ยุคนี้..ยุคที่ไรเดอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยไปแล้ว จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงโควิด-19 ระบาด จนหลายคนหันมาทำอาชีพไรเดอร์กันมากขึ้น และช่องทางให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับ-ส่งอาหาร มีอยู่หลายราย
จนวันนี้กระแสการใช้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารยังได้รับการตอบรับอย่างดีต่อเนื่อง แต่กลับพบว่า ไรเดอร์หลายรายกลับไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องของการเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งรายได้และกรณีการกำหนดราคาร่วมกันอย่างไม่เป็นธรรม
โดยเมื่อพบว่า “เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายพรเทพ ชัชวาลอมรกุล นายกสมาคมไรเดอร์ไทย นายประสิทธ์ จันทาเทพ รองนายกสมาคมแท็กซี่ยานยนต์ไฟฟ้า และนายสันติ ปฏิภาณรัตน์ นายกสมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รับจ้างสาธารณะ รวมตัวไรเดอร์ทุกแพลตฟอร์ม เข้าร้องเรียน ณ สำนักงาน กขค. กรณีไรเดอร์ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งรายได้และกรณีการกำหนดราคาร่วมกันอย่างไม่เป็นธรรม จากผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร ซึ่งอาจเข้าข่ายลักษณะพฤติกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมและอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560” นางจอมขวัญ นิธิอุทัย อิเดะ ผู้อำนวยการฝ่ายแสวงหาข้อเท็จจริงทั่วไป สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (สำนักงาน กขค.) กล่าว
ทั้งนี้ เรื่องร้องเรียนดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 กรณี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล เลขาธิการ กขค. กล่าวว่า ในทางปฏิบัติเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องแล้ว สำนักงาน กขค. จะดำเนินการพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเบื้องต้นภายใน 1 สัปดาห์ และนำเสนอต่อ กขค. ทราบว่ามีเรื่องร้องเรียนเข้ามา จากนั้นจะใช้ระยะเวลา
โดยการแสวงหาข้อเท็จจริงตามกรอบของกฎหมายโดยเร่งด่วนไม่เกิน 30 วัน เพื่อหาข้อเท็จจริงพร้อมเหตุผลประกอบเรื่องร้องเรียนดังกล่าวว่าเข้าข่ายการกระทำความผิดหรือไม่ หากพบว่า เข้าข่ายกระทำความผิดจริง ตาม พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 สำนักงาน กขค. จะเสนอ กขค. พิจารณาดำเนินการตามกฎหมายในการตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนหรือคณะอนุกรรมการพิจารณาความผิดทางปกครองแล้วแต่กรณีแต่หากไม่เข้าข่ายการกระทำความผิดจะเสนอยุติเรื่องโดยทั้งนี้จะเป็นอำนาจของ กขค.ในการพิจารณา
เราคงต้องรอดูกันต่อไปว่า..สิ่งที่ไรเดอร์ร้องขอความเป็นธรรม..ผลจะออกมาเป็นอย่างไร?