กรณีทุจริตหุ้น STARK ที่สร้างความเสียหายให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน สถาบันการเงิน คู่ค้า กว่า 38,000 ล้านบาท ที่เป็นข้อกังขาถึงความล่าช้าในการดำเนินการของทางการที่จะจัดการกับพวกทุจริตที่สร้างความเสียหายมากขนาดนี้
ก.ล.ต.เองเพิ่งมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของผู้กระทำผิด กรณี STARK 10 ราย ซึ่งเป็นชุดแรก และสั่งห้าม 5 บุคคลออกนอกประเทศ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
ด้าน DSI ยึดรถหรู 4 คันของ 'ชนินทร์ อดีตบิ๊ก STARK' หลังเข้าตรวจค้นสถานที่ 15 จุด พร้อมเตือนผู้ครอบครองให้ส่งมอบ หากซุกซ่อน จ่อฟันข้อหาฟอกเงิน พร้อมออกหมายเรียก 'วนรัชต์ ทายาทสี TOA' กับพวกรวม 10 ราย เข้าให้การในฐานะพยาน หลัง ก.ล.ต. ร้องเอาผิด
โดยคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ยื่นคำร้องขอหมายค้นต่อศาลอาญารวมจำนวน 15 จุด เพื่อค้นหาพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน และยึดสิ่งของมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ การเข้าตรวจค้นบริษัทจำนวน 5 จุด ได้แก่
เป็นบริษัทที่พบการทำธุรกรรมในทางบัญชีและการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก และเข้าตรวจค้นบ้านซึ่งเป็นที่พักอาศัยและที่มีชื่อของผู้ต้องสงสัยและผู้ที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ครอบครองรวมจำนวน 10 จุด
ด้าน ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือ ปปง. รวมถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในการขยายผลในการตรวจสอบผู้กระทำความผิดในหุ้น STARK และหากผลการกระทำความผิดก็จะมีการกล่าวโทษเพิ่มเติม
“ก.ล.ต.ทำงานร่วมกันผู้ที่เกี่ยวข้องในการสอบสวนหาผู้ที่กระทำความผิดในกรณี STARK เพิ่มเติม ซึ่งเราดูในหลายส่วน ทั้งในด้านที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชี รวมถึงการสร้างราคาหุ้น” นายธวัชชัย พิทยโสภณ รองเลขาธิการ และรักษาการเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ที่ผ่านมา ก.ล.ต. มีคำถามถึงการตรวจสอบผู้สอบบัญชี ซึ่งต้องแยกเป็น 2 ส่วน โดยดำเนินการตรวจสอบผู้สอบบัญชีที่อยู่ภายใต้การดูแลของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งหลักฐานในชั้นนี้ยังไปไม่ถึง ในกรณีทั่วหากผู้สอบบัญชีที่อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงาน สามารถดำเนินการได้ทันที
แต่บริษัทย่อยหรือบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ หรือ ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของ ก.ล.ต.นั้น ก.ล.ต.ก็จะดำเนินการตรวจสอบเช่นกัน และหากพบการกระทำความผิดจะประสานงานกับ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อดำเนินการลงโทษต่อไป
ขณะที่ DSI เร่งติดตามรายการทรัพย์สินที่เหลือ เพื่อดำเนินการอายัด ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เสียหายให้มากที่สุด ขอให้สังคมและผู้เสียหายไว้วางใจว่าดีเอสไอไม่ได้นิ่งเฉย เพราะเวลาที่ยังไม่ถึง 1 เดือน เราสามารถแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหา และทำการอายัดทรัพย์บางส่วน ขณะนี้ยังคงอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานทุกชิ้น ก่อนนำมาพิจารณาประกอบการแจ้งข้อกล่าวหาแก่บุคคลอื่นๆที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการโกงหุ้นสตาร์ค
ก.ล.ต.ได้กล่าวโทษบุคคล รวม 10 ราย เป็นชุดแรก ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ให้ดำเนินคดีกรณีตกแต่งงบการเงิน เปิดเผยข้อความอันเป็นเท็จในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายตราสารหนี้ และกระทำโดยทุจริตหลอกลวง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากประชาชนผู้ถูกหลอกลวง อันเข้าข่ายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้แก่
ทั้งนี้ ก.ล.ต. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาศัยอำนาจตามความมาตรา 267 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ได้มีคำสั่งยึดอายัดทรัพย์สินของผู้กระทำผิดชุดแรก รวม 10 รายดังกล่าว เป็นเวลา 180 วัน เนื่องจากปรากฏพฤติการณ์การกระทำผิดที่มีลักษณะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ของประชาชนในวงกว้าง โดยปรากฏมูลค่าความเสียหายจากหนี้สินของบริษัท STARK ที่มีมากกว่า 38,000 ล้านบาท และมีพฤติการณ์อันควรเชื่อได้ว่าผู้กระทำความผิดจะยักย้ายหรือจำหน่ายทรัพย์สินออกไป
พร้อม คณะกรรมการ ก.ล.ต. ยังมีคำสั่งห้ามออกนอกประเทศ เป็นระยะเวลา 15 วัน จำนวน 5 ราย ดังนี้
การสั้งห้ามมิให้ออกนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว มีกำหนด 15 วัน เนื่องจากมีเหตุฉุกเฉินอันควรสงสัยว่าบุคคลดังกล่าวจะหลบหนีออกนอกราชอาณาจักร โดยหลังจากนี้ ก.ล.ต.จะไปร้องขอต่อศาลอาญาเพื่อออกคำสั่งห้ามมิให้บุคคลดังกล่าวออกนอกราชอาณาจักรต่อไป
“ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการตรวจสอบพยานหลักฐานเพื่อขยายผลการดำเนินคดีเพิ่มเติมกับผู้เกี่ยวข้องการทุจริต บมจ.สตาร์ค คอร์ปอเรชั่น (STARK) ทั้งเรื่องผู้สอบบัญชี การปั่นราคาหุ้น การเผยแพร่ข้อมูลเท็จ รวมทั้งการใช้ข้อมูลภายใน มั่นใจจากพยานหลักฐานสามารถดำเนินการได้ถึงที่สุด” นายธวัชชัย พิทยโสภณ รองเลขาธิการ และรักษาการเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าว
โดยก.ล.ต.จะทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) รวมทั้ง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
สำหรับการดำเนินคดีกับผู้สอบบัญชีนั้น ก.ล.ต. แยกเป็น 2 ส่วน คือ
อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต.พยายามชี้แจงว่า การดำเนินการตั้งใช้ระยะเวลา เพื่อให้สามารถหลักฐานเพียงไปในการกล่าวโทษ ยังชี้แจงถึงการกล่าวโทษและออกคำสั่งอายัดทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหุ้น STARK ล่าช้าว่า ตามมาตรา 267 แห่งพ.ร.บ. หลักทรัพย์ มีแนวทางกำหนดขั้นตอนการใช้มาตรการเอาไว้ หากมีเหตุอันสงสัยเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการกล่าวโทษ ก.ล.ต. ต้องรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอสำหรับการกล่าวโทษและอายัดทรัพย์ ซึ่งการอายัดทรัพย์สินได้อายัดทรัพย์ทุกประเภทรวมทั้งหุ้น TOA ของนายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ หนึ่งในผู้ที่ถูกกล่าวโทษ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ STARK ด้วย
สำหรับการห้ามผู้ถูกกล่าวโทษเดินทางออกนอกประเทศเป็นเวลา 15 วันนั้น ก.ล.ต. สามารถยื่นขอศาลอาญาเพื่อขยายระยะเวลาออกไปได้อีก 1 ครั้ง ส่วนกรณีที่มีรกระแสข่าวว่า หนึ่งในผู้ถูกกล่าวโทษหลบหนีออกไปนอกประเทศแล้ว เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในการดำเนินการติดตามตัวผู้กระทำผิด
สำหรับพนักงานของ เฟ้ลปส์ ดอด์จ กว่า 100 คนเข้ามายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมที่ ก.ล.ต.นั้น นางพัฒนพร ไตรพิพัฒน์ ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า แม้จะมีการอายัดทรัพย์ไว้ แต่ตัวบริษัทยังสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ และจ่ายเงินเดือนพนักงานได้ เพราะการอายัดทรัพย์ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม หนึ่งในตัวแทนพนักงานที่มายื่นคำร้องต่อ ก.ล.ต.ระบุว่า คำสั่งกล่าวโทษและอายัดทรัพย์ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของคู่ค้า เฟ้ลปส์ ดอด์จ โดยคู่ค้าได้ยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าจากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และลูกค้าทั่วไปได้ยกเลิกออเดอร์เกือบทั้งหมด กระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้มาร้องขอความเป็นธรรม
ภายหลังจาก DSI ได้เข้าตรวจค้นสถานที่ 15 จุด ได้ยึดรถหรู 4 คันของ 'ชนินทร์ อดีตบิ๊ก STARK' พร้อมเตือนผู้ครอบครองให้ส่งมอบ หากซุกซ่อน จ่อฟันข้อหาฟอกเงิน พร้อมระบุ ออกหมายเรียก 'วนรัชต์ ทายาทสี TOA' กับพวกรวม 10 ราย เข้าให้การในฐานะพยาน หลัง ก.ล.ต. ร้องเอาผิด
เมื่อ 7 ก.ค.ที่ผ่านมา พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ มอบหมายให้ น.ส.พิทยาภรณ์ ชูรัตน์ รองโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงความคืบหน้า กรณีคดีพิเศษที่ 57/2566 หรือ คดีมหากาพย์โกงหุ้น ภายหลังจากอธิบดีดีเอสไอ พร้อมด้วยคณะพนักงานสอบสวน กองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงิน ร่วมกันเข้าตรวจค้นบ้านพักและสถานที่ของผู้บริหาร บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติม ก่อนนำไปประกอบสำนวนคดี
สำหรับไทม์ไลน์การสอบสวนคดี STARK เริ่มต้นรับเป็นคดีพิเศษเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.
วันที่ 3 ก.ค. ออกหมายเรียกผู้ต้องหา "นายชนินทร์ เย็นสุดใจ"
วันที่ 5 ก.ค. ออกหมายจับนายชนินทร์ โดยมี ก.ล.ต. เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ
วันที่ 6 ก.ค. คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ยื่นคำร้องขอหมายค้นต่อศาลอาญารวมจำนวน 15 จุด เพื่อค้นหาพยานหลักฐานประกอบการสอบสวน รวมถึงเพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยผิดกฎหมาย
โดยเป็นการเข้าตรวจค้นบริษัทจำนวน 5 จุด ได้แก่
โดยเป็นการพบบริษัทที่พบการทำธุรกรรมในทางบัญชีและการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก และเข้าตรวจค้นบ้านซึ่งเป็นที่พักอาศัยและที่มีชื่อของผู้ต้องสงสัยและผู้ที่มีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับผู้ต้องสงสัยเป็นผู้ครอบครองรวมจำนวน 10 จุด
สำหรับผลการตรวจค้นนั้น คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้พบและยึดสิ่งของที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในการสอบสวนทั้งเอกสารการทำธุรกรรมต่าง ๆ ในบริษัท สตาร์คฯ และบริษัทในเครือ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์ และเอกสารหลักฐานพยานวัตถุอื่น ๆ เป็นพยานหลักฐานที่จะประกอบการสอบสวนและพิสูจน์ถึงพฤติการณ์อันมีลักษณะทุจริต
รวมถึง ขยายผลไปถึงบุคคลอื่นที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด รวมทั้งได้พบและยึดเงินสด อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดไว้เพื่อทำการตรวจสอบ
สำหรับรายการทรัพย์สินของนายชนินทร์ เย็นสุดใจ ที่ดีเอสไอได้มีการอายัดนั้น มีดังนี้
รถยนต์หรูทั้ง 4 คันนี้ ดีเอสไอฝากประชาสัมพันธ์ไปยังบุคคลที่ครอบครองในปัจจุบันว่า ขอให้ส่งมอบมาที่ดีเอสไอโดยเร็ว มิเช่นนั้น จะถูกแจ้งข้อหาร่วมกันฟอกเงินได้
