ประเทศไทยมีการเดินทาง ขนส่งสินค้าทางเรือมาตั้งแต่ในอดีต ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยกรุงบใหม่ เพื่อใช้สำหรับการคมนาคมทางน้ำ ทั้งเรือข้ามฟากและเรือโดยสาร อีกทั้งใช้เป็นแหล่งพักผ่อน และชมวิวทิวทัศน์แม่น้ำเจ้าพระยา
พร้อมออกแบบท่าเรือให้กลมกลืนกับ อาคารบริเวณใกล้เคียงโดยต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า ซึ่งท่าเรือฯ มีสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ให้บริการ
โดยแบ่งเป็นพื้นที่ลานโล่ง รวม 1,320 ตารางเมตร มีอาคารพักคอย จำนวน 2 หลัง พร้อมทางลาดสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ เก้าอี้รองรับสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ ที่จอดรถวีลแชร์และการประชาสัมพันธ์ด้วยระบบภาพและเสียง
โดยโป๊ะเทียบเรือ มีจำนวน 4 ลูก ประกอบด้วย ท่าเรือข้ามฟาก จำนวน 2 ลูก และท่าเรือโดยสาร จำนวน 2 ลูก โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 39.047 ล้านบาท พร้อมเปิดใช้ในเดือนมีนาคม 2567 นี้
สำหรับแผนพัฒนาท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นสถานีเรือ 29 ท่า อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา
โดยแบ่งเป็นท่าเรือที่ปรับปรุงแล้วเสร็จ จำนวน 9 ท่า ได้แก่
- ท่ากรมเจ้าท่า
- ท่าสะพานพุทธ
- ท่าเรือนนทบุรี
- ท่าเรือพายัพ
- ท่าบางโพ
- ท่าช้าง
- ท่าราชินี
- ท่าเตียน
- ท่าสาทร
ขณะที่ท่าเรือที่อยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุง จำนวน 5 ท่า ได้แก่
- ท่าพระปิ่นเกล้า ผลงาน 60 % คาดว่าจะแล้วเสร็จ เม.ย. 67
- ท่าพระราม 5 ผลงาน 45 % คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ค. 67
- ท่าปากเกร็ด ผลงาน 20 % คาดว่าจะแล้วเสร็จ ส.ค. 67
- ท่าพระราม 7 ผลงาน 42 % คาดว่าจะแล้วเสร็จ พ.ย. 67
- ท่าเกียกกาย ผลงาน 24 % คาดว่าจะแล้วเสร็จ ธ.ค. 67
ในปี พ.ศ. 2568 วางแผนจะพัฒนาปรับปรุงเพิ่มอีกจำนวน 4 ท่า ได้แก่
- ท่าโอเรียนเต็ล
- ท่าเทเวศร์
- ท่าสะพานกรุงธน (ซังฮี้)
- ท่าเขียวไข่กา
ในปี พ.ศ. 2569 วางแผนจะพัฒนาปรับปรุงเพิ่มอีกจำนวน 11 ท่า ได้แก่
- ท่าราชวงศ์
- ท่าวัดเทพากร
- ท่าพิบูลสงคราม
- ท่าวัดเทพนารี
- ท่าวัดตึก
- ท่ารถไฟ
- ท่าพิบูลสงคราม
- ท่าสี่พระยา
- ท่าวัดเขมา
- ท่าพรานนก
- ท่าวัดสร้อยทอง
ที่มา : กรมเจ้าท่า