วันที่ 4 ม.ค. 67 เฟซบุ๊กเพจ “NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” โพสต์ข้อความระบุว่า “4 มกราคม 2568 โลกใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี ระยะห่างประมาณ 147 ล้านกิโลเมตร”
“โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี และดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ตรงศูนย์กลางวงรีพอดี ดังนั้นมี 2 ตำแหน่งที่โลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด และไกลดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบ 1 ปี”
“จุดที่ใกล้ที่สุด เรียกว่า Perihelion และจุดที่ไกลที่สุด เรียกว่า Aphelion ในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตอนเวลา 06.42 น. และตกเวลา 18.03 น. ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว จุดนี้หลายคนในเมืองไทยมักสับสน และเข้าใจผิดว่าฤดูหนาว เป็นเพราะโลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์ แต่ที่จริงแล้วตรงกันข้าม ฤดูหนาวของประเทศไทย โลกจะอยู่ในจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่มากสุด ดังนั้นฤดูหนาวไม่ได้เกิด เพราะโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด และฤดูร้อนไม่ได้เกิด เพราะโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด”
“เนื่องจากแกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับระนาบตั้งฉากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกจึงได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณต่างกัน ทำให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงมีระยะเวลากลางวัน และกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก”
ขอบคุณข้อมูล : เพจ “NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ”
Advertisement