ส่วนถ้าประชาชนรายใดรู้เบาะแสของรถทั้ง 4 คัน สามารถแจ้งมายังดีเอสไอได้ทั้งการแจ้งผ่านเว็บไซต์กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ แจ้งผ่านสายด่วนของดีเอสไอ เบอร์ 1202
"การเลื่อนหมายเรียกผู้ต้องหาของนายชนินทร์ที่แจ้งมายังดีเอสไอ ระบุเพียงว่า ติดภารกิจ แต่ยังไม่มีการระบุวันเวลาที่จะเข้าพบพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด และขณะนี้ทราบเบื้องต้นว่านายชนินทร์หลบหนีหมายจับของศาลอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์นั้น ดีเอสไอจึงขอฝากถึงนายชนินทร์ให้กลับมาที่ประเทศไทยเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และยังสามารถใช้สิทธิผู้ต้องหาตามกฎหมายได้ อาทิ การเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา”
อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้าพนักงานสอบสวน กองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงิน เตรียมออกหมายเรียกผู้ต้องหาแก่เลขานุการของนายชนินทร์ (น.ส.ยสบวร อำมฤต) เพื่อเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเช่นเดียวกัน
ส่วนข้อซักถามถึงการอายัดทรัพย์ของนายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ทายาทสี TOA และในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสตาร์คหรือไม่ เนื่องจาก ก.ล.ต. ได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อบุคคล 10 รายกับดีเอสไอ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีนายวนรัชต์รวมอยู่ด้วยนั้น
รองโฆษกดีเอสไอ กล่าวว่า ทราบจากพนักงานสอบสวน เบื้องต้นได้มีการออกหมายเรียกตามรายชื่อบุคคลและนิติบุคคลทั้ง 10 รายในฐานะพยานเรียบร้อยแล้ว ส่วนกำหนดนัดหมายวันเวลา จำเป็นต้องขอสงวนการเปิดเผย เนื่องจากความปลอดภัยของพยาน
“เรามีการเร่งติดตามรายการทรัพย์สินที่เหลือ เพื่อดำเนินการอายัด ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้เสียหายให้มากที่สุด ขอให้สังคมและผู้เสียหายไว้วางใจว่า ดีเอสไอไม่ได้นิ่งเฉย เพราะเวลาที่ยังไม่ถึง 1 เดือน เราสามารถแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหา และทำการอายัดทรัพย์บางส่วน ขณะนี้ยังคงอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานทุกชิ้น ก่อนนำมาพิจารณาประกอบการแจ้งข้อกล่าวหาแก่บุคคลอื่นที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการโกงหุ้นสตาร์ค” รองโฆษกดีเอสไอ
นอกจากนี้ ยังมีรายงานข่าวเพิ่มเติมว่า คณะพนักงานสอบสวน กองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงิน ได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการสรุปสำนวนคดีทุจิตหุ้นสตาร์ค ภายในเวลา 3 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จ นำส่งพนักงานอัยการสั่งฟ้องได้ในเดือนกันยายนนี้.
นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ ผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK) ออกแถลงการณ์ระบุว่า การที่ถูกอายัดทรัพย์ทำให้กระบวนการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจของ STARK หยุดชะงักไปต่อไม่ได้ ต้องหยุดการผลิต พนักงานเดือดร้อน ถูกคู่ค้าขึ้นแบล็คลิสต์ กิจการอาจต้องล้มละลาย จ่อโดนฮุบในราคาถูก ๆ ไม่มีเงินไปคืนผู้ถือหุ้นและผู้ถือหุ้นกู้
ที่มา : ก.ล.ต., DSI
“เสี่ยเอ” ร่อนแถลงการณ์โวยถูกอายัดทรัพย์ทำหนทางแก้ปัญหา STARK พังรอวันล้มละลาย