Logo site Amarintv 34HD
Logo LiveSearch
Search
Logo Live
Logo site Amarintv 34HD
ช่องทางติดตาม AMARINTV
  • facebook AMARIN TV 34 HD
  • x AMARIN TV 34 HD
  • line AMARIN TV 34 HD
  • youtube AMARIN TV 34 HD
  • instagram AMARIN TV 34 HD
  • tiktok AMARIN TV 34 HD
  • RSS Feed AMARIN TV 34 HD
อนาคตเศรษฐกิจโลก-ไทย ภายใต้กำมือ "ทรัมป์"
โดย : อมรินทร์ทีวีออนไลน์

อนาคตเศรษฐกิจโลก-ไทย ภายใต้กำมือ "ทรัมป์"

6 พ.ย. 67
17:15 น.
|
992
แชร์

Highlight

ไฮไลต์

  • สรุปนโยบายเศรษฐกิจของ โดนัลด์ ทรัมป์
  • เปิดมุมมองเศรษฐกิจโลก ภายใต้ ‘ทรัมป์’ เป็นผู้นำสหรัฐฯ
  • ส่งออกไทยมีโอกาสติดลบในปีหน้า
  • เมื่อทรัมป์มา ไทยต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง?

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2024 ถือเป็นการเลือกตั้งที่สำคัญของโลก ที่จะกระทบทั้งภาพสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน แล้วเศรษฐกิจไทยจะเป็นเช่นไร? และจะต้องเตรียมตัวและปรับตัวอย่างไรบ้าง?

อนาคตเศรษฐกิจโลก-ไทย ภายใต้กำมือ "ทรัมป์"

วันนี้ SPOTLIHGT จะพามากับการวิเคราะห์ด้านเศรษฐกิจ การลงทุนในรายการพิเศษ  Spotlight World : ศึกเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 คุณจะได้รู้ผลคะแนนแบบเรียลไทม์ทั้ง 50 รัฐของสหรัฐฯไปพร้อมกัน  ทรัมป์ หรือ แฮร์ริส ใครจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯคนต่อไป? 

โดยรศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง และดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ InnovestX จำกัด ให้มุมมองที่เข้มข้น

[สรุปนโยบายเศรษฐกิจของ โดนัลด์ ทรัมป์]

  • ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 60% 
  • ลดภาษีนิติบุคคล เหลือ 15% จาก 21% และขึ้นภาษีกับบริษัทที่จ้างงานภายนอกหรือไม่ได้ผลิตสินค้าในสหรัฐฯ
  • ตั้งคณะกรรมการปฎิรูปประสิทธิภาพของรัฐบาล นำโดย อีลอน มัสก์ เพื่อตรวจสอบทางการเงินและตรวจสอบผลการดำเนินงานของรัฐบาลกลางเพื่อการปฎิรูประบบราชการครั้งใหญ่ 
  • ยกเลิกกฎของรัฐบาลไบเดน ที่มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษจากโรงไฟฟ้า และสนับสนุนธุรกิจเหมืองแร่ในประเทศ
  • การเนรเทศผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย

[เปิดมุมมองเศรษฐกิจโลก ภายใต้ ‘ทรัมป์’ เป็นผู้นำสหรัฐฯ]

รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์  นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง กล่าวว่า ได้ให้น้ำหนักไปทางทรัมป์ ซึ่งถ้าเป็นทรัมป์ นโยบายจะเก็บภาษีนำเข้าทุกประเทศ 20% เล่นงานประเทศที่มีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งไทยอยู่ในนั้น และเล่นงานกับผู้เล่นกับเงินดอลลาร์ และเล่นงานจีน ซึ่งจะเกิดสงครามการค้ามาแน่ จะให้การค้าระหว่างสหรัฐกับจีนหายไป 90% ร้ายกว่านั้นจะส่งผลให้จีดีพีจาก 4-5% เหลือ 2% สำคัญมาก ซึ่งกระทบกับไทยแน่นอน เพราะไทยจีน ทั้งส่งออก 12% การท่องเที่ยว 20% และการลงทุนจีนที่เข้ามา

 ss

โดย IMF มองความท้าทายที่สุด เมื่อทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดี : สงครามเศรษฐกิจ

