ผลสำรวจของ The 1 Insight และ CRC VoiceShare พบว่า เทรนด์ Pet Parent หรือการเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุคหลังโควิด สังเกตได้จากอัตราขึ้นทะเบียนสุนัข-แมวมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกปี สวนทางกับอัตราการการเกิดขอประชากรเด็กไทยที่ลดลงในทุกๆ ปี ตั้งแต่ปี 60 สะท้อนว่า ครอบครัวคนไทยในปัจจุบันนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อเข้ามาเติมเต็มครอบครัวมากกว่ามีลูก
: วัยเริ่มทำงาน ต้องการเสริมพลังบวกจากพลังของสุนัข
: ช่วงวัยที่ใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบและนิยมในการอาศัยอยู่คอนโดฯ การเลี้ยงแมวจึงเป็นทางเลือกที่ลงตัวสำหรับคนรักสัตว์ในวัยสร้างตัว
: นกและปลาเป็นสัตว์เลี้ยงที่เสริมให้บ้านมีชีวิตชีวาได้ โดยไม่สร้างภาระให้ผู้เลี้ยงมากนัก และยังช่วยเสริมความสิริมงคลตามความเชื่อได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้เลี้ยงในไทยยังคงได้สัตว์เลี้ยงมาจากการซื้อจากร้านหรือฟาร์ม ยกเว้น เหล่าทาสแมว ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึง 50% ที่ได้สัตว์เลี้ยงมาจากการรับอุปการะแมวจรจัด การเปลี่ยนแปลงนี้สอดคล้องกับเทรนด์ “Adopt, Don’t Shop” ซึ่งเป็นแคมเปญระดับโลกที่ทั้งองค์กรและคนดังต่างร่วมกันรณรงค์ให้คน ‘รับเลี้ยง’ สัตว์จรจัดมากกว่าการ ‘ซื้อ’ จากฟาร์ม
โดยผู้เลี้ยงสัตว์ในบ้านมักเป็นกลุ่มลูกค้าในฐานะสูง (High-value users: HVUs)
ทาสแมว มีการใช้จ่ายเปย์ลูกๆ สี่ขามากที่สุด มากถึง 63% สำหรับ อาหารและขนมสำหรับแมว ทรายแมว และห้องน้ำแมว ตามมาด้วย ทาสหมา 31% และสัตว์เลี้ยง Exotic 6% ปลา กระต่าย และนก
โดยแบรนด์ที่มียอดขายสูงสุดยังคงเป็นกลุ่มแบรนด์ยอดนิยม ได้แก่ วิสกัส เพดดิกรี สมาร์ทฮาร์ท สมาร์ทเตอร์ และมีโอ
ในขณะเดียวกัน ด้วยเทรนด์ Pet Parent ที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ผู้เลี้ยงสัตว์บางกลุ่มเริ่มให้ความสำคัญและลงทุนกับ ‘อาหารสัตว์เกรดโฮลิสติก’ ส่งผลดีต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงในระยะยาวมากกว่า แบรนด์ในกลุ่มนี้จึงมียอดขายเติบโตกว่า 20 เท่าในช่วงปี 66 ที่ผ่านมา เช่น แบรนด์ โอริเจน คานาแกน โยร่า แฮปปี้ ด็อก นูเทรียนซ์
โดยแบรนด์เหล่านี้มักพบได้ใน ‘ร้านขายของสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ’ เช่น เพ็ทแอนด์มี (Pet ’n Me) ซึ่งมีการเติบโตอย่างโดดเด่นในปี 66 ในขณะที่ยอดขายสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยงในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปและช่องทางอี-คอมเมิร์ซต่างๆ ยังคงมีการเติบโตคงที่