Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
ทำไม "สิงคโปร์" ถึงไม่อาจเป็น Crypto Hub ของโลกได้
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

ทำไม "สิงคโปร์" ถึงไม่อาจเป็น Crypto Hub ของโลกได้

30 เม.ย. 65
18:50 น.
|
832
แชร์

"สิงคโปร์" อาจเป็นฮับการเงินได้ เป็นฮับบริษัทต่างชาติในเอเชียได้ แต่เป็น "ฮับคริปโทฯ" ไม่ได้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ประเทศ "สิงคโปร์" ในมุมมองของคนไทยทั่วไป อาจนึกถึงมุมท่องเที่ยวที่หลายคนลองไปเที่ยวต่างประเทศเป็นครั้งแรกที่นี่

แต่ในระดับโลกแล้ว สิงคโปร์มีชื่อเสียงในฐานะ "ศูนย์กลางทางการเงิน" และ "ฮับของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ในเอเชีย" ด้วยความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาลสิงคโปร์ โดยเฉพาะมาตรการทางด้านภาษี

และเมื่อสิงคโปร์แสดงท่าทีว่าต้องการจะเป็นฮับของ "คริปโทเคอร์เรนซี" ด้วย หลายฝ่ายจึงค่อนข้างเชื่อมั่นว่า ความพร้อมในทุกด้านจะทำให้สิงคโปร์เป็นฮับคริปโทฯ ในเอเชียหรือของโลกได้ บริษัทคริปโทฯ จากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาขอใบอนุญาตในสิงคโปร์มากถึงกว่า 170 ราย มีการโฆษณาคริปโทฯ ทุกที่ในสิงคโปร์ และถึงกับมีการเปิดตู้เอทีเอ็มบิตคอยน์ที่นี่ด้วย

แต่ในวันนี้ สถานการณ์ในสิงคโปร์เริ่มเปลี่ยนไป และหลายคนเริ่มพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า "ฮับคริปโท" ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริงที่สิงคโปร์



ทำไมสิงคโปร์ถึงไม่อาจเป็น Crypto Hub ของโลกได้

นเรศ เหล่าพรรณราย เลขาธิการสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ริคโค เวลธ์ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ก็เคยคิดว่าสิงคโปร์จะเป็น Crypto Hub ของโลกได้ แต่หลังๆ มาเริ่มจะเห็นบางประเด็น ที่ขัดขวางสิงคโปร์ไม่ให้ไปถึงจุดนั้นได้ นั่นก็คือ การที่สิงคโปร์เป็น Financial Hub ซึ่งจุดเด่นเดิมที่ควรจะเป็นปัจจัยหนุน กลับกลายมาเป็นอุปสรรคในที่สุด

istock-957266616

"ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า คนไทยจะคุ้นเคยว่าสิงคโปร์เปิดเสรีทางการเงิน แต่ความจริงแล้วไม่ได้แปลว่าจะมาทำธุรกรรมการเงินอะไรที่สิงคโปร์ง่ายกว่าไทย เพราะสิ่งที่คนทั่วโลกให้การยอมรับสิงคโปร์ คือการใช้กฎหมายที่เข้มงวด โดยเฉพาะการป้องกันการฟอกเงิน รวมถึงการคุ้มครองผู้ลงทุน ถือเป็นจุดขายที่ ลี กวนยู รัฐบุรุษแห่งเกาะเล็กๆ นี้ให้ความจริงจังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน"

การที่สิงคโปร์ออกกฎหมายกำกับดูแลคริปโทฯ ก็เพื่อป้องกันการนำมาใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน โดยขอเพียงแค่มีการทำ KYC ก่อนทำธุรกรรมเงิน Fiat กับคริปโทฯ แค่นี้ก็พอใจแล้ว และใครจะเอาคริปโทฯ ไปลงทุน DeFi, NFT หรือนวัตรกรรมใหม่ๆ สิงคโปร์ก็ไม่ได้มาสนใจ และไม่มาเก็บภาษี เพราะนิยามคริปโทฯ เป็นเงินตราไม่ใช่สินค้า

นั่นจึงทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีโบรกเกอร์ บริษัทจัดการกองทุน รวมถึง Crypto Exchange มาเปิดสำนักงานเป็นจำนวนมาก รวมถึงโปรเจกต์บล็อกเชนต่างๆ ก็อยู่ที่นี่เป็นจำนวนมาก