  1. การเพิ่มภาษีศุลกากรขาเข้าทั่วโลก : 
  • เริ่มมีผลกลางปี 2568 โดยเป็นการเพิ่มภาษีแบบถาวร
  • เก็บภาษี 10% ระหว่าง 3 เขตเศรษฐกิจใหญ่ ทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน
  • เก็บภาษี 10% กับการค้าขาเข้าและขาออกกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
  • ภาษีนี้ส่งผลกระทบต่อสินค้าประมาณ 1 ใน 4 ของการค้าโลกทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6% ของ GDP โลก
  • รายได้จากภาษีจะนำถูกไปแจกจ่ายคืนให้กับครัวเรือน

    2. ความไม่แน่นอนทางการค้าเพิ่มสูงขึ้น : 

  • การขึ้นภาษีจะสร้างความไม่แน่นอนตั้งแต่กลางปี 2568 
  • คาดว่าการลงทุนรวมในสหรัฐฯ จะลดลง 4% เมื่อเทียบกับกรณีปกติ
  • ผลกระทบจะเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะยุโรป จะได้รับผลกระทบใกล้เคียงกับสหรัฐฯ ขณะที่จีนและภูมืภาคอื่นๆ ได่รับผลกระทบประมาณครึ่งหนึ่ง 
  • ผลกระทบจะเริ่มลดลงในปี 2570

    3. การลดภาษีนิติบุคคลของสหรัฐฯ : 

  • ข้อกำหนดหลายข้อในหลาย Tax Cuts and Jobs Act (TCJA) ที่จะหมดอายุในสิ้นปี 2568 ซึ่ง IMF ตั้งสมมุติฐานว่า จะมีการต่ออายุข้อกำหนดไปอีก 10 ปี นั่นหมายความว่า ภาษีจะคงอยู่ที่ 21% ไม่ลดลงไปที่ 15% ตามที่ทรัมป์หาเสียง ซึ่งจะทำให้ภาษีธุรกิจลดลงประมาณ 4% ของ GDP ในช่วงปี 2568-2577 

   4. การเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่สหรัฐฯ และยุโรป :

  • การอพยพแรงงานที่เคยช่วยเพิ่มการเติบโตของแรงงานและลดแรงกดดันเงินเฟ้อจะลดลง ตั้งแต่ปี 2568 ซึ่ง IMF ตั้งสมมุติฐานว่า จะมีการลดการอพยพสุทธิลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ส่งผลให้กำลังแรงงานสหรัฐฯ ลดลงถาวร1% ภายในปี 2573 และแรงงานยุโรปลดลง 0.75% เทียบกับกรณีปกติ

    5. สภาวะการเงินโลก : 

  • มีการตีงตัวของภาวะการเงินในปี 2568-2569 จาก 3 ปัจจัย

        1. ผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจโลก การค้า และความไม่แน่นอน

        2. นโยบายการเงินสหรัฐฯ เข้มงวดขึ้น เนื่องจากเงินเฟ้อจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

        3. หนี้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ทำให้กังวลเรื่องความยั่งยืนของหนี้

  • ส่งผลให้ : 

        1. ตลาดเกิดใหม่ (ยกเว้นจีน) : พรีเมียมพันธบัตรรัฐบาลเพิ่ม 0.50% 

        2. ประเทศพัฒนาแล้ว และจีน : Term Premium พันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้น 0.40% , ยุโรป 0.25% และพรีเมี่ยมหุ้นกู้บริษัทเพิ่ม 0.50%

        3. ตลาดเกิดใหม่อื่นๆ : พรีเมียมหุ้นกู้บริษัท เพิ่ม 1.00%

pp

[ส่งออกไทยมีโอกาสติดลบในปีหน้า]

ขณะที่ ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ หัวหน้านักวิจัยเศรษฐกิจ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ InnovestX จำกัด กล่าวว่า IMF คาดว่าปีหน้าเศรษฐกิจโลกแย่ลง จากปัญหาระหว่างสหรัฐฯ ยุโรป จีน เชื่อว่าจะมีการตอบโต้กัน จะทำให้การค้าแย่ลง ซึ่ง IMF คาดการณ์ว่าปีหน้าไว้ลดลงไป 0.8% จาก 3.2% เหลือ 2.4% จะกระทบส่งออกไทยเป็นหลัก มองว่าปีหน้าส่งออกไทยไม่โต จากเศรษฐกิจโลกชะลอลง ซึ่งทรัมป์มาคาดว่าส่งออกจะติดลบ 1.9% ปีหน้าติดลบ 3% มองเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงโตเหลือเพียง 2.5%

