สตาร์ทอัพ ในช่วงปีนี้ถือเป็นธุรกิจที่เริ่มมีกระแสแรงขึ้นต่อเนื่องหลังมี 2 ยูนิคอร์นของไทย แจ้งเกิดอย่างเป็นทางการทั้ง Flash Express กับ Bitkub ที่มีมูลค่ากิจการเกินต่อรายเกิน 3 หมื่นล้านบาทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จุดกระแสให้ในปีนี้ บริษัทจดทะเบียน(บจ.) ขนาดใหญ่หลายเจ้าต่างพาเหรดตั้งกองทุน มูลค่ากองทุนรวมกันประมาณ 41,200 ล้านบาท เพื่อมาลงทุนในสตาร์ทอัพทั้งในไทยและต่างประเทศซึ่งคาดหวังทั้งผลตอบแทนจากการลงทุนและต่อยอดธุรกิจเดิม
-ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ตั้งลงทุนไว้ที่ 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ ประมาณ 30,000 ล้านบาท เพื่อใช้รองรับการลงทุนลงทุนในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ รวมถึงซื้อกิจการเทคโนโลยีด้านการเงินหรือฟินเทค ทั้งในจีนและสิงคโปร์ เพื่อนำเทคโนโลยีมาต่อยอดในการให้บริการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจของลูกค้าธุรกิจทั้งกลุ่มขนาดเล็ก, กลาง และใหญ่ของธนาคารทั้งในประเทศ รวมถึงในต่างประเทศ
หลังปัจจุบันธนาคารกสิกรไทยขยายธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไปทั้งในจีน, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, กัมพูชา และลาว ดังนั้นนโยบายการลงทุนในสตาร์ทของกสิกรไทยจึงไม่ได้คาดหวังว่าจะมีกำไรจากการขายธุรกิจสตาร์ทอัพที่กิจการเติบโตออกมาในอนาคต
-บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR ได้ร่วมกับ กองทุน 500 Startups หรือ 500 TukTuks จัดตั้งกองทุนออร์ซอน เวนเจอร์ส หรือ ORZON Ventures มูลค่า หรือ ORZON Ventures ลงทุน 25-50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 825-1,650 ล้านบาท) เพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในระดับ Series A-B ที่เชี่ยวชาญด้าน Mobility และ Lifestyle ซึ่งเป็น Ecosystem ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจหลักที่ OR ต้องการเน้นขยายการลงทุนในอนาคต คาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะเข้าลงทุนได้ 2 ราย
-บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น(TRUE) กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น(TRUE) ประกาศจะตั้งกองทุนมูลค่าประมาณ 100-200 ล้านเหรียญสหรัฐ(3,300-6,000 ล้านบาท) ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย
-บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด ในเครือธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY ได้จัดตั้งกองทุนเพื่อลงทุนในสตาร์ทอัพ “ ฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ I” ซึ่งเป็นกองทุนสตาร์ทอัพครั้งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลค่า 3,000 ล้านบาท ระยะเวลาลงทุน 3 ปี
-บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ หรือ INTUCH ประกาศจะใช้เงินลงทุนประมาณ 365-580 บาท แบ่งเพื่อโครงการอินเว้นท์ (InVent) ไว้ระดับเดิมที่ 200-250 ล้านบาท ไม่นับรวมกับการลงทุนใน Venture Capital Fund ซึ่งจะมีงบลงทุนราว 5-10 ล้านเหรียญสหรัฐ(165-330 ล้านบาท) โดย INTUCH ถือเป็นบริษัทจดทะเบียน(บจ.) เจ้าแรกๆ ที่เข้าลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ ในช่วง 9 ปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันได้ลงทุนในสตาร์ทอัพทั้งหมด 27 ราย ณ เดือน มิ.ย ปีนี้ มีมูลค่าพอร์ตการลงทุนประมาณ 1,441 ล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 1,330 ล้านบาท