โดยในภาพรวมผลประโยชน์ที่คาดว่า จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการตาม (ร่าง) แผน Oil Plan 2024 ฉบับนี้ คือ
ในด้านเศรษฐกิจ : คาดจะมีเม็ดเงินลงทุนกว่า 113,000 ล้านบาท สามารถช่วยสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตไบโอดีเซลและเอทานอลกว่า 71,000 ล้านบาท/ปี และช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศจากการนำเข้าน้ำมันดิบ ได้ 59,000 ล้านบาท/ปี
ในด้านมิติสังคม : จะช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร 41,500 ล้านบาท/ปี
ในด้านสิ่งแวดล้อม : จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 7.1 mtCO2 เทียบเท่า/ปี เทียบเท่าการปลูกป่าโกงกางขนาด 2.6 ล้านไร่/ปี
สำหรับใจความสำคัญของ “(ร่าง) แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2567-2580 (Oil Plan 2024)” มีด้วยกันทั้ง 4 ด้าน ได้แก่
1. ด้านการบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อความมั่นคงกรมธุรกิจพลังงานได้วางแผนทบทวนรูปแบบและอัตราการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีความเหมาะสม รวมถึงจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอต่อความต้องการและเพิ่มขีดความสามารถในการรับมือกับภาวะวิกฤตด้านน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ
2. ด้านการบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง เพื่อบริหารจัดการอุปทานน้ำมันเชื้อเพลิงในภาคขนส่งให้สอดคล้องกับความต้องการใช้มีแนวโน้มลดลง บนเงื่อนไขที่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะไม่สามารถอุดหนุนราคาได้ในอนาคต มีราคาเหมาะสม และสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ จึงได้กำหนดแนวทางดำเนินการ ดังนี้
3. ด้านการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตและขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง กรมธุรกิจพลังงานได้วางแนวทางปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ประกอบด้วย การกำกับดูแลการผลิตน้ำมันสำเร็จรูปของโรงกลั่นน้ำมัน การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการคลังน้ำมัน ผลักดันการขนส่งน้ำมันทางท่ออย่างเต็มประสิทธิภาพ และส่งเสริมการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
4. ด้านการส่งเสริมธุรกิจใหม่ในอนาคต เพื่อส่งเสริมการผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานน้ำมันเชื้อเพลิงให้สามารถปรับตัวจากการเปลี่ยนผ่านพลังงานและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กรมธุรกิจพลังงานได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจใหม่สำหรับขับเคลื่อนในระดับนโยบายประเทศ ประกอบด้วย ธุรกิจปิโตรเคมีพลาสติกชีวภาพ เชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืนและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ ดีเซลชีวภาพสังเคราะห์ และน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ พร้อมเสนอกลไกการขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรมภายในปี 2570
โดยล่าสุด กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2567 – 2580 (Oil Plan 2024) ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อประกอบการปรับปรุงแผน Oil Plan 2024 มีผู้ให้ความสนใจจากองค์กรภาครัฐเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศร่วมรับฟังทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์มากกว่า 300 คน
ทั้งนี้ ในเวทีสัมมนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการเปิดสัมมนา เพื่อแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายทิศทางพลังงานของประเทศทั้งระบบโดย นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้นำเสนอข้อมูลและเป้าหมายการจัดทำแผน Oil Plan 2024 ซึ่งเป็นร่างแผนที่นำมาสู่กระบวนการเปิดรับความคิดเห็นในครั้งนี้ ก่อนที่จะรวบรวมเพื่อจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ สู่ขั้นตอนของการรวมเป็นแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) เสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเห็นชอบสู่การประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง
นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานในการเปิดสัมมนา เพื่อแสดงวิสัยทัศน์และนโยบายทิศทางพลังงานของประเทศทั้งระบบโดย นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน ได้นำเสนอข้อมูลและเป้าหมายการจัดทำแผน Oil Plan 2024 ซึ่งเป็นร่างแผนที่นำมาสู่กระบวนการเปิดรับความคิดเห็นในครั้งนี้ ก่อนที่จะรวบรวมเพื่อจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์ สู่ขั้นตอนของการรวมเป็นแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) เสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเห็นชอบสู่การประกาศใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
อย่างไรก็ตาม การได้นำเสนอข้อมูลถึงแนวโน้ม และทิศทางความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงโลก ที่มีแนวโน้มลดลงในระยะเวลาไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า ที่ส่งผลให้ Oil Peak demand ของประเทศไม่เกินปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) แต่น้ำมันยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลัก โดยเฉพาะในภาคขนส่ง จึงได้วางกรอบการบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงภายใต้วิสัยทัศน์ “ก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานด้วยความมั่นคง และยกระดับธุรกิจพลังงานเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (Transitioning with security and competitiveness)”