ใช้ระยะเวลายาวนานราว 10 เดือน ในการทำการสอบทานธุรกิจ(Due Diligence) หลังจากในเดือน พ.ย. 2564 ที่กลุ่ม “กลุ่มเอสซีบี เอกซ์" ประกาศจะทำบิ๊กดีลเข้าซื้อหุ้น 51% มูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท ของ “บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด” (Bitkub Online Co., Ltd.) ผู้ทำธุรกิจแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทที่มีมาร์เก็ตแชร์อันดับ 1 ในไทย ซึ่งก่อตั้งโดย 'ท๊อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา'
ขณะที่ในช่วงระหว่าง Due Diligence มีข่าวลือแพร่สะพัดมาหลายครั้งว่าดีลนี้อาจล่ม เพราะดีลนี้ถูกเลื่อนไทม์ไลน์จากที่ SCB เคยประกาศแผนไว้ว่าจะปิดดีลภายในไตรมาส 1 ปี 2565 แต่ก็ถูกเลื่อนมาเรื่อยๆ แต่ที่ผ่าน SCB พยายามชี้แจงว่าต้องใช้ระยะเวลาสำหรับในขั้นตอนทำ Due Diligence แต่ในที่สุดวันที่ 25 ส.ค. 2565 ที่ผ่าน SCB ประเทศล้มดีลนี้
หลังผลการทำ Due Diligence เสร็จสิ้นออกมาซึ่งอ้างเหตุผลว่า Bitkub ยังมีประเด็นคงค้างที่ต้องดำเนินการหาข้อสรุปตามคำแนะนำและสั่งการของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) อยู่ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องระยะเวลาในการหาข้อสรุปดังกล่าวผู้ซื้อและผู้ขายจึงได้ตกกลงร่วมกันที่จะยกเลิกธุรกรรมการซื้อขายหุ้นในคร้ังนี้
ทีมข่าว 'SPOTLIGHT'จะพาไปย้อนรอยว่าที่ผ่านมา 'Bitkub' เคยถูก ก.ล.ต. ลงโทษในเรื่องสำคัญและมีเรื่องอะไรที่ยังค้างยังไม่ได้ดำเนินการบ้าง
ดังนั้นเมื่อวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ SCB อ้างใช้ล้มดีลซื้อ Bitkub ที่บอกว่า Bitkub ยังมีประเด็นคงค้างที่ต้องดำเนินการหาข้อสรุปตามคำแนะนำและสั่งการของ ก.ล.ต. ก็คือในประเด็นที่ ก.ล.ต. มีคำสั่งให้ Bitkub ต้องดำเนินการแก้ไขการคัดเลือกและอนุมัติเหรียญ KUB เข้ามาให้บริการในศูนย์ซื้อขาย Bitkub ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แต่ถึงปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนจาก Bitkub ออกมาได้แก้ในเรื่องนี้ จึงเป็นที่มาที่เหตุ SCB ยกขึ้นมาเป็นเหตุในการล้มดีลยักษ์ที่เคยประกาศไว้
หากลองไปตรวจสอบข้อมูลไทม์ไลน์เส้นทางของ "กลุ่มเอสซีบี เอกซ์" จะพบว่า ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ที่เดิมเป็นธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) ได้ประกาศปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ โดยทรานฟอร์มตัวจากแบงก์พาณิชย์ มาเป็น "โฮลดิ้งคอมพานี" เพื่อให้ธุรกิจมีความคล่องตัว โดยตั้งยานแม่ “กลุ่มเอสซีบี เอกซ์” หรือ SCBX ขึ้นมาเพื่อแปลงโฉม ด้วยเป้าหมายที่จะพา "กลุ่มเอสซีบี เอกซ์" ไปอยู่ในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน(เทคคอมเพนี) พร้อมตั้งเป้าหมายภายในปี 2568 ฐานลูกค้าจะเพิ่มเป็น 200 ล้านคน จากปัจจุบัน 16 ล้านคน และ ดันกำไรให้โตเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว รวมถึงมีมูลค่ากิจการทะยานขึ้นไปแตะ 1 ล้านล้านบาท
หลังจากนนั้นเป็นต้นมาเริ่ม "กลุ่มเอสซีบี เอกซ์" รุกลงทุนอย่างหนักเพื่อเดินไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้ เพราะเพียงไม่กี่เดือนที่เกิดยานแม่ “กลุ่มเอสซีบี เอกซ์” ก็ประกาศบิ๊กดีลซื้อ Bitkub ทันที แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลดีจริงๆ แล้วจะพบว่าก่อนที่จะเกิดดีลนี้ SCB เองมีความสนใจในธุรกิจแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทนี้อยู่แล้ว เพราะได้ส่งลูก บริษัท หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์(SCBS) ได้ยื่นขอไลเซ่นจากสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อทำธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange)และได้รับการอนุญาตให้ทำธุรกิจเรียบร้อยพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจได้ทันที
แต่ในระยะเวลาต่อมามีไทม์ไลน์ที่ไล่เลี่ยกัน ก็ส่ง SCBS ไปซื้อหุ้น Bitkub อีกทางหนึ่งด้วย แต่ด้วยดีลของการซื้อหุ้นของ Bitkub ที่ถือว่าค่อนข้างมีมูลค่ามหาศาลเกือบ 2 หมื่นล้านบาท จึงจำเป็นต้องมีการทำ Due Diligence ก่อนซึ่งก็ต้องใช้ระยะเวลาค่อนนานจนเลยกรอบเวลาที่ตั้งเป้าไว้จะปิดดีลนี้ให้ได้ภายไตรมาส 1 ปีนี้ จนในที่สุดต้องล้มดีลไปด้วยเหตุผลที่กล่าวมาแล้ว
แน่นอนว่าการประกาศซื้อ Bitkub ของ SCB คงไม่ได้ทำแบบเล่นๆ เพราะการทำ Due Diligence ในบิ๊กดีลลักษณะนี้เรียกว่ามีค่าใช้จ่ายไม่ได้น้อยๆ ทั้งในแง่การมีที่ปรึกษาทางการเงิน(FA), ผู้สอบบัญชี (Auditor), ทีมกฎหมาย ต้องบอกว่าก็ใช้เงินไม่น้อยในการจ่ายค่าจ้างของทีมงานทั้งหมดเหล่านี้
หากมาวิเคราะห์ว่าในเมื่อ "กลุ่มเอสซีบี เอกซ์" เองก็มีไลน์เซ่นในการทำธุรกิจแพลตฟอร์มเทรดคริปโทอยู่แล้ว แต่ทำไมถึงยังต้องไปซื้อ Bitkub อีกก็จะพบว่าการซื้อเลยก็มีข้อดีเพราะเท่ากับว่า SCB ได้ฐานลูกค้าเทรดคริปโทของ Bitkub ในฐานะผู้ครองมาร์เก็ตแชร์เบอร์ 1 ในไทย เข้ามาทันทีจำนวนมากกว่า 3 ล้านบัญชี เป็นโอกาสใช้ต่อยอดการผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินในกลุ่มของ SCB ที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งยังได้เทคโนโลยีกับระบบ Infrastructure ของ Bitkub มาใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องลงทุนใหม่ระบบใหม่ และยังเป็นการต่อจิ๊กซอว์เป้าหมายเติมจำนวนฐานลูกค้าของ SCB ที่ประกาศไว้ว่าจะมีฐานลูกค้าให้ถึง 200 ล้านคนภายในปี 2568 ด้วย
นอกจากนี้สอดคล้องกับแผนที่ 'อาทิตย์ นันทวิทยา' ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานกรรมการบริหาร 'เอสซีบี เอกซ์' ยังเคยอธิบายเหตุผลในช่วงที่ประกาศจะเข้าซื้อ Bitkub ไว้ดังนี้1.ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลหนึ่งในธุรกิจการเงินแห่งโลกอนาคตมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีโอกาสเติบโตในระยะยาว2. บิทคับ ออนไลน์ ที่ให้บริการแพลตฟอร์มด้านการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทยที่มีความน่าเชื่อถือ มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา จะช่วยให้ “กลุ่มเอสซีบี เอกซ์” สามารถเติบโตในระยะยาวไปกับโลกใหม่ได้ 2. สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยานแม่ SCBX ในการยกระดับสู่กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงิน สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ของผู้บริโภค และสามารถเข้าสู่สนามการแข่งขันแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยเร็วในอีก 3-5 ปีข้างหน้า
แต่ด้วยสถานการณ์คริปโททั่วโลกที่หลายฝ่ายต่างก็ออกมายอมรับว่า ตอนนี้ตอนกำลังอยู่ในช่วงอยู่ในทิศทาง "ขาลง" ซึ่งสถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงปลายปี 2564 ที่ "เอสซีบี เอกซ์" ประกาศซื้อ Bitkub มูลค่ารวมสูงถึงประมาณ 17,850 ล้านบาท เพราะตลาดคริปโทตอนนั้นยังเป็นขาขึ้น เพราะราคาของคริปโทเคอเรนซี่สกุลหลักอย่างบิตคอยน์ ในช่วงนั้นเคยอยู่ที่ระดับมากกว่า 50,000 ดอลลาร์ต่อเหรียญ แต่ปัจจุบันร่วงลงไปหนักมากอยู่ที่ราว 20,000 ดอลลาร์ต้นๆ ต่อเหรียญเท่านั้นหรือลดลงไปหนักมากกว่า 130% ทำให้ลูกค้าเทรดคริปโทที่เจ็บตัวไปจำนวนหายไปจากตลาด อีกประเด็นคือ พอร์ตลงทุนเองของ "บิทคับ ออนไลน์" ยังมีการลงทุนถือครองในบิตคอยน์อยู่ด้วย ดังนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่พอร์ตลงทุน Bitkub ต้องโดนผลกระทบสะเทือนไปถึงกำไรอีกด้วย อาจไม่ได้ดีเท่าเดิมแบบที่เคยทำได้ในยุดขาขึ้นตลาดคริปโท
เนื่องจากผลประกอบการของ Bitkub ในอนาตจะมีปัจจัยเสี่ยงหลักใน 2 ประเด็นจากตลาดตลาดคริปโท
ดังนั้นจำนวนเงินจริงที่ 'เอสซีบี เอกซ์' ต้องจ่ายเพื่อซื้อ Bitkub กับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจึงควรไม่ใช่ราคาเดิมที่เคยตกลงไว้ในตอนแรกที่อาจแพงเกินไปอาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุนด้วยภาวะที่ตลาดคริปโทเป็นขาลง บวกกับตอนนี้ก็มีไลเซ่นในการทำธุรกิจแพลตฟอร์มเทรดคริปโทอยู่แล้ว คงต้องรอดูต่อไปว่าหลังไม่เป็นเจ้าของ Bitkub แล้ว 'เอสซีบี เอกซ์' จะขยับในธุรกิจนี้ด้วยไลเซ่นที่มีแล้วหรือหาดีลใหม่ลงทุนแทน