ก่อนหน้านี้ เอ็กซ์เชนจ์ที่มีพื้นเพในเอเชีย ส่วนใหญ่จะไปตั้งสำนักงานในสิงคโปร์กัน เขาไม่ไปฮ่องกง เพราะฮ่องกงใกล้ชิดกับจีนมาก แต่มาสิงคโปร์เพราะปลอดภัยกว่า มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี ภาษา และสิงคโปร์ยังเป็น Tax Haven ที่มีข้อได้เปรียบเรื่งภาษีด้วย

ทว่าในอีกมุมหนึ่ง สิงคโปร์ก็ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้ลงทุน มีความจริงที่น่าสนใจคือ คนสิงคโปร์เองเข้าถึงบริการทางการลงทุนได้ยากมาก เพราะรัฐบาลคุมเข้มให้ผู้ประกอบการต้องมาขอไลเซ่นส์กับ MAS (หน่วยงานคล้ายแบงก์ชาติกับ ก.ล.ต.) ถึงจะให้บริการกับคนสิงคโปร์ได้ และก็มีกฎระเบียบที่เข้มงวดมาก

การที่สิงคโปร์สั่งเก็บตู้เอทีเอ็มบิทคอยน์ ห้ามโฆษณาคริปโทฯ ในที่สาธารณะ และ DBS ธนาคารใหญ่อันดับหนึ่งตัดสินใจไม่เปิดธุรกิจซื้อขายคริปโทฯ กับรายย่อย ก็เพราะกฎระเบียบการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เข้มงวดมากในสิงคโปร์นั่นเอง

อีกเรื่องที่หลายคนอาจยังไม่รู้ก็คอ คนสิงคโปร์ถ้าจะเข้าไปเล่นคาสิโนใน Marina Bay Sand ต้องเสียเงินเป็นหมื่นบาทเลยทีเดียว เพราะรัฐบาลไม่ได้ส่งเสริมการพนันให้คนในประเทศ (แต่ตั้งใจหาเงินกับต่างชาติ) ทำให้นักท่องเที่ยวอย่างเราๆ เดินตัวปลิวเข้าไปเล่นได้ง่ายๆ

สรุปก็คือ การที่ขาข้างหนึ่ง (และยังเป็นข้างหลักด้วย) ยังคงต้องรักษาความน่าเชื่อถือ และเคร่งครัดด้านกฎหมายการเงินดั้งเดิม และยังต้องคุ้มครองผู้ลงทุนในประเทศ อาจทำให้สิงคโปร์ไม่เป็นที่ดึงดูดใจของธุรกิจคริปโทฯ ระดับโลก ที่ตอนนี้มองไปที่ "ดูไบ" ซึ่งดูแล้วมีนโยบาย "ปล่อย" มากกว่า

อย่าลืมว่าพวกประเทศอาหรับไม่มีต้นทุนเดิมของการเป็น Financial Hub อยู่กับตัว พวกเขาพร้อมจะกล้าทำในสิ่งใหม่ๆ มากกว่า และอาจเป็นเพราะความเร่งด่วนในการต้องทรานส์ฟอร์มตัวเอง จากที่ต้องพึ่งพารายได้จากน้ำมันซึ่งกำลังจะหมดไปด้วย บางทีอาจเป็นสถานการณ์ที่หลังพิงฝาแล้วก็ได้ที่ต้องหา New S Curve ให้ตัวเอง

แต่ดูไบก็ต้องจับตาต่อไปเหมือนกัน ไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าจะราบรื่น เพราะก่อนหน้านี้ก็มีประเทศที่ประกาศตัวจะเป็นฮับคริปโทฯ มาแล้วเหมือนกัน แต่ก็ทำไม่ได้ เช่น มอลต้า ซึ่งไบแนนซ์ (Binance) ก็เคยไปมอลต้า มาเช่นกัน

ทุกวันนี้ จึงยังไม่มีที่ไหนเป็น "ฮับคริปโต" ได้อย่างแท้จริง



แชร์
ทำไม "สิงคโปร์" ถึงไม่อาจเป็น Crypto Hub ของโลกได้