[เมื่อทรัมป์มา ไทยต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง?]

sss

รศ.ดร.สมชาย กล่าวว่า เมื่อทรัมป์มานั้น ไทยต้องเตรียมรับมือ เพราะเขาเล่นงานเราแน่ เล่นงานทีละประเทศ เขาไม่มีมิตร หรือศัตรู เขาเล่นงานทีละประเทศ เราต้องเตรียมการเจรจาไว้ เรื่องของการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และเราไม่ได้อยู่ฝ่ายใด เศรษฐกิจไทยชะลอตัวไปบ้าง ไทยต้องปรับตัว ทั้งการส่งออกต้องทำการบ้านมากขึ้น และสงครามรัสเซีย ยูเครน ไทยต้องหาตลาดส่งออกใหม่ๆ และเพิ่มการลงทุนใช้ฐานการผลิตของประเทศนั้นๆ เพื่อได้ประโยชน์จาก FTA

นอกจากนี้ สหรัฐฯ จะต้องเล่นงานจีนด้วยการขึ้นกำแพงภาษีสินค้า ทำให้จีนเปลี่ยนมาส่งออกที่ไทยเพิ่มขึ้น คนไทยคงต้องเกรงใจจีนน้อยลง จำเป็นต้องดำเนินการต่อต้านการอุดหนุน ต่อต้านการทุ่มตลาด เมืองไทยต้องปรับสินค้าให้มีคุณภาพและขยายตัวต่อไปได้ รัฐบาลจำเป็นต้องปรับประสิทธิภาพ และคุณภาพสินค้าเหล่านี้ และให้ได้ตามมาตรฐานโลก และสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโลกร้อน

s

ดร.ปิยศักดิ์ ระบุว่า ไม่ว่าใครจะเป็นประธานาธิบดี สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐ และชาติตะวันตกก็จะมีมากขึ้น เนื่องจากสหรัฐฯ ต้องการหยุดหนทางที่ทำให้จีนขึ้นมาเป็นมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจ จีนจึงปรับกลยุทธ์หันมาสนับสนุนภาคการผลิตและส่งออก แต่ไม่สนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจีนได้ผลิตสินค้ามากกว่าความต้องการภายในประเทศ เช่น ผลิตรถ EV ได้ 40 ล้านคันต่อปี แต่มีความต้องการเพียง 22 ล้านคัน หรือผลิตโซลาเซลล์ 750 กิกะวัตต์ ขณะที่มีความต้องการเพียง 220 กิกะวัตต์ จะยิ่งทำให้จีนยิ่งต้องกดราคาสินค้าส่งออก และนำไปสู่ความเสี่ยงสงครามการค้ามากขึ้นในอนาคต

[หุ้น ทอง พุ่งแน่ หากทรัมป์มา]

s__4317187

ดร.ปิยศักดิ์ ชี้ว่า ถ้าทรัมป์มานั้น สินทรัพย์ต่างๆ ตลาดหุ้นก็จะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เชื้อเพลิง การบริโภค จะไปได้ดีระดับหนึ่ง และจับตาว่าเอาใครมาเป็นรมว.คลัง แต่ไม่ว่าทรัมป์ แฮรริส ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อราคาทองคำมีโอกาสที่จะไปถึงระดับ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อทรอยออนซ์ และธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกสะสมทองคำมากขึ้น 

โดยราคาทองคำพุ่งทะย่นขึ้น 38% ในปีที่ผ่านมาแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่กว่า 2,700 ดอลลาร์ต่อทรอยออนซ์ สะท้อนความกังวลต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองโลกที่เพิ่มสูงขึ้น โดยความนิยมในการซื้อทองคำเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลายไปถึงร้านค้าปลีก อย่าง Costco และร้านสะดวกซื้อในเกาหลีใต้

แชร์
อนาคตเศรษฐกิจโลก-ไทย ภายใต้กำมือ "ทรัมป์"