ข่าวเศรษฐกิจ

จับตาประชุมFEDนัดสุดท้าย ลดสภาพคล่อง-ขึ้นดอกเบี้ย??

12 ธ.ค. 64
จับตาประชุมFEDนัดสุดท้าย ลดสภาพคล่อง-ขึ้นดอกเบี้ย??

ตลาดการลงทุน จับตาการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FED)นัดสุดท้ายของปี 2564 นี้ คาดการณ์อาจจะเห็นการลดวงเงิน QE มากกว่าคาด ซึ่งจะส่งผลต่อตลาดการลงทุนทั่วโลก

  • ทำไมต้องติดตามการประชุม ธนาคารกลางสหรัฐ  (FED) 

แน่นอนว่า ขนาดเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ1ของโลก การปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ไม่ว่าจะมาจากรัฐบาล หรือ ธนาคารกลาง ก็ตามแต่ล้วนส่งผลไปถึงประเทศต่างๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยใน 1 ปีธนาคารกลางสหรัฐจะประชุมกัน 8 ครั้ง สำหรับครั้งสุดท้ายของปี 2021 คือ 14-15 ธันวาคมนี้

  • คาดการณ์ลดวงเงินการซื้อคืนพันธบัตร (QE) มากกว่าที่คาด

การใช้นโยบาย QE ของ เฟด วงเงิน 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อดูแลเศรษฐกิจในช่วงที่ถูกกระทบจากโควิด 19 กำลังจะสิ้นสุดลงในไม่ช้า เมื่อสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้น และอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น โดยท่าทีของ เจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ คือ การทยอยลดวงเงิน  QE ลง แต่ในแถลงการณ์สภาวะเศรษฐกิจต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า เฟด อาจจะลดเร็วขึ้น มากกว่า 1.5 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งนั่นจะมำให้การใช้นโยบาย QE  สิ้นสุดลงเร็วขึ้นอาจจะเป็นช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2565

  • งินเฟ้อสหรัฐ พุ่งสูงสุดในรอบ 40 ปี

เมื่อเงินเฟ้อสูง นโยบายการเงินจะต้องเข้มงวดมากขึ้น นั่นคือ ดอกเบี้ยที่จะปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง ก่อนหน้านี้ เฟด มักจะส่งสัญญาณ ว่าเงินเฟ้อที่สหรัฐ กำลังเผชิญ ป็นเพียงภาวะชั่วคราว แต่ท่าทีล่าสุด พาวเวล ยอมรับว่า เงินเฟ้ออาจจะไม่ใช่แค่ ชั่วคราว อีกต่อไป

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค(CPI)ซึ่งหรือเงินเฟ้อเดือพฤศจิกายน  พุ่งขึ้น6.8% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2525 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 6.7%  ส่วนหากเทียบรายเดือน เงินเฟ้อ พ.ย. เพิ่มขึ้น 0.8% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.7% ได้รับแรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของราคาอาหารและพลังงาน ซึ่งทะยานขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี เมื่อเทียบรายปี

ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และพุ่งขึ้น 4.9% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2534 สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์เช่นกัน

  • หลายฝ่ายประเมินนโยบายการเงินจาก FED

นางศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อในหลายประเทศอยู่ในระดับสูงและสูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่องคาดว่า Fed มีแนวโน้มที่จะดำเนินการ taper (ลดวงเงินQEเร็วขึ้น) ตามด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยประมาณ 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี2565 นอกจากนี้ ธนาคารกลางของประเทศอื่นที่สำคัญ เช่น สหราชอาณาจักร แคนาดา และออสเตรเลีย ต่างมีท่าทีหยุดการผ่อนคลายหรือปรับเป็นเข้มงวดเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อระดับสูงด้วยเช่นกัน

ด้านการลงทุน กบข. มองว่าต้องให้ความสำคัญมากขึ้นต่อการถือครองสินทรัพย์และการปรับการจัดสรรพอร์ตการลงทุนที่สามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงอัตราเงินเฟ้อได้ ได้แก่ สินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองแดง เป็นต้น ซึ่งเหมาะสมต่อภาวะที่อัตราเงินเฟ้อผู้ผลิตของจีนอยู่ในระดับสูง หุ้นกลุ่มที่ได้รับผลบวกจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่วนด้านตราสารหนี้ เน้นกลยุทธ์ที่รองรับการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและกลาง

ปัจจุบัน กบข. มีสมาชิกประมาณ 1.16 ล้านคน มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิประมาณ 1.12 ล้านล้านบาท (ข้อมูล ณ 30 พ.ย. 2564)

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทสัปดาห์หน้าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20-33.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่ต้องติดตามคือการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟดในวันที่ 14-15 ธันวาคมนี้ ว่าจะลดมาตรการคิวอีมากกว่าที่ตลาดคาดหรือไม่ และส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยปีหน้าเร็วขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้ตลาดผันผวนจากผลการประชุม โดยตั้งแต่วันที่ 1-9 ธันวาคม 2564 ค่าเงินบาทแข็งรั้งอันดับ 2 ของภูมิภาค รองจากค่าเงินวอนของเกาหลีใต้

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT