เดือนแห่งความรัก นอกจากแสดงออกถึงความรักด้วยการพาคนรักไปทานอาหารบรรยากาศดีๆ ซื้อของขวัญหรูๆ แล้วการมอบของขวัญให้กับคนรักที่เป็นสมาชิกในครอบครัวอย่างคู่ชีวิต บุตร หรือพ่อแม่ ฯลฯ ด้วยของขวัญที่เป็นตัวช่วยทางการเงิน ก็สามารถเป็นการแสดงออกทางความรักที่ได้สิทธิและประโยชน์ทางการเงินมากขึ้นด้วย
มาดูว่าของขวัญที่ต่อยอดทางการเงินได้ มีอะไรบ้าง?
ทางเลือกเก็บสะสมเงินให้ลูกน้อยวัยเรียน โดยเปิดบัญชีในนามลูกน้อย เพื่อทยอยสะสมเป็นเงินก้อนโต และการที่ลูกมีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีด้วยแล้ว จะช่วยให้ลูกมีความรู้สึกเป็นเจ้าของเงินบัญชีและภูมิใจในเงินที่มีมากขึ้น และหากให้ลูกมีโอกาสร่วมเก็บเงินโดยอาจมีพ่อแม่ช่วยสมทบเงินเก็บเพิ่ม ก็จะช่วยสร้างนิสัยการเก็บเงินให้ลูก เพื่อที่อนาคตหลังมีเงินค่าขนมมากขึ้นหรือมีรายได้เป็นของตนเอง ก็มีโอกาสที่จะเก็บเงินได้มากขึ้นตาม
โดยเงินฝากประจำ เป็นทางเลือกเก็บเงินที่ไม่สามารถถอนออกได้ง่ายๆ เพราะต้องเดินทางไปถอนเงินด้วยตนเองที่สาขาธนาคาร ก็เป็นตัวช่วยให้เก็บเงินได้อยู่กับตัวมากขึ้น โดยเงินฝากประจำ ตัวอย่างเช่น
คนรักที่เริ่มโตมากขึ้น เช่น ลูก หลาน น้อง ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และเริ่มมีเงินเก็บเป็นของตนเอง ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายต้องรับผิดชอบมากนัก สามารถชวนคนรัก เปิดบัญชีกองทุนรวมที่สาขาธนาคารหรือ Mobile Banking ของธนาคาร และมอบเงินก้อนหนึ่งให้คนรักลองนำไปลงทุนกองทุน Term Fund 3 เดือน หรือ 6 เดือน หรือ Term Fund ที่มีระยะเวลาสั้นๆ
เพื่อที่หลังคนรักถือ Term Fund ครบอายุกองทุน ก็ชวนกันมาดูเงินต้นพร้อมผลตอบแทนที่ได้รับจากของขวัญที่เคยให้ ตอนที่เปิดบัญชีกองทุน และเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาใกล้เคียงกัน ว่าผลตอบแทนที่ได้รับต่างกันแค่ไหน เพื่อทำให้คนรักได้เริ่มต้นรู้จักมองหาทางเลือกการเก็บหรือลงทุน ที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าเพียงแค่ฝากเงินไว้กับธนาคาร
3.กองทุนลดหย่อนภาษี
ของขวัญชิ้นนี้สามารถมอบให้กับคนที่อยู่วัยทำงานทุกคนที่มีรายได้เดือนละ 26,000 บาทขึ้นไป ตั้งแต่ลูกหลานที่เริ่มต้นทำงานไม่นานไปจนถึงคุณพ่อคุณแม่ที่รายได้มากเสียภาษีในอัตราที่สูง
ตัวอย่างการนำเงิน 10,000 บาท ไปเป็นของขวัญให้คนรักนำเงินนี้ไปลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษีในชื่อคนรัก หากคนรักมีเงินเดือนประมาณ 50,000 บาท หรือฐานภาษี 10% ของขวัญที่ให้ไปจะทำให้ได้เงินคืนภาษีกลับมาประมาณ 1,000 บาท
สำหรับคนที่มีรายได้มากขึ้น เช่น พ่อแม่ที่อายุงานสูงอยู่ในวัยใกล้เกษียณ หากมีเงินเดือนประมาณ 100,000 บาท หรือฐานภาษี 25% ของขวัญจำนวน 10,000 บาทที่เท่ากันนั้น จะทำให้ได้เงินคืนภาษีกลับมาสูงขึ้นเป็นประมาณ 2,500 บาท เป็นต้น
ของขวัญที่เลือกให้คนรักนี้ หากแบ่งตามช่วงวัย
โดยกองทุน RMF และกองทุน ThaiESG ที่นำเงินให้คนรักไปซื้อนั้น แนะนำให้เป็นกองทุนตราสารหนี้เป็นหลักก่อน เพื่อให้คนรักได้ค่อยๆ เห็นประโยชน์จากการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี และเริ่มสนใจลงทุนด้วยตนเองในปีต่อๆ ไป หลังจากนั้นจึงค่อยแนะนำนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับความความเสี่ยงที่คนรักรับได้ และเหมาะสมกับการลงทุนระยะยาว เช่น กองทุนผสม กองทุนหุ้น เป็นต้น
เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลแต่ละครั้ง มักมีค่าใช้จ่ายที่สูง ดังนั้นหลายครั้งที่คนที่เรารักมีอาการเจ็บป่วยแต่เลือกที่จะไม่บอกคนในครอบครัวเพราะกังวลกับค่าใช้จ่ายนั้น ซึ่งหากโชคร้ายการเจ็บป่วยนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของความสูญเสียครั้งใหญ่ คงเป็นเรื่องที่น่าเสียใจ
การซื้อประกันสุขภาพให้คนรัก โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่สูงอายุ เป็นหนึ่งในของขวัญที่มีมูลค่าสูงกว่าค่าเบี้ยที่จ่ายไปหลายเท่าตัว เพราะทำให้คนรักเมื่อเกิดเจ็บป่วย จะยินดีไปโรงพยาบาลได้ง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น นอกจากนี้หาก
สำหรับคนมีห่วง ที่มีพ่อแม่สูงอายุหรือลูกน้อยต้องดูแล ไม่ว่าจะเป็นคนที่ยังมีรายได้หรือเงินเก็บน้อยที่กังวลว่าหากตนเป็นอะไรไปครอบครัวจะขาดเสาหลักให้พึ่งพา หรือคนที่มีรายได้สูงมีกิจการใหญ่โตแต่ยังมีภาระหนี้ก้อนโตอยู่ที่กังวลว่าหากตนเป็นอะไรไป หนี้นั้นจะเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว
การซื้อประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาหรือประกันชีวิตแบบคุ้มครองตลอดชีพที่สามารถใช้เงินปีละหลักพันหลักหมื่นเป็นเบี้ยประกันชีวิต เพื่อให้มีเงินเอาประกันหลักแสนหลักล้านและระบุคนรักเป็นผู้รับผลประโยชน์ได้ ถือเป็นของขวัญชิ้นโต ที่ต้นทุนน้อย เพื่อแสดงความห่วงใยที่มีต่อคนในครอบครัวได้ อีกทั้งเบี้ยประกันที่จ่ายไป ยังนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดปีละ 100,000 บาท ด้วย
ของขวัญแสดงความรัก ไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุ ของใช้ หรือบรรยากาศสวยหรูเท่านั้น แต่การกระทำ คำพูด ณ วันนี้ รวมถึงการแสดงให้เห็นถึงความห่วงใยในอนาคตทางการเงินของคนรัก ผ่านของขวัญที่เป็นตัวช่วยทางการเงินต่างๆ ก็เป็นการแสดงออกถึงความรักได้มาก และยืนยาวไปอีกหลายปี
นักวางแผนการเงิน CFP