วิธีแก้ปัญหาการระบาดของ "ปลาหมอคางดำ" กทม. สั่งลุย 3 มาตรการเชิงรุก รักษาสมดุลระบบนิเวศและเพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน
กทม. เน้น 3 มาตรการ ลดจำนวน ปลาหมอคางดำ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปลาหมอคางดำ สัตว์น้ำต่างถิ่นที่แพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วในหลายแหล่งน้ำทั่วประเทศไทย รวมถึงกรุงเทพมหานคร กำลังคุกคามระบบนิเวศและสร้างความเดือดร้อนแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยเหตุนี้ กทม. จึงดำเนินมาตรการเชิงรุก 3 มาตรการ จาก 6 มาตรการของกรมประมง เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3 มาตรการ แก้ปัญหาการระบาด ปลาหมอคางดำ ในพื้นที่ กทม.
1. สร้างความรู้ ความตระหนัก
สร้างการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการกำจัดปลาหมอคางดำ เพื่อป้องกันและพร้อมรับมือการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
2. นำไปใช้ประโยชน์
นำปลาหมอคางดำที่ถูกกำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ เช่น สามารถนำมาเป็นอาหารให้มนุษย์บริโภคได้ ทั้งผลิตเป็นปลาเค็มแดดเดียว น้ำปลา น้ำปลาร้า หรือนำไปเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์อย่างการทำปลาป่น หรือนำไปทำเป็นปลาเหยื่อเลี้ยงปลาเนื้อ
3. หาเเนวร่วม
ประสานงานกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น จับมือกับกรมประมงเพื่อตั้งจุดรับซื้อ หรือการประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อดำเนินการกำจัดต่อไป
กทม. มุ่งมั่นในการสร้างเมืองที่น่าอยู่และยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับการรักษาสมดุลของระบบนิเวศและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การจัดการปัญหาปลาหมอคางดำด้วยมาตรการที่หลากหลายและครอบคลุม สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์กรุงเทพฯ ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่และปลอดภัยสำหรับทุกคน
Advertisement