ข่าวเศรษฐกิจ

ภาคธุรกิจรับไม่ไหว ขอรัฐตรึงค่าไฟ-ก๊าซ ยิ่งสูงยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจ

3 มี.ค. 65
ภาคธุรกิจรับไม่ไหว  ขอรัฐตรึงค่าไฟ-ก๊าซ   ยิ่งสูงยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจ
ไฮไลท์ Highlight
ดังนั้นจึงเสนอขอให้ภาครัฐพิจารณาคงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในรอบเดือน พ.ค.-ส.ค. 2565 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท.ยังเสนอแนะให้ภาคอุตสาหกรรมเร่งปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อประหยัดพลังงาน และหันมาผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนใช้เองภายในโรงงานอุตสาหกรรม

เปิดผลโพล ส.อ.ท. CEO Survey เผยภาคธุรกิจรับไม่ไหวค่าไฟ-ก๊าซฯ พุ่ง ทำต้นทุนการผลิตเพิ่มจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้า เป็นภาระค่าครองชีพของประชาชน ซ้ำเติมเศรษฐกิจ เสนอมาตรการรัฐบาช่วยตรึงค่า Ft พ.ค.-ส.ค. ตรึงราคาขายปลีกก๊าซ ชั่วคราว

 
 
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยผลสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 15 ในเดือน มี.ค. 2565 เรื่อง "ปรับขึ้นค่าไฟ-ก๊าซ กระทบเศรษฐกิจแค่ไหน" โดยผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า การที่ภาครัฐจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซฯ ต่อเนื่องนั้นจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
 
 
และยังเป็นการซ้ำเติมปัญหาให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่อยู่ในระดับสูงในขณะนี้ จนทำให้ผู้ประกอบการมีความจำเป็นจะต้องปรับราคาสินค้าขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน
 
 

ดังนั้นจึงเสนอขอให้ภาครัฐพิจารณาคงอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ในรอบเดือน พ.ค.-ส.ค. 2565 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบดังกล่าว นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท.ยังเสนอแนะให้ภาคอุตสาหกรรมเร่งปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อประหยัดพลังงาน และหันมาผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนใช้เองภายในโรงงานอุตสาหกรรม

 
 
 
สำหรับมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการบรรเทาผลกระทบของประชาชนและภาคธุรกิจจากค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้น อันดับที่ 1 คือ การคงอัตราค่า Ft รอบเดือน พ.ค.-ส.ค. 2565 มีสัดส่วน 80.7% อันดับที่ 2 คือ มาตรการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response) โดยคืนผลประหยัดไฟฟ้าที่ลดได้ให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า มีสัดส่วน 59.3%
 
 
อันดับที่ 3 คือ ตรึงราคาขายปลีกก๊าซฯ ชั่วคราว มีสัดส่วน 53.3% และ อันดับที่ 4 คือ มาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มในส่วนของผู้มีรายได้น้อย และผู้ประกอบการ SME เช่น ส่วนลดค่าไฟฟ้า, คูปองส่วนลดราคาก๊าซฯ มีสัดส่วน 52.7%
 
 
ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมควรเตรียมรับมือผลกระทบจากค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น อันดับที่ 1 คือ ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อประหยัดพลังงาน 82.0% อันดับที่ 2 คือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนใช้เองภายในโรงงาน เช่น โซลาเซลส์76.0% อันดับที่ 3 คือ นำระบบการบริหารจัดการพลังงานมาใช้ และปรับแผนการผลิตเพื่อลดต้นทุน 64.7% อันดับที่ 4 คือ บำรุงรักษาและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร 53.3%
 
 
 
ทั้งนี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติ เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2564 ให้ปรับค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนม.ค. - เม.ย. 2565 โดยให้เรียกเก็บที่ 1.39 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.78 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.63 จากงวดปัจจุบัน
 
 
 
โดยแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าและพลังงานของภาคอุตสาหกรรมในปีนี้ 77.3% เพิ่มขึ้นจากปีก่อน รองลงมา 20.7% ทรงตัวเท่ากับปีก่อน และ 2.0% ใช้ลดลงจากปีก่อน
 
 
ทั้งนี้ ผลสำรวจดังกล่าวมาจากผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 150 คน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด โดยผู้บริหาร 38.7% เห็นว่าค่าไฟฟ้าและพลังงานในปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วน 10-20% ของต้นทุนการผลิต รองลงมา 25.3% เห็นว่ามีสัดส่วนน้อยกว่า 10% ตามด้วย 20.7% เห็นว่ามีสัดส่วน 20-30% และที่เหลืออีก 15.37% เห็นว่ามีสัดส่วนมากกว่า 30%
 
 
ขณที่ผู้บริหาร 56.7% เห็นว่าหากภาครัฐมีการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซฯ ต่อเนื่องจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาก รองลงมา 34.7% เห็นว่าส่งผลกระทบปานกลาง และ 8.6% เห็นว่าส่งผลกระทบน้อย
 
 
ด้านผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าและราคาก๊าซฯ ที่ภาครัฐควรให้ความสำคัญอันดับ 1 คือ ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นจากต้นทุนพลังงานที่อยู่ระดับสูง 87.3% อันดับที่ 2 คือ ภาระค่าครองชีพของประชาชน 82.0% อันดับที่ 3 คือ เร่งอัตราเงินเฟ้อให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 51.3% และ อันดับที่ 4 คือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวหรือหยุดชะงัก 41.3%
 
 
 
606986
 
 
 
 
 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT