Patek Philippe แบรนด์นาฬิกาหรู ที่ใครหลายคนใฝ่ฝันอยากจะครอบครอง แต่ราคาของนาฬิกาเรือนเดียว แพงราวกับซื้อคฤหาสน์ได้หนึ่งหลัง เหมือนกับคนในวงการนาฬิกากล่าวว่า "Rolex คือ Mercedez Benz ส่วน Patek Philippe นั้นคือ Rolls Royce แห่งวงการ"
อย่าง Patek Philippe รุ่น Grand Complications Ref. 6300GR-001 มีราคาเรือนละราคา 2,924,934 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราวประมาณ 101,296,314 บาทเลยที่เดียว
Patek Philippe เป็นนาฬิกาที่ได้ชื่อว่า มีความปราณีตทุกขั้นตอนการผลิต ราวกับงานศิลปะชิ้นหนึ่ง โดยแบรนด์สื่อสารกับลูกค้า ด้วยประโยคที่ว่า
“You never actually own a Patek Philippe. You merely look after it for the next generation.” ความหมายก็คือ คุณไม่ได้เคยเป็นเจ้าของนาฬิกา Patek Philippe จริงๆ แต่คุณได้เก็บรักษามันไว้เพื่อคนรุ่นหลังเท่านั้น
ประโยคนี้ก็ถือว่า สะท้อนคุณค่านาฬิกา Patek Philippe ที่เป็นมรดกตกทอดสู่คนรุ่นหลังได้ เพราะด้วยความคงทน แข็งแรงของนาฬิกาที่สามารถมีอายุการใช้งานได้เป็นร้อยปี นวัตกรรมการผลิตพิถีพิถัน การออกแบบที่สวยงามหรูหรา และที่สำคัญมีความเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร นี่จึงเป็นคำตอบว่า ทำไม Patek Philippe ถึงมีราคาแพง
คราวนี้มาดูเส้นทางที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Patek Philippe กันดีกว่า ซึ่งต้องย้อนกลับไปในปี ค.ศ.1839 หรือเมื่อ 185 ปีที่แล้ว จาก นายอันตวน นอร์เบิร์ต เดอ ปาเต๊ก (Antoine Norbert de Patek) อดีตนายทหารชาวโปแลนด์ ที่ได้ลี้ภัยมามาลงหลักปักฐานในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และนายฟรองซัวส์ ซีซาเป็ค (François Czapek) ช่างทำนาฬิกาในดินแดนสวิส
แต่ว่าชื่อแรกของแบรนด์ ไม่ได้ใช้ชื่อ Patek Philippe เหมือนที่เรารู้จักกันในวันนี้นะคะ แต่เป็นชื่อ Patek, Czapek & Cie (ปาเต็ก, ซีซาเป็ค แอนด์ ซี.) ซึ่งมาจากชื่อของ 2 founder รวมกันนั่นเอง
พวกเขาได้ทำธุรกิจร่วมกันราว 6 ปี เท่านั้นและสุดท้ายก็ตัดสินใจแยกทางกัน เนื่องจากความคิดเห็นไม่ลงรอย ซึ่ง Czapek ได้แยกตัวออกไปตั้งบริษัทใหม่
ส่วน Patek ก็ได้ ฌอง-เอเดรียง ฟิลีปป์ (Jean-Adrien Philippe) ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกลไกและระบบต่างๆ ของนาฬิกา มาร่วมธุรกิจด้วยกัน จากนั้นก็ได้ เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น ‘Patek, Philippe & Cie’ ในปี 1845 นั่นเอง
ทั้งคู่ถือเป็นพาร์ทเนอร์ธุรกิจที่รู้ใจกัน และต่างคนก็มีความถนัดและทักษะที่ต่างกันทำให้ทั้ง 2 คนส่งเสริมซึ่งกันและกัน มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน โดย
ในยุคนั้นถือว่า ธุรกิจของพวกเขาเป็นไปได้ด้วยดี ทั้ง 2 ได้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับวงการนาฬิกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจดสิทธิบัตรนาฬิการะบบไขลานและตั้งเวลาด้วยเม็ดมะยมแทนกุญแจเรือนแรกของโลกซึ่งผลงานชิ้นนี้ของเค้า ได้สร้างชื่อเสียงอย่างมากให้กับบริษัท ซึ่งชิ้นส่วนหน้าปัดรุ่นแรกๆที่ออกมา ทางบริษัทได้มีการประทับตัวอักษร “PP” บนสินค้า เพื่อสร้างการจดจำ
และเหตุการณ์ที่จะเปลี่ยนโชคชะตาของ Patek Philippeไปตลอดกาล เมื่อนาฬิกาของพวกเค้า ได้ไปถูกตาต้องใจลูกค้าชนชั้นสูงไปจนถึงระดับราชวงศ์ โดย ผลงานที่สร้างชื่อของเค้า คือ การผลิตนาฬิกาขนาดเล็กของคุณสุภาพสตรี ซึ่งได้มีการถวายแก่ Queen Victoria แห่งอังกฤษ นาฬิกานี้ ใช้กลไก Keyless Steam-winding System
ระบบกลไกนาฬิกาแบบใหม่ของ Patek Philippeได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผลงานของเขาถือเป็นต้นแบบของกลไกนาฬิกาแทบจะทุกเรือนบนโลกในปัจจุบัน
โดย Patek Philippe ได้นำนวัตกรรมใหม่นี้ ออกแสดงสู่สายตามวลชนในงาน Great Exhibition ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี 1851 นั่นคือช่วงเวลาที่คนทั้งโลกได้เห็นถึงนวัตกรรม กลไกการตั้งเวลาด้วยเม็ดมะยม
คือ นาฬิกาแบบเดิมเนี่ย จะต้องใช้กุญแจแกะด้านหลังออกเพื่อตั้งเวลา ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นและน้ำเข้านาฬิกาบ่อยครั้ง ทําให้ Patek Philipe ได้คิดกลไกลขึ้นมา เพื่อเเก้ paint point ตรงนั้น
ในวันที่พวกเค้าประสบความสำเร็จในโซนยุโรปแล้ว คุณปาเต็ก ก็ได้เริ่มมองหาตลาดใหม่ ๆ อย่าง สหรัฐอเมริกา ที่สหรัฐอเมริกานี่เอง ที่คุณปาเต็กได้มีโอกาสพบ Charles Tiffany (ชาร์ล ทิฟฟานี) ผู้บริหารบริษัทเครื่องประดับเพชร แบรนด์ ทิฟฟานี แอนด์ โค (Tiffany & Co) และทำให้ทั้ง 2 บริษัท มีโอกาสได้จับมือทำธุรกิจร่วมกัน โดยทิฟฟานีสั่งทำนาฬิการุ่นพิเศษจำนวน 150 เรือน ในชื่อรุ่น Nautilus 5711 การร่วมมือในครั้งนี้ ทำให้ Patek Philippe เริ่มกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในฐานะนาฬิกาแบรนด์หรู
หลังจากนั้น ไม่นาน 2 founders Antoni Patek และ Adrien Philippe ก็ได้เสียชีวิต ธุรกิจของพวกเขาเลยถูกส่งต่อไปยังรุ่นลูก โดยกิจการPatek Philippe ตกอยู่ในมือของตระกูล Philippe เนื่องจากลูกขายของคุณปาเต็ก ปฏิเสธที่จะเข้ามารับช่วงกิจการต่อจากพ่อของเขา
แต่ว่าหลังจากนั้นไม่นาน สหรัฐได้เผชิญกับวิกฤติ The Great Depression วิกฤตตลาดหุ้นและเศรษฐกิจโลกตกต่ำในปี 1930 และแน่นอนว่าวิกฤตนี้ ส่งผลต่อบริษัท Patek Philippe เช่นกัน โดย Patek Philippe ตัดสินใจขายธุรกิจให้ Charles และ Jean Stern พี่น้องเจ้าของธุรกิจผลิตลานนาฬิกา Stern Frères ที่เป็นซัพพลายเออร์ของ Patek Philippe มาเป็นเวลานาน นี่จึงถือเป็นจุดเริ่มต้องของกิจการ Patek Philippe ภายใต้การบริหารของตระกูล Stern ที่สืบทอดมาจนถึงรุ่นสี่ในปัจจุบัน
แม้ว่าปัจจุบัน Patek Philippe จะตกอยู่ในมือเจ้าของอย่าง ตระกูล Stern แต่พวกเค้าก็ยังคงรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นอย่างดี และไม่ได้คิดเปลี่ยนชื่อแบรนด์ตามชื่อตระกูลของเค้า โดยตระกูล Stern มองว่า พวกเค้าเป็นเพียงแค่ Brand Guardian หรือ ผู้รักษาแบรนด์ เท่านั้น
ทำให้ Patek Philippe ผลิตนาฬิกาจำนวนจำกัดเพียงหลักหมื่นเรือนต่อปี เพราะนอกจากจะรักษาความ exclusive ของแบรนด์แล้ว ขั้นตอนการผลิตต้องทำมือด้วยความประณีตจากช่างยอดฝีมือเท่านั้น แต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาผลิตที่แตกต่างกัน เช่น รุ่น basic ใช้เวลาผลิต 9 เดือน ในขณะที่รุ่น Complicate อาจใช้เวลาผลิตถึง 2 ปี
นี่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า พอแบรนด์มีการ limited ในการซื้อ ความต้องการในตลาดก็จะมาก มูลค่าของนาฬิกา Patek Philippe ก็มีราคาสูงมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนำมาขายต่อในตลาดมือ 2 ราคาจะเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าได้เลยทีเดียว
อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ว่า Patek Philippe และ Tiffany & Co. เค้าเป็นพันธมิตรกันมานาน เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา เป็นการครบรอบ 70 ปี ทำให้พวกเค้าได้ออกนาฬิกาลิมิเต็ตอิดิชั่น โดย inspire มากจาก Nautilus 5711 เดิม โดยใช้ชื่อรุ่นว่า Tiffany-Blue Patek Philippe Nautilus 5711
ผลิตแค่ 170 เรือนทั่วโลก จำหน่ายอยู่ที่ 52,635 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 1,773,000 บาท แต่ว่า มีคนเอานาฬิกาเรือนนี้มาประมูล ปิดประมูลที่ราคา 6,503,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 218,583,000 บาท (ซึ่งกลายเป็นนาฬิกาที่แพงเป็นอันดับ 9 ของโลกในการประมูลเท่าที่เคยมีมา)
กรอบหน้าปัดทำจาก Stainless Steel พร้อมสายยางสีดำ
เข็มวินาทีและสเกลจับเวลาสีส้ม
Sport Watch ที่ดูมีความเรียบง่าย ตัวเรือนและสายทำจาก Stainless Steel พร้อมฟังก์ชัน Moon Phase
และนี่คือประวัติความเป็นมาของแบรนด์นาฬืกาหรูระดับโลก Patek Philippe ที่เริ่มต้นจากทหารชาวโปแลนด์ อพยพมาที่สวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนแห่งนาฬิกา ผ่านมาทุกความท้าทาย บทสอบของชีวิตจนถึงวันที่เค้าตายจากไป แต่แบรนด์นาฬิกาของเค้ายังคงรักษาความเลอค่าได้ แถมมูลค่ายังสามารถเพิ่มขึ้นทวีคูณ แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านมากว่า 185 ปีก็ตาม
อ้างอิง : Patek
รูปภาพ : Patek