ข่าวเศรษฐกิจ

ค่าไฟปีหน้ามีโอกาสต่ำกว่า 4 บาท /หน่วย สะเทือนกำไรโรงไฟฟ้า 

7 พ.ย. 66
ค่าไฟปีหน้ามีโอกาสต่ำกว่า 4 บาท /หน่วย สะเทือนกำไรโรงไฟฟ้า 
ไฮไลท์ Highlight
มีความเป็นไปได้ที่ Ft ของไทยในปี 2567 อาจอยู่ในระดับต่ำ หนุนให้ค่าไฟฟ้าอยู่ต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วย หากรัฐบาลยังคงให้เลื่อนการจ่ายคืนภาระหนี้คงค้าง (AF) ที่มีต่อ EGAT พร้อมกดดันให้ Pool gas price อยู่ในระดับต่ำ ด้วยการเพิ่มสัดส่วนปริมาณก๊าซในอ่าวไทยใน Pool gas ทั้งนี้การลดลงของค่า Ft อาจส่งผลต่อรายได้ของโรงไฟฟ้าในกลุ่มที่รายได้อ้างอิงกับค่า Ft เช่น โรงไฟฟ้าที่มีสัดส่วนลูกค้าอุตสาหกรรม (IU) สูง โรงไฟฟ้าที่มีสัญญา Private PPA และโรงไฟฟ้า SPP (Non-firm) อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางลบจากค่า Ft ที่ลดลง อาจถูกลดทอนลงและไม่รุนแรงเหมือนในปี 2565 เนื่องจาก Ft ที่ลดลงสอดคล้องไปกับต้นทุนพลังงานก๊าซที่ลดลง(แม้ว่าต้นทุนก๊าซธรรมชาติอาจมีความเสี่ยงจากปัญหา Geopolitics บ้างในระยะสั้น)  ทั้งนี้ คาดว่าการใช้ไฟฟ้าทั้งในและนอกระบบการไฟฟ้าจะขยายตัว 3.5%YOY ในปี 2567 และ 3.3%(CAGR) ในปี 2568-2570 

เกือบ 2 ปีเต็มที่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาพลังงานทั้งน้ำมัน ก๊าซ รวมถึงค่าไฟฟ้า ด้วยเหตุผลหลักคือ สถานการณ์สงครามรัสเซีย ยูเครน ที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ก.พ.2565 ได้ทำให้ทั้งราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆซึ่งเป็นต้นทุนในการผลิตปรับตัวสูงขึ้นตาม ส่งต่อไปยังค่าขนส่ง ราคาอาหาร เป็นค่าครองชีพที่ทุกคนต้องแบกไว้มานานนับปี

แต่ในปลายปีแบบนี้เริ่มมีสัญญาณบางอย่างบ่งชี้ว่า สินค้าบางรายการอาจจะปรับลดลงได้ในปีหน้า หากไม่มีปัจจัยสงครามหนักหนารุนแรงกว่าที่เป็นอยู่ ในฝั่งประเทศไทยกระทรวงพาณิชย์ระกาศตัวเงินเงินเฟ้อเดือน ต.ค. 66 พบว่า ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 25 เดือน ซึ่งเป็นผลมาจากราคาพลังงานในประเทศปรับลง สินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการก็ลดลงเช่นกัน 

โดยหมวดสินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.09  เป็น หมวดเคหสถาน ลดลงร้อยละ 0.68  ซึ่งจะหมายถึง ค่ากระแสไฟฟ้า ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ที่ลดลงด้วย 

สำหรับค่าไฟฟ้าหากดูข้อมูลค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ Ft ย้อนหลังไปจะพบว่า ค่าไฟไต่สูงขึ้นชัดเจนในปี 2565 ส่วนในปลายปี  2566 นี้ ในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 มีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้าให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และต่อมา กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 45/2566 (ครั้งที่ 873) เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ได้เห็นชอบผลการคำนวณค่า Ft ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ตามที่ กฟผ. ได้ดำเนินการตามมติ ครม.

โดยค่า ft รอบเดือนกันยายน - ธันวาคม 66  จัดเก็บอยู่ที่ 20.48 ลดลง  70.71 สตางค์ต่อหน่วยจากรอบ พฤษภาคม-สิงหาคม จัดเก็บอยู่ที่ 91.19 สตางค์ต่อหน่วย

อัตราค่าFt ย้อนหลัง

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC ออกบทวิเคราะห์เรื่อง  “ธุรกิจโรงไฟฟ้าปี 67 มีแนวโน้มขยายตัวตามความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศ ท่ามกลางความท้าทายด้านนโยบายโครงสร้างพลังงานและค่า Ft “ โดยระบุว่า  ค่าไฟฟ้าของไทยมีทิศทางปรับลดลง หลังจากสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดในช่วงต้นปี 2566

มีความเป็นไปได้ที่ Ft ของไทยในปี 2567 อาจอยู่ในระดับต่ำ หนุนให้ค่าไฟฟ้าอยู่ต่ำกว่า 4 บาทต่อหน่วย หากรัฐบาลยังคงให้เลื่อนการจ่ายคืนภาระหนี้คงค้าง (AF) ที่มีต่อ EGAT พร้อมกดดันให้ Pool gas price อยู่ในระดับต่ำ ด้วยการเพิ่มสัดส่วนปริมาณก๊าซในอ่าวไทยใน Pool gas ทั้งนี้การลดลงของค่า Ft อาจส่งผลต่อรายได้ของโรงไฟฟ้าในกลุ่มที่รายได้อ้างอิงกับค่า Ft เช่น โรงไฟฟ้าที่มีสัดส่วนลูกค้าอุตสาหกรรม (IU) สูง โรงไฟฟ้าที่มีสัญญา Private PPA และโรงไฟฟ้า SPP (Non-firm)

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบทางลบจากค่า Ft ที่ลดลง อาจถูกลดทอนลงและไม่รุนแรงเหมือนในปี 2565 เนื่องจาก Ft ที่ลดลงสอดคล้องไปกับต้นทุนพลังงานก๊าซที่ลดลง(แม้ว่าต้นทุนก๊าซธรรมชาติอาจมีความเสี่ยงจากปัญหา Geopolitics บ้างในระยะสั้น) 

ทั้งนี้ คาดว่าการใช้ไฟฟ้าทั้งในและนอกระบบการไฟฟ้าจะขยายตัว 3.5%YOY ในปี 2567 และ 3.3%(CAGR) ในปี 2568-2570 

สำหรับแนวโน้มในระยะกลาง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิลมีความเสี่ยงที่จะถูกกดดันมากขึ้นจากกระแสการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพต่ำ ทำให้ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิลอาจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสของโลก รวมถึงสอดรับไปกับแนวทาง Thailand Taxonomy   ที่เริ่มดำเนินการในกลุ่มพลังงานไปแล้ว

การผลิตไฟฟ้านอกระบบเช่น พลังงานแสงอาทิตย์โตต่อเนื่อง

สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในไทยยังมีแนวโน้มเติบโต โดยเฉพาะในกลุ่มนอกระบบการไฟฟ้า (ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปริมาณการใช้ไฟฟ้าจากทั้งในและนอกระบบการไฟฟ้าขยายตัวราว 17% ต่อปี และในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องที่ 12%) ปัจจัยสำคัญมาจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของกลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งจากกลุ่มที่ผลิตเพื่อขายลูกค้าโดยตรง (Private PPA) และกลุ่มที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง แนวโน้มในระยะข้างหน้า คาดว่าจะยังเติบโตได้ต่อเนื่อง หากพิจารณาจากแผน PDP ใหม่ที่คาดว่าจะเปิดเผยในปี 2567 กำลังการผลิตของกลุ่มแสงอาทิตย์และพลังงานลมเพิ่มขึ้นอย่างมากจากแผนเดิม (PDP2018Rev1) 

ขณะที่การผลิตไฟฟ้าจาก Biomass/Gas/Waste มีข้อจำกัดในการเติบโต เนื่องจากในปัจจุบันวัตถุดิบที่นำมาผลิตไฟฟ้าสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีมูลค่าสูงกว่าได้ ผนวกกับราคารับซื้อไฟ PPA ยังไม่จูงใจ นอกจากการเติบโตในตลาดไทยแล้ว สำหรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในต่างประเทศก็มีโอกาสเติบโตเช่นกัน ทั้งกลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์

และพลังงานลม (ส่วนหนึ่งมาจากเป้าหมายการลด GHG และ Net zero pathway ของหลายประเทศทั่วโลก) ซึ่งอาจเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยในการลงทุนในตลาดต่างประเทศ เช่น ตลาดอินเดียสำหรับกลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ ตลาดเวียดนามและไต้หวันสำหรับกลุ่มพลังงานลม เป็นต้น

 

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT