ธุรกิจการตลาด

Bangkok Airways ตั้งเป้าปี 67 โกยรายได้ 1.8 หมื่นล้านบาท ท่องเที่ยวสดใสฟื้นตัวใกล้ก่อนโควิด-19

31 มี.ค. 67
Bangkok Airways ตั้งเป้าปี 67 โกยรายได้ 1.8 หมื่นล้านบาท ท่องเที่ยวสดใสฟื้นตัวใกล้ก่อนโควิด-19

929047

มรสุมอย่างหนักจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้อุตสาหกรรมการบินได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จนทำให้หลายสายการบินต้องมีการปรับแผนธุรกิจเพื่อให้รอดพ้นจากสภาพธุรกิจขาดทุนในครั้งนี้

บทความนี้ SPOTLIGHT เปิดแผนธุรกิจของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ที่ผ่านเส้นทางธุรกิจอันแสนโชกโชน หลังโควิด-19 ธุรกิจปรับตัวอย่างไร รวมถึงหัวใจหลักที่ทุกสายการบินกำลังต้องเร่งเปลี่ยนแปลงคือ ธุรกิจการบินบนเป้าหมายด้านการความยั่งยืน หรือ  Low Carbon Skies

มั่นใจปี 67 ท่องเที่ยวฟื้นตัวกลับมาสดใส หลังภาครัฐส่งเสริม

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมการบินโลกและการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) ได้มีการสรุปรายได้สายการบินทั่วโลกปี 2566 อยู่ที่ 107% ของปี 2562 (ปีก่อนสถานการณ์โควิด) ซึ่งนั่นแปลว่า ฟื้นตัวดีกว่าตอนก่อนโควิดแล้ว และคาดการณ์ว่าระดับอุตสาหกรรมการบินโลกและระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะฟื้นกลับมาในปี 2567 ซึ่งถือเป็นภูมิภาคที่มีการคาดการณ์อัตราการเติบโตสูงสุด โดยจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 2,536 ล้านคนจากปี 2567 - 2583

สำหรับประเทศไทย จากสถิติผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินในประเทศทั้งหมด ในปี 2566 จะอยู่ที่ 74% ของปี 2562 แบ่งเป็น การเดินทางภายใน ประเทศอยู่ที่ 80% และ การเดินทางระหว่างประเทศอยู่ที่ 68%

โดยมีปัจจัยที่สำคัญซึ่งเป็นแรงผลักดันจากภาครัฐบาล เช่น การยกเว้นวีซ่าให้กับบางสัญชาติ การส่งเสริมการเที่ยวเมืองรอง การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มในไทย

659643

ผ่าแผนการดำเนินงานบางกอกแอร์เวย์ส ปี 67 ตั้งเป้ารายได้ 17,800 ล้านบาท

  • เพิ่มจำนวนเที่ยวบินเป็น 48,000 เที่ยวบิน (+7% YoY)
  • อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (%Load Factor) เพิ่มเป็น 85%
  • จำนวนผู้โดยสารแตะ 4.50 ล้านคน (+13% YoY)
  • ราคาบัตรโดยสารเฉลี่ย 3,900 บาทต่อเที่ยวบิน (+4% YoY)
  • อัดฉีดโปรโมชั่นกระตุ้นการเดินทางทุกเทศกาล
  • รุกตลาดต่างประเทศใหม่ๆ เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ละตินอเมริกา ตรุกี รวมถึงซาอุดิอารเบีย  และ ขยาย GSA ให้มี 26 สำนักงานทั่วโลก
  • รวมรายได้ผู้โดยสาร 17,800 ล้านบาท (+20% YoY)

สำหรับปี 2567 ผู้โดยสารมีแนวโน้มการสำรองที่นั่งล่วงหน้าเติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ประมาณ 14%  โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ ที่รัฐบาลจัดมหาสงกรานต์เฟสติวัล ทำให้มียอดโหลดแฟกเตอร์อยู่ที่ 60-70% ดีกว่าปี 2566 มีสัดส่วนตามกลุ่มเส้นทางได้แก่ กลุ่มเส้นทาง
สมุย 63% กลุ่มเส้นทางภายในประเทศ 28% กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน CLMV 8% และเส้นทางต่างประเทศ 1% ส่วน

663761

กลับมาทำกำไรปี  66 แต่ยังแบกรับค่าใช้จ่ายหนัก

นายอนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายงานการเงินและบัญชี บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สำหรับผลการดำเนินการด้านการเงินของปี 2566 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีรายได้ต่อหน่วยจากการผลิตด้านผู้โดยสาร (Revenue per ASK: RASK) ที่ 5.41 บาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ที่ 5.14 บาท จึงมีสัดส่วนกำไร เท่ากับ 0.27 บาทโดย บริษัทฯ มีส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายหลัก ได้แก่ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุงเครื่องบิน เงินเดือนพนักงานและผลประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงค่าบริการผู้โดยสารของบางกอกแอร์เวย์สที่มีการให้บริการแบบฟูลเซอร์วิส

ภาพรวมผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของบริษัทฯ ในปี 2566 เท่ากับ 4,782 ล้านบาท และ EBITDA Margin เท่ากับ 23% ทั้งนี้  บริษัทฯ มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 3,108 ล้านบาทบนงบการเงินรวม โดยสำหรับด้านอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัท ในปี  2566 นี้ปรับลดลงที่ 2.4 เท่า

ปัจจุบันสายการบินบางกอกแอร์เวย์สให้บริการเที่ยวบินใน 20 จุดหมายปลายทาง แบ่งเป็น

ในประเทศ 12 จุดหมาย เช่น กรุงเทพฯ เกาะสมุย เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ ต่างประเทศ 8 จุดหมาย เช่น มัลดีฟส์ สิงคโปร์ เสียมเรียบ พนมเปญ หลวงพระบาง ในจำนวนนี้มี 2 เส้นทางบินล่าสุดที่บางกอกแอร์เวย์สเพิ่งกลับมาเปิดเส้นทางอีกครั้ง คือ “สมุย-ฉงชิ่ง” และ “สมุย-เฉิงตู”  และมีสนามบินภายใต้การดูแลของบริษัทถึง 4 แห่งด้วยกัน ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินสมุย สนาบินสุโขทัย และ สนามบินตราด

บางกอกแอร์เวย์สมีเครื่องบินประจำฝูงบินทั้งหมด 39 ลำ ประกอบไปด้วย 

  • เครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-500 จำนวน 5 ลำ
  • เครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-600 จำนวน 10 ลำ
  • เครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 319 จำนวน 15 ลำ
  • เครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 320 จำนวน 9 ลำ

914181

ส่องธุรกิจอื่นๆนอกเหนือจากการบิน

  • ธุรกิจอาหาร : บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (Bangkok Air Catering : BAC)

โดยปี2566 มีจำนวนลูกค้าสายการบิน 23 ราย (ลดลง 3ราย เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19) ปัจจุบันมีมาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ 20% คิดเป็นจำนวนอาหารที่เอาขึ้นเครื่อง 6 ล้านมื้อ/เดือน รายได้ 81%

  • ธุรกิจบริการภาคพื้นดิน : บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (BFS Ground)

มีจำนวนลูกค้าสายการบินทั้งหมด 90 ราย และมีรายได้อยู่ในระดับ 93% จากปี 2562

  • ธุรกิจคาร์โก้ : บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด (BFS Cargo)

มีลูกค้าสายการบินรวม 86 สายการบิน มีลูกค้ามาใช้บริการเพิ่ม 10%

ย่างเข้าสู่ปีที่ 56 ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส

สายการบินบางกอกแอร์เวย์สก่อตั้งโดยนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เมื่อปีพ.ศ. 2511 ภายใต้แผนกการบินของ บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด หลังจากนั้น ในปี 2527 ได้ก่อตั้ง บริษัท สหกลแอร์ จำกัด ขึ้น เพื่อรับโอนกิจการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงแผนกการบินจากบริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด และในภายหลัง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด”

364446
เปิดผลประกอบการบางกอกแอร์เวยส์ ย้อนหลัง 5 ปี

ปี 2561

รายได้รวม : 23,430,265,937 บาท

กำไรสุทธิ : 239,518,153 บาท

ปี 2562

รายได้รวม : 23,813,559,002 บาท

กำไรสุทธิ : 332,752,106 บาท

ปี 2563

รายได้รวม : 8,430,709,463 บาท

ขาดทุนสุทธิ : -5,220,008,915 บาท

ปี 2564

รายได้รวม :  -1,911,201,659 บาท

ขาดทุนสุทธิ  : -9,295,450,948 บาท

ปี 2565

รายได้รวม : 10,492,049,947 บาท

ขาดทุนสุทธิ : -2,147,715,043 บาท

201117เดินหน้าสนับสนุนความยั่งยืน Low Carbon Skies

อีกหนึ่งกระแสหลักของโลกคือ การดำเนินธุรกิจด้วยการความยั่งยืน ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมการบิน ถูกมองว่า เป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำลายสิ่งแวดล้อมของโลกใบนี้ ทำให้ปัจจุบันหลายสายการบินปรับตัวและหันมาศึกษาเชื้อเพลิงชีวภาพ รวมถึงการดำเนินการบินแบบที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 

สำหรับบางกอกแอร์เวย์ส มีการออกแคมเปญ “Low Carbon Skies by Bangkok Airways” ได้ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านการดำเนินงานตั้งแต่ในส่วนของสนามบินภายใต้การบริหารงานทั้ง 3 แห่ง คือ สมุย สุโขทัย ตราด ให้มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การวางแผนใช้น้ำมันอากาศยานที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องตามแนวทางของบริษัทฯ การลดใช้พลาสติกในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และนำเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากการรีไซเคิลขวดพลาสติกมาใหม่เป็นของที่มีคุณค่า เช่น

  • เสื้อวิ่งรายการบูทีคซีรี่ย์ 

  • การนำยูนิฟอร์มเก่ามาอัพไซคลิ่งเป็นผ้ากันเปื้อนสำหรับพนักงานที่ให้บริการในเลานจ์ 

  • การสนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้า – พลังงานหมุนเวียนในสนามบินด้วยแนวคิด Go Green On Ground และเตรียมพิจารณาเปลี่ยนอุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นที่ใช้งานภายในสนามบินเป็นแบบไฟฟ้า

ล่าสุดได้รับการพิจารณาผ่านเกณฑ์ประเมินสำหรับรางวัลการันตี "ดาวแห่งความยั่งยืน" ระดับ 5 ดาว ในโครงการ STAR : Sustainable Tourism Acceleration Rating โดย ททท. อีกด้วย


 

 

 

 

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT