Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
รู้จักกฎ “Must Have-Must Carry” กฎเจ้าปัญหาในธุรกิจและทีวีดิจิทัล

รู้จักกฎ “Must Have-Must Carry” กฎเจ้าปัญหาในธุรกิจและทีวีดิจิทัล

6 ก.พ. 68
11:45 น.
|
125
แชร์

รู้จักกฎ “Must Have-Must Carry” กฎเจ้าปัญหาในธุรกิจและทีวีดิจิทัล

กฎ Must Have-Must Carry ที่เกี่ยวข้องกับทีวีดิจิทัล กำลังถูกพูดถึงอีกครั้ง หลังมีการนัดฟังคำพิพากษา กรณีออกหนังสือเตือนการโฆษณาแทรกในรายการที่เผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ของ TrueID โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกิจการโทรทัศน์ ซึ่งถือเป็นการขัดต่อหลักเกณฑ์ Must Carry ของ กสทช. ที่กำหนดว่าต้องนำพาสัญญาณโดยไม่มีการแทรกเนื้อหาใดๆ

เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นที่สังคมต่างจับตา เนื่องจากเป็นปัญหาระหว่างองค์กรหลักโดยตรงที่ดูแลและกำกับทีวีดิจิทัล กับผู้ประกอบการรายใหญ่ระดับประเทศ

“Must Have-Must Carry” คืออะไร?

กฎ Must Have หรือ ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สําคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 โดยสาระสำคัญของกฎ Must Have คือ กำหนดให้ 7 รายการกีฬาสำคัญ เผยแพร่ทางรายการโทรทัศน์ที่สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้ภายใต้การให้บริการฟรีทีวีเท่านั้น ดังนี้

- การแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้าย (FIFA World Cup Final)

- การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ (SEA Games)

- การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ (Asian Games)

- การแข่งขันอาเซียนพาราเกมส์ (ASEAN Para Games)

- การแข่งขันเอเชียนพาราเกมส์ (Asian Para Games)

- การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games)

- การแข่งขันกีฬาพาราลิมปิก (Paralympic Games)

เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรม และเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนด้อยโอกาสให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ได้อย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไป

ส่วน กฎ Must Carry หรือ หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป เป็นการกำหนดให้แพลตฟอร์มบริการโทรทัศน์ทุกรายที่ได้รับใบอนุญาตจาก กสทช. นำช่องฟรีทีวี ไปออกอากาศในทุกช่องทาง ทั้งทางเสาอากาศ จานดาวเทียม เคเบิลทีวี และช่องทางออนไลน์ โดยต้องออกอากาศต่อเนื่องตามผังรายการของแต่ละสถานี และไม่ให้มีจอดำเกิดขึ้น

โดยข้อสำคัญคือ ผู้ที่นำไปเผยแพร่ “ต้องให้สมาชิกได้รับบริการโทรทัศน์เป็นการทั่วไปโดยตรงอย่างต่อเนื่อง และไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำซ้ำ ดัดแปลง ผังรายการและเนื้อหารายการ”

ซึ่ง Must Have และ Must Carry จะพูดถึงบ่อยเป็นพิเศษทุกครั้งที่จะมีการถ่ายทอดสดรายการกีฬาใหญ่ๆ ของโลก และเกิดปัญหาทุกครั้ง เช่น ในปี 2012 ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลยูโร ก็เคยเจอทั้งปัญหาจอดำและเรื่องทางการค้า

โดยผลจากกฎ Must Have-Must Carry จึงมักทำให้ไม่มีเอกชนซื้อลิขสิทธิ์กีฬา 7ประเภท มาถ่ายทอดสดได้ เนื่องจากติดปัญหาไม่สามารถนำไปหารายได้ต่อได้ จึงทำให้ภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนในส่วนของงบประมาณซื้อลิขสิทธิ์ ดังที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ที่ผ่านมา

กฎ Must Have-Must Carry กลายเป็นปัญหาสะสมมานานนม แม้กฎดังกล่าวจะช่วยให้คนไทยเข้าถึงบริการฟรีทีวีได้อย่างเท่าเทียม แต่อีกมุมก็คือปัญหาที่ผู้ถือลิขสิทธิ์ต้องเจอ หากข้ามสเต็ปก็จะกลายเป็นปัญหา ดังเช่นกรณีผลคำพิพากษาระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ถือลิขสิทธิ์ ที่เกิดขึ้นในตอนนี้นั่นเอง

ซึ่งในปี พ.ศ. 2566 ที่ประชุม กสทช. เคยนัดพิเศษพิจารณาเรื่อง เห็นควรยกเลิกประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 หรือกฎ Must Have จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนทั่วไป ก่อนจะออกประกาศยกเลิกกฎ Must Have เมื่อ 2 เมษายน 2567 ด้วยมติเอกฉันท์ ในเรื่องยกเลิกสนับสนุนฟุตบอลโลก

Advertisement

แชร์
รู้จักกฎ “Must Have-Must Carry” กฎเจ้าปัญหาในธุรกิจและทีวีดิจิทัล