บ่งชี้ว่าสายพันธุ์อินเดียมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อังกฤษ และเรื่องการดื้อวัคซีนพบว่า สายพันธุ์อินเดียยังไม่ดื้อต่อวัคซีน โดยเฉพาะยี่ห้อหลักที่ประเทศไทยนำเข้ามาใช้อยู่ คือ แอสตร้าเซนเนก้ายังสามารถป้องกันสายพันธุ์อินเดียและอังกฤษได้

ต่อมา นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส Covid 19 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจรหัสพันธุกรรมจากตัวอย่างที่ส่งมาจากแค้มป์คนงานก่อสร้าง และบริเวณใกล้เคียง จำนวน 80 ตัวอย่าง พบว่าเป็นสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2) จำนวน 36 ราย เป็นคนไทย 21 ราย คนงานชาวพม่า 10 ราย และกัมพูชา 5 ราย

ที่เหลือเป็นสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) และยังมีตัวอย่างจากการค้นหาเชิงรุก จากพื้นที่อื่นใน กทม.อีก 2 แห่ง แต่พบเป็นสายพันธุ์อังกฤษทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทย เชื้อที่พบจะเป็นสายพันธุ์อังกฤษ 87% เพิ่งตรวจพบสายพันธุ์อินเดีย และจะได้ขยายการนำตัวอย่างจากคลัสเตอร์อื่นๆ มาตรวจรหัสพันธุกรรม เพื่อดูการกระจายตัวต่อไป จากข้อมูล ของ Public Health England พบว่าสายพันธุ์อินเดียมีการแพร่กระจายได้ค่อนข้างรวดเร็ว คล้ายกับสายพันธุ์อังกฤษแต่ยังไม่พบหลักฐานที่มีผลต่อความรุนแรง หรืออัตราการเสียชีวิต และยังตอบสนองต่อวัคซีนได้อยู่ จึงไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเครือข่ายห้องปฏิบัติการที่สามารถทำการตรวจรหัสพันธุกรรมได้ จะร่วมมือกันเฝ้าระวัง สายพันธุ์ที่น่าห่วงกังวล (Variant of Concern) คือสายพันธุ์อังกฤษ, อินเดีย, อาฟริกาใต้ และบราซิล ต่อไป ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สามารถตรวจรหัสพันธุกรรม แบบทั้งตัว (Whole Genome Sequencing) ได้สัปดาห์ละ 384 ตัวอย่าง ซึ่งมากกว่ามาตรฐานที่ WHO ต้องการสัปดาห์ละ 150 ตัวอย่าง โดยจะเก็บมาจากทุกส่วนของประเทศ และกรณีต้องการทราบผลเร็วก็สามารถตรวจแบบ Targeted Sequencing ซึ่งใช้เวลา 1-2 วันอีกด้วย

เผยรายชื่อ 4 วัคซีนที่มีผลวิจัยว่าต่อต้าน โควิดสายพันธุ์อินเดีย ได้ 

รู้จัก โควิดสายพันธุ์อินเดีย ไวรัสกลายพันธุ์น่ากังวลระดับโลก อันตรายแค่ไหน ? 

advertisement

คุณอาจสนใจข่าวนี้

ข่าวยอดนิยม

ข่าวที่ได้รับความสนใจ