Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
รอยเลื่อนสะกาย ย้อนแผ่นดินไหวในประวัติศาสตร์

รอยเลื่อนสะกาย ย้อนแผ่นดินไหวในประวัติศาสตร์

28 มี.ค. 68
17:35 น.
แชร์

ย้อนรอยแผ่นดินไหวที่เกิดจากรอยเลื่อน “สะกาย” ในประวัติศาสตร์ เกิดแรง เกิดถี่ และเสียหายหนัก

แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งอยู่ในประเทศเมียนมา  วันที่ 28 มีนาคม 2568  เป็นอีกครั้งที่รุนแรงติดอันดับของรอยเลื่อนนี้
ซึ่งรอยเลื่อนแห่งนี้ถือเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง และสร้างความเสียหายมาแล้วหลายครั้งในประวัติศาสตร์

โดยเมื่อปี พ.ศ. 2382 หรือ  คศ. 1839  วันที่ 23 มีนาคม เวลาประมาณเวลา 04:00 น.  เกิดเหตุแผ่นดินไหว คาดว่าขนาด  7.9 ถึง 8.3   จุดศูนย์กลาง อยู่ใกล้อังวะ   ที่พิกัดประมาณ 21.9°N 96.0°E  โดยครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต หลายร้อยคน และสร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางให้กับเมืองต่างๆ รวมถึงอังวะซึ่งเป็นเมืองหลวงในขณะนั้น  รวมถึงเมืองอมรปุระ และมัณฑะเลย์  เจดีย์หลายแห่งพังทลาย นอกจากนี้ แรงสั่นสะเทือนยังทำให้กระแสน้ำในแม่น้ำอิรวดีไหลย้อนกลับ  ความรู้สึกสั่นไหวจากแผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถรับรู้ได้ไกลถึงธากา , โกลกาตา และกรุงเทพมหานคร 

ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวที่เรียกว่า “ชุดแผ่นดินไหว” เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2472-2474  หรือ ค.ศ. 1929-1931โดยเกิดขึ้นหลายครั้ง เริ่มที่ สิงหาคม พ.ศ. 2472   ขนาดความรุนแรงไม่เกิน 7.0      , 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2473  เกิดที่ พะโค/หงสาวดี   ขนาด 7.4  โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 550 ถึง 7,000 คน และสร้างความเสียหายอย่างมากในหงสาวดีและย่างกุ้ง    เจดีย์ชเวมอดอว์ ได้รับความเสียหาย  แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงรัฐฉานและประเทศไทย  และมีการเกิดสึนามิ แม้จะมีขนาดเล็ก บ่งชี้ถึงอันตรายที่หลากหลายจากเหตุการณ์เหล่านี้ ,  3 ธันวาคม พ.ศ. 2473  เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กนำสองครั้ง รู้สึกได้ในพยินมานา และย่างกุ้ง จนเช้าวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2473  เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.3  สร้างความเสียหายอย่างมากในเมืองพยู อาคารก่ออิฐหลายหลังพังทลาย ทางรถไฟเสียหาย และมีผู้เสียชีวิต 30-36 ราย  แรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ถึงกรุงเทพมหานคร , 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 ในภูมิภาคอิรวดี  มีผู้เสียชีวิตประมาณ 50 ราย ไม่ทราบขนาดความรุนแรง   ,  28 มกราคม พ.ศ. 2474  เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 7.6  ใกล้ทะเลสาบอินดอว์จี โดยสั่นสะเทือนนานถึง 30 วินาที  ทำให้เกิดดินถล่มขนาดใหญ่แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

12 กันยายน พ.ศ. 2489   เกิดแผ่นดินไหวสองครั้งต่อเนื่อง แผ่นดินไหวครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 15:17:  น.  ขนาด 7.3 และครั้งที่สองเกิดขึ้นในอีกสามนาทีต่อมา เวลา 15:20: น. ขนาด 7.7   ทำให้เกิดการการแตกของรอยเลื่อนเกิดขึ้นตามส่วนอินดอว์ และสะกาย 

16 กรกฎาคม พ.ศ. 2499  เกิดแผ่นดินไหว ขนาด  7.1    มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 40 ราย และเจดีย์หลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง

11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555   แผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 07:42 น. ตามเวลาท้องถิ่น  ขนาด 6.8  จุดศูนย์กลางอยู่ใกล้ชเวโบ  ห่างจากมัณฑะเลย์ไปทางเหนือ 100 กิโลเมตร    มีผู้เสียชีวิต 26 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนมาก  บ้านเรือน โรงเรียน และอาคารทางศาสนาหลายร้อยหลังได้รับความเสียหาย  สะพานที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างบางส่วนพังถล่มลงในแม่น้ำอิรวดี และเหมืองทองแห่งหนึ่งในซินต์กู ก็พังทลาย

และล่าสุด 28 มีนาคม พ.ศ. 2568  มีรายงานว่าขนาด 7.7   มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก  สะพานอังวะ ในมัณฑะเลย์พังถล่ม อาคารหลายหลังในสะกายและมัณฑะเลย์พังทลาย พระราชวังมัณฑะเลย์ได้รับความเสียหาย ถนนในเนปยีดอว์ โก่งงอ และศาลเจ้าและบ้านเรือนได้รับความเสียหาย  แรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้ไกลถึงกรุงเทพมหานคร   รู้สึกได้ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทย อินเดีย และจีน   โดยรัฐบาลเมียนมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในหกรัฐและเขต

 

Advertisement

แชร์
รอยเลื่อนสะกาย ย้อนแผ่นดินไหวในประวัติศาสตร์