ข่าวเศรษฐกิจ

ลุ้นครม.วันนี้ จ่อลดภาษีดีเซล 3 บาท แก้วิกฤตน้ำมันแพง

15 ก.พ. 65
ลุ้นครม.วันนี้ จ่อลดภาษีดีเซล 3 บาท แก้วิกฤตน้ำมันแพง
ไฮไลท์ Highlight
โดยวาระการประชุมที่สำคัญที่จะเข้าสู่การพิจารณามีหลายเรื่อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง และกระทรวงพลังงานจะร่วมกันเสนอมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันแพงที่กระทบค่าครองชีพประชาชนขณะนี้ ซึ่งเบื้องต้นได้ข้อสรุปอัตราการปรับลดภาษีที่จะเสนอครม.ในวันนี้ลงลิตรละ 3 บาท โดยคาดว่ากระทบรายได้รัฐปีละ 70,000 ล้านบาท

ลุ้น ประชุม ครม.วันนี้ จ่อลดภาษีดีเซล 3 บาท แก้วิกฤตน้ำมันแพง ลดผลกระทบค่าครองชีพประชาชน คาดว่ากระทบรายได้รัฐปีละ 70,000 ล้านบาท พร้อมชงแพ็คเกจรถอีวีลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์สูงสุด 0% ให้เงินอุดหนุนคันละ 70,000-150,000 บาทต่อคัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาทต่อคัน

 

รายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (15 ก.พ.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุม ครม.เต็มคณะ ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

 

โดยวาระการประชุมที่สำคัญที่จะเข้าสู่การพิจารณามีหลายเรื่อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง และกระทรวงพลังงานจะร่วมกันเสนอมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันแพงที่กระทบค่าครองชีพประชาชนขณะนี้ ซึ่งเบื้องต้นได้ข้อสรุปอัตราการปรับลดภาษีที่จะเสนอครม.ในวันนี้ลงลิตรละ 3 บาท โดยคาดว่ากระทบรายได้รัฐปีละ 70,000 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานจะเสนอ มติคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ครั้งที่ 3/2564 และครั้งที่ 1/2565 ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (รถอีวี) ทั้งระบบ โดยเฉพาะการสนับสนุนดีมานต์ผู้ใช้รถอีวีในประเทศ โดยแพคเกจที่บอร์ดอีวีจะมีการเสนอนั้นครอบคลุม ทั้งรถยนต์ รถกระบะ และรถจักรยานยนต์

 

สำหรับมาตรการดังกล่าวแบ่งเป็น2 ช่วง ได้แก่ปี 2565-2568ส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้า 3 กลุ่ม คือ

 

1.เงินอุดหนุนรถยนต์และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาทต่อคัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาทต่อคัน

 

2.ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8% เป็น 2% และรถกระบะเป็น 0%

 

3.ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศและนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40% สำหรับรถยนต์ถึงปี 2566

 

4.ยกเว้นอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ

 

ทั้งนี้ค่ายรถที่เข้าร่วมต้องรับเงื่อนไข ได้แก่ 1.ผลิตชดเชยให้เท่ากับจำนวนที่นำเข้า CBU ช่วงปี 2565-2566 ในปี 2567 แต่ขยายเวลาได้ ถึงปี 2568 จะต้องผลิตในอัตราส่วน 1.5 เท่า (นำเข้า 1 คัน ผลิต 1.5 คัน) ผู้ใช้สิทธิ์จะผลิตBEV รุ่นใดก็ได้เพื่อชดเชย ยกเว้นรถที่มีราคาขายปลีกราคา 2-7 ล้านบาทต้องผลิตรุ่นเดียวกับที่นำเข้ามา เป็นต้น

 

#SPOTLIGHT #ECONOMY #คลัง #คลัง #วิกฤต #น้ำมันแพง #กระทรวงพลังงาน #ภาษีน้ำมัน #ลดภาษี #กองทุนน้ำมัน #กู้เงิน

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT