เปิดขั้นตอน จับกุมเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 12-18 ปี หากถูกจับกุมในคดีอาญา พร้อมไขข้อสงสัย ต้องมีหน่วยงานไหนร่วมสอบปากคำด้วย
สำนักงานกิจการยุติธรรม ระบุว่า กระบวนการและขั้นตอนในการจับกุมเด็กและเยาวชนทีมีอายุต่ำกว่า 12 – 18 ปี มีความแตกต่างจากกระบวนการที่ใช้เมื่อจับกุมผู้ต้องหาที่เป็นผู้ใหญ่ โดยกฎหมายหลักที่ใช้ คือ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ. 2565
กล่าวคือ เมื่อมีการจับกุมเด็กและเยาวชน (อายุต่ำกว่า 12 – 18 ปี) กำหนดให้ "ตำรวจ" ต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสิทธิตามกฎหมายให้เด็กและเยาวชนทราบ หลังจากนั้นก็ให้นำตัวเด็กหรือเยาวชนไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนโดยเร็ว ทำการสอบสวนสอบปากคำ ดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย และให้ ส่งตัวเด็กหรือเยาวชน ที่ถูกจับไปศาลเพื่อตรวจสอบการจับกุม ภายในเวลา 24 ชั่วโมง
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายคุ้มครองเด็ก (พม.) จะต้องดำเนินการ
ข้อควรรู้ : ถึงแม้เด็กและเยาวชนแม้ไม่ได้รับโทษอาญาแต่ยังต้องรับผิดในทางแพ่งโดยพ่อแม่ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ระบุข้อมูลเอาไว้ว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การถามปากคำและการสืบพยานเด็ก กำหนดวิธีปฏิบัติในการถามปากคำ การชี้ตัวผู้ต้องหาของผู้เสียหายหรือพยานการสืบพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี รวมทั้งการสอบสวนผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ต้องมีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย โดยมุ่งหมายมิให้เด็กได้รับผลกระทบทั้งทางร่างกายและสภาวะทางจิตใจจากกระบวนการยุติธรรม การดำเนินการดังกล่าวเฉพาะคดีที่กฎหมายกำหนดดังต่อไปนี้
ข้อมูลจาก : สำนักงานกิจการยุติธรรม และ ศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก
Advertisement