กรีซได้ชื่อว่าเป็น Staycation Nation เป็นจุดหมายปลายทางช่วงฤดูร้อนของนักท่องเที่ยวยุโรป โดยเฉพาะเยอรมันและสหราชอณาจักรที่ต้องการมาพักผ่อนในทะเลน้ำใสใกล้บ้านเกิด ทำให้ในปี 2024 กรีซรับนักท่องเที่ยวสูงถึง 35.9 ล้านคนจากทั่วโลก ทำรายได้ให้ประเทศกว่า 2,170 ล้านยูโร (ราว 819 ล้านบาท) หรือ 19 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ประเทศ
แต่เพราะการท่องเที่ยวที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ของกรีซ ประเทศต้องเผชิญผลกระทบตามมามากมาย จนเกิดคำถามว่า การท่องเที่ยวเป็นพรหรือคำสาปของกรีซกันแน่?
จำนวนนักท่องเที่ยวในกรีซเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี จาก 27.84 คนในปี 2022 สู่ 32.74 คนในปี 2023 และสู่ 35.9 ล้านคนในปี 2024 ประเทศท่องเที่ยวประเทศนี้จึงกางแผงเตรียมเพิ่มภาษีนักท่องเที่ยวรับปี 2025 เพื่อจัดสรรงบดูแลด้านต่างๆ ของประเทศที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวทิ้งผลร้ายเอาไว้
จำนวนนักท่องเที่ยวทำให้หมู่เกาะต่างๆ ของกรีซเร่งสร้างโรงแรม รีสอร์ท ที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนชั่วคราว กดดันคนท้องถิ่นให้ย้ายที่อยู่เพื่อเปลี่ยนพื้นที่เป็นพื้นที่รองรับผู้มาเยือนชั่วคราว หรือไม่ค่าเช่าที่อยู่อาศัยพุ่งสูง
นอกจากนี้การทำลายอาคารแบบเดิมเพื่อเปลี่ยนเป็นรีสอร์ทพร้อมกันมาก ๆ ยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ทำลายที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เป็นการตัดไม้ทำลายป่า และสร้างความสูญเสียด้านนิเวศวิทยา ซึ่งรัฐบาลกรีซเคยออกมาเตือนเรื่องการพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งและพื้นที่โบราณสถาน พื้นที่ที่ถูกกดดันให้ต้องพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวมากที่สุดคือ เอเธนส์ ไมโคนอส และซานโตรินี
การให้ความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวไม่ได้หมายถึงแค่ที่อยู่อาศัย แต่หมายรวมถึงการใช้น้ำ โดยเฉพาะทรัพยากรน้ำในเกาะ รายงานจาก Watchdog ชี้ว่า การใช้น้ำและการก่อสร้างที่อยู่อาศัยใหม่อาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำทั้งสำหรับนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่น เกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมไปอย่างซานโตรินี่ โรดส์ และตรีต ปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาการพึ่งพาทรัพยากรน้ำในเกาะที่เพิ่มขึ้น
ถัดจากเกาะคือพื้นที่ชายฝั่งและระบบนิเวศทางทะเล ต่างได้รับมลภาวะจากการมาเยือนของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก การสร้างอาคารริมชายหาดทำให้เกิดความเสี่ยงการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงการสรรจรของเรือนี่หนาแน่นสร้างมลพิษให้แก่สัตว์น้ำบริเวณชายฝั่ง ทำลายความหลากหลายทางทะเล
นอกจากนี้กรีซยังเผชิญปัญหาอื่นๆ อย่างการจัดการขยะที่ล้นจากนักท่องเที่ยวล้นเมือง และทรัพยากรธรรมชาติที่หมดลงอย่างรวดเร็ว และจำนวนนักท่องเที่ยวในแหล่งโบราณสถานที่อาจส่งผลต่อมรดกวัฒนธรรม
ปีนี้กรีซเป็นประเทศล่าสุดที่พิจารณาปรับภาษีท่องเที่ยวครั้งใหญ่ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยคิดภาษีท่องเที่ยวยังยืนปี 2568 อยู่ที่
นอกจากนี้ยังมีภาษีแท็กซี่ ภาษีเรือ และภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมาเยือนของนักท่องเที่ยว กรีซตั้งใจเพิ่มภาษีท่องเที่ยวยั่งยืนเพื่อสร้างรายได้จากภาคการท่องเที่ยว โดยตั้งเป้าเก็บภาษีจากการท่องเที่ยวไว้สูงถึง 400 ล้านยูโร หรือราว 2 เท่าของรายได้จากการท่องเที่ยวเดิม
ภาษีท่องเที่ยวยั่งยืน หรือชื่อในภาษาอังกฤษคือ sustainable tourism tax หรือ tourist eco-tax คือการเก็บภาษีเพิ่มกับนักท่องเที่ยว เพื่อจัดสรรทุนมาบริหารด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยวยั่งยืน
ก่อนหน้านี้หมู่เกาะแบลีแอริก (มายอร์กา, อิบิซา, เมนอร์กา, และฟอร์เมนเตรา) หมู่เกาะปกครองตนเองของสเปนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันตก ได้เพิ่มภาษีท่องเที่ยวยั่งยืนจาก 66 เปอร์เซ็นต์เป็น 200 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงฤดูร้อน: เดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่การท่องเที่ยวเจริญเติบโตที่สุดของปี มีจุดประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่อง ผลของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวต่อธรรมชาติ
การเก็บภาษีท่องเที่ยวยั่งยืนจะเก็บจากค่าพาหนะและค่าที่พักของนักท่องเที่ยว การเพิ่มภาษีช่วงหน้าร้อนจะทำให้ ภาษีที่พักเพิ่มจาก 1 ยูโรเป็น 2.5 ยูโรต่อคืน (จาก 37 บาทเป็น 97 บาท) และภาษีเรือสำราญจาก 2 ยูโรเป็น 6 ยูโรต่อคืน (จาก 75 ยูโรเป็น 226 ยูโร)
นอกจากนี้ รัฐบาลเกาะแบลีแอริกได้เพิ่มค่าปรับสำหรับการเปิดพี่นักนักท่องเที่ยวผิดกฎหมายเช่นกัน โดยค่าปรับใหม่อาจสูงถึง 500,000 ยูโร (18,770,000 บาท) สำหรับภาษีพาหนะนั้นจะคิดราคาามการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์และระยะเวลาที่นักท่องเที่ยวใช้ยานพาหนะบนเกาะ ซึ่งอาจสูงถึง 85 ยูโร (3,200 บาท)