หลังโควิด 19 ระบาดการเดินทางของผู้คนบนโลกคล่องตัวมากขึ้นก็จริง แต่ในระหว่างนั้นเศรษฐกิจโลกเผชิญทั้งสถานการณ์โควิด และ สงครามรัสเซีย ยูเครน ในเวลาไล่เลี่ยกัน ทำให้เกิดความผันผวนของเศรษฐกิจของประเทศต่างๆอย่างมาก เงินเฟ้อสูง ดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้น ยักษ์ใหญ่ทั้งสหรัฐฯและจีน ก็ยังเผชิญปัญหายิบย่อยอีกมากมาย ทั้งหมดต่างส่งผลให้ค่าครองชีพและคุณภาพชีวิตของประเทศต่างๆ เปลี่ยนไป
สำหรับใครที่อยากท่องเที่ยว หรือทำงานต่างประเทศ มีข้อมูลที่น่าสนใจจากเว็บไซต์เมอร์เซอร์ (Mercer) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก ได้เปิดเผยผลการสำรวจเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกสำหรับพนักงานชาวต่างชาติประจำปี 2566 ผลสำรวจพบว่า ฮ่องกง เป็นเมืองที่มีค่าครองชีพแพงที่สุดอันดับ 1 ของโลกรองลงมาคือสิงคโปร์ และเมืองซูริคของสวิตเซอร์แลนด์ตามมาเป็นอันดับที่ 3
ผลสำรวจ 10 อันดับแรกของเมืองที่มีค่าครองชีพแพงในปีนี้พบว่า เป็นเมืองในยุโรป 5 แห่ง ในจำนวนนั้นเป็นเมืองในสวิตเซอร์แลนด์ 4 เมือง ส่วนฮ่องกง และ สิงคโปร์ คือ 2 เมืองในเอเชียที่ติด10 อันดับแรก ลดลงจากปีก่อนที่ที่มี 4 ประเทศในเอเชียติด 10 อันดับแรกเมืองที่ค่าครองชีพแพงที่สุด
1.ฮ่องกง 2.สิงคโปร์ 3.ซูริค (สวิตเซอร์แลนด์) 4.เจนีวา (สวิตเซอร์แลนด์)
5.บาเซิล (สวิตเซอร์แลนด์) 6.นิวยอร์ก (สหรัฐฯ) 7.เบิร์น (สวิตเซอร์แลนด์)
8.เทลอาวีฟ (อิสราเอล) 9.โคเปนเฮเกน (เดนมาร์ก) 10.แนสซอ (บาฮามาส)
ขณะที่เมืองอื่นๆในเอเชียที่ติดอันดับ คือ เซี่ยงไฮ้ ของจีนอยู่อันดับที่ 12 ปักกิ่ง อันดับที่ 13 ส่วนโซล เกาหลีใต้อยู่อันดับที่ 16 แพงกว่า โตเกียวของญี่ปุ่น อันดับ ที่ 19 ส่วน**กรุงเทพมหานคร (ไทย) ค่าครองชีพแพงเป็นอันดับที่ 105 จาก 227 ประเทศ
ส่วนเมืองที่มีค่าครองชีพถูกที่สุดสำหรับพนักงานชาวต่างชาติประจำปีนี้ คือ อิสลามาบัด ปากีสถาน อยู่อันดับที่ 227 รองลงมา 226 คือ การาจี ปากีสถาน 225 ฮาวาน่า ของ คิวบา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินที่อ่อนแอลงอย่างมากในช่วงกลางปีที่แล้ว
ความน่าสนใจของผลการสำรวจนี้คือ เมอร์เซอร์ ได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีค่าครองชีพและดัชนีคุณภาพชีวิตสำหรับเมืองต่างๆ ทั่วโลก พบว่า ค่าครองชีพเป็นเพียงหนึ่งในปัจจัยที่นำมาพิจารณาถึงสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศน์ ทั่วโลก โดยแบ่งประเภทเมืองออกเป็น 4 กลุ่ม
1.ค่าครองชีพต่ำ แต่มีคุณภาพชีวิตสูงที่สุด ได้แก่ แวนคูเวอร์ โตรอนโต สตอกโฮล์ม ลิสบอน และแฟรงก์เฟิร์ต
2.ค่าครองชีพสูง แต่คุณภาพชีวิตต่ำ เช่น ฮ่องกง โดยเมอร์เซอร์จัดให้ฮ่องกงอยู่ในอันดับที่ 78 ของเมืองที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่วนสิงคโปร์ มีคุณภาพชีวิตอยู่อันดับ ที่ 33 แต่ค่าครองชีพอยู่อันดับ ปักกิ่ง ค่าครองชีพอยู่อันดับ 12 แต่คุณภาพชีวิตต่ำอยู่อันดับ 124
3.ค่าครองชีพสูง คุณภาพชีวิตสูง ส่วนใหญ่เป็นเมืองในยุโรป เช่น เวียนนา ออสเตรีย ค่าครองชีพอันดับ 25 ของโลก แต่คุณภาพชีวิต อันดับ 1 ของโลก , ซูริค สวิตเซอร์แลนด์ ค่าครองชีพอันดับ 3 คุณภาพชีวิตดีอันดับ 2 ของโลก
4.ค่าครองชีพต่ำ และ คุณภาพชีวิตต่ำด้วย เวอร์ชั่น 4 อาจอยู่ในสภาพน่าเป็นห่วงหน่อย เช่น บราซซาวิล ของคองโก ค่าครองชีพแพงอันดับ 84 ส่วนคุณภาพชีวิตอยู่อันดับ 224 , การาจี บังกลาเทศ ค่าครองชีพถูกอันดับ 226 ส่วนคุณภาพชีวิต อยู่อันดับ 224
ขณะที่กรุงเทพมหานคร (ไทย) ค่าครองชีพแพงเป็นอันดับที่ 105 ส่วนคุณภาพชีวิตอยู่อันดับ 130