8 แบรนด์ในตำนาน...ที่ต้องปิดตัว
บรรยากาศวันสุดท้ายของหลายธุรกิจก่อนยุติกิจการ และเหลือทิ้งไว้เป็นตำนาน ทุกๆครั้งบรรดาแฟนคลับ ลูกค้าประจำของร้าน และประชาชน ต่างจะออกมาอุดหนุนสินค้าเป็นที่ระลึกและเพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำจำนวนมาก เหตุผลส่วนใหญ่ของการยุติกิจการก็มักจะมาจากสภาพของธุรกิจที่เผชิญกับผลประกอบการที่ย่ำแย่ หรือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางธุรกิจครั้งสำคัญ และถ้าหากเกิดขึ้นในช่วง 3 ปีนี้ก็เกิดจากผลกระทบของวิกฤติ โควิด 19
แบรนด์ล่าสุดที่ประกาศยุติกิจการนั่นคือ A&W ร้านอาหารดังที่อยู่ประเทศไทยมานานถึง 35 ปี มีทั้ง วาฟเฟิ้ล ไก่ทอด รูทเบียร์ ที่เป็นเมนูยอดฮิต แต่ภาระขาดทุนอันหนักอึ้ง ก็ทำให้ต้องยอมยุติกิจการไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม 2565 แต่หลังจากนี้อาจจะต้องจับตาดูกันต่อไปว่า จะมีทุนใหญ่รายไหนสนใจเข้าไปลงทุนต่อใน A&W อีกหรือเปล่า ซึ่งกระแสก็มีออกมาหลายบริษัทยักษ์ใหญ่อยู่เหมือนกัน เท่ากับ A&W อยู่ในประเทสไยมานานถึง 35 ปี
หากย้อนความเคลื่อนไหวของธุรกิจในตช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะพบว่า ธุรกิจร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ที่เก่าแก่หลายแห่งต้องโบกมือลาธุรกิจไปหลายแบรนด์ ทีมงาน SPOTLIGHT รวบรวมข้อมูล 8 แบรนด์ในตำนาน...ที่ต้องปิดตัว มีธุรกิจไหนบ้าง ไล่เรียงจากแบรนด์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด
สกาล่า 54 ปี
โรงภาพยนต์ สกาลา มีอายุเก่าแก่ถึง 54 ปี สัญลักษณ์ในย่านสยามสแควร์ ปิดกิจการไปเมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 ด้วยเหตุผลทางธุรกิจคือ จำนวนผู้เข้าชมภาพยนต์ลดลง จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในประเทศ ไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนการเช่าพื้นที่ได้ไหว แม้สัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2564 หนังเรื่องสุดท้ายที่ฉายในโรงภายนต์แห่งนี้คือ Cinema Paradiso รอบเวลา 18.00 น. ของวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
สำหรับอนาคตของพื้นที่โรงหนัง สกาล่า มีบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด(มหาชน)หรือ CPN เป็นผู้ได้รับสิทธิเช่าที่ดิน 30 ปี จากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(PMCU โดยจะเตรียมพัฒนาพื้นที่ให้เป็นโครงการมิกซ์ยูส จำนวน 1 อาคาร มีความสูงมากกว่า 20 ชั้น มูลค่าการลงทุนมากกว่า 5,000 ล้านบาท มีทั้ง โรงแรมรองรับนักธุรกิจ / ศูนย์การค้า 4-5 ชั้น อาคารสำนักงานและที่จอดรถ ซึ่งเป็นการออกแบบใหม่ทั้งหมด ทำให้บริษัทต้องทุบโรงหนังสกาลาและอาคารพาณิชย์อีก 79 คูหา เพื่อเคลียร์พื้นที่ว่างและสร้างอาคารใหม่ และมีการระบุว่า อาคารบางส่วนอาจจะสร้างแบบเดิมกับ โรงหนังสกาล่าด้วย
ลิโด้ 50 ปี
โรงภาพยนตร์ ลิโด้ อีกหนึ่งแลนด์มาร์คสำคัญย่านสยามสแควร์ เปิดกิจการตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2511 โดยเป็นโรงภาพยนตร์ความจุ 1,000 ที่นั่ง จุดเด่นคือ การฉายภาพยนตร์ทางเลือก หรือภาพยนตร์ที่กวาดรางวัลจากเวทีต่างๆ ทั่วโลก รวมถึงภาพยนตร์ญี่ปุ่นด้วย ปิดลงถาวร ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เหตุผลสำคัญคือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น การแข่งขันที่รุนแรง จึงทางเอเพ็กซ์ เจ้าของลิโด้จึงสิ้นสุดสัญญากับทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไดมารู 36 ปี
เด็กรุ่นใหม่จำนวนมากอาจจะไม่รู้จักห้างสรรพสินค้า “ไทยไดมารู” แต่สำหรับรุ่นคุณพ่อคุณแม่ ต้องร้องรู้จักแน่นอน ถือได้ว่า เป็นห้างสรรพสินค้าแห่งแรกของเมืองไทยเลยที่มี บันไดเลื่อน เปิดบริการครั้งแรกในเดือนธันวาคม ปีพ.ศ.2507 อยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามห้างสรรพสินค้าเซนทรัลเวิร์ล แยกราชประสงค์หรือ บิ๊กซี ราชดำริ ในปัจจุบัน
ไทไดมารู เป็นห้างสรรพสินค้าที่ประสบความสำเร็จมากในสมัยนั้น แนวคิดแบบห้างสรรพสินค้าจากญี่ปุ่นที่เปิดขึ้นเพื่อรองรับชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่หลังจากที่ประเทศไทยประสบกับปัญหาเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2540 ปี พ.ศ. 2541 ไดมารู อิงค์ จากญี่ปุ่น จึงตัดสินใจขายหุ้นบริษัทไทยดีเอ็มอาร์ รีเทล ให้กับผู้ลงทุนชาวไทย คือ กลุ่มพรีเมียร์ ในเครือโอสถานุเคราะห์ แต่ให้สิทธิ์ชุดผู้บริหารให้ใช้ชื่อ ไดมารู ได้ แต่หลังจากนั้น 2 ปี การดำเนินการยังไม่ดี กลุ่มพรีเมียร์จึงตัดสินใจไม่ต่อสัญญาอีกต่อไป ปิดตำนานไทดามารู ในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543
เอแอนด์ดับบลิว 35 ปี
ร้านอาหารเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองไทยมา 35 ปี ปิดกิจการไปเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2565 โดยบริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้รับสิทธิบริหารร้าน “เอแอนด์ดับบลิว” ในประเทศไทย ระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ที่คลอบคลุมเวลายาวนานมากว่า 2 ปี ส่งผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจร้านอาหารเนื่องจากการปิดห้างสรรพสินค้ารวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ด้วยเหตุดังกล่าวบริษัทจึงมีผลการดำเนินงานขาดทุนมาโดยตลอด ฝ่ายบริหารเห็นว่าบริษัทไม่สามารถรับผลขาดทุนต่อไปได้ จึงตัดสินใจหยุดดำเนินกิจการร้านอาหารในส่วนของ A&W
โตคิว 35 ปี
ห้างโตคิว ห้างสัญชาติญี่ปุ่น ปิดตัวสาขามาบุญครองลงในเดือน มกราคม 2564 หลังประสบปัญหากิจการย่ำแย่ จากสถานการณ์โควิด 19 เช่นกัน จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงกระทบกิจการแบบเต็มๆ
อิเซตัน 28 ปี
ห้างสรรพสินค้า อิเซตัน อยู่คู่คนไทยมากว่า 28 ปี โดยบริษัท อิเซตัน (ประเทศไทย) จำกัด สิ้นสุดสัญญาเช่ากับบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ในวันที่ 31 สิงหาคม 2563
คาร์ล จูเนียร์ 10 ปี
ร้านแฮมเบอร์เกอร์สัญชาติอมเริกัน คาร์ล จูเนียร์ ภายใต้บริษัท อาร์แอนด์อาร์ เรสทัวรองท์ กรุ๊ป จำกัด ผู้ถือสิทธิ์ร้าน Carl’s Jr. (คาร์ลซ จูเนียร์) ในประเทศไทย ปิดให้บริการทุกสาขาภายในสิ้นเดือน มีนาคม 2565 บริษัทพยายามประคองธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 แต่สุดท้ายร้าน Carl’s Jr. ไม่สามารถไปต่อได้ ผลประกอบการขาดทุนต่อเนื่องก่อนโควิด 19 มาเยือน และหนักมากขึ้นเมื่อต้องเจอสถานการณ์โควิด
โดยช่วงต้นปี 2564 ทางร้านมี 6 สาขา และหลังจากปิดสาขาทั้งหมด จะมีการจ่ายค่าชดเชยพนักงาน และย้ายพนักงานบางส่วนไปทำงานในธุรกิจอื่น อย่างไรก็ตาม CKE Restaurants Holdings เจ้าของแฟรนไชส์ร้านอาหารจากสหรัฐฮเมริกา Carl’s Jr. และ Hardee’s กลับมีสาขาที่บริหารเอง และขายสิทธิ์แฟรนไชส์กว่า 3,800 แห่ง ในสหรัฐอเมริกา และอีก 43 ประเทศทั่วโลก โดยในอาเซียน Carl’s Jr. ยังมีสาขาที่ประเทศสิงคโปร์อยู่
มารุกาเมะ เซเมง 10 ปี
ร้านอาหารญี่ปุ่นชื่อดัง "มารุกาเมะ เซเมง" ประกาศยุติกิจการทุกสาขาในไทย สิ้นเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งMarukame Seimen เป็นร้านอุด้งชื่อดังจากญี่ปุ่น ที่มีสาขามากถึงราว 900 แห่งทั่วโลก เริ่มเข้ามาเปิดสาขาแรกในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2555 โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง กลุ่มบริษัทบูทิค และบริษัท โทริดอลล์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีการขยายสาขาหลายสิบแห่งในประเทศไทย ก่อนที่ในหลายปีหลังจะมีการทยอยปิดสาขาหลายแห่งลง และเหลือเพียง 4 แห่งที่ให้บริการจนกระทั่งปิดกิจการในสิ้นเดือนมีนาคมนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปิดกิจการอีกราย ร้านญี่ปุ่นชื่อดัง "มารุกาเมะ เซเมง"
รู้จัก A&W ก่อนเตรียมโบกมือลาไทย