แต่สถานการณ์สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปีนี้จะเป็นเช่นไร จะดีขึ้นไหม? คนไทยยังแห่ซื้อรถเพิ่ม? หนี้เสียจะเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน ท่ามกลางกระแสรถยนต์ไฟฟ้ามาแรง และจะยังแรงอยู่หรือไม่?
โดยตลาดรถมือสองจะเป็นผู้ให้บริการกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเป็นหลัก โดยเฉพาะนอนแบงก์ และเต้นท์รถ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ที่จะผสมผสานพอร์ตรถ แต่จะมีรถมือสองค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง
โดยปี 2567 ได้รับอานิสงส์จากการเร่งตัวขึ้นของยอดขายรถใหม่ คาดการณ์ที่ 800,000 คัน จากปีก่อน 776,000 คัน จะมีผลเหนืออัตราการตัดขายหนี้ปี 2567 และคาดว่าจะมีโอกาสเห็นยอดคงค้างสินเชื่อที่พลิกกลับมาขยายตัวที่ 1.5% สู่ระดับ 1.197 ล้านล้านบาท
แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวที่ไม่ทั่วถึง ประกอบกับปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงและปัญหาอำนาจซื้อ จึงทำให้อัตราการเติบโตของสินเชื่อเช่าซื้ออย่างมีข้อจำกัด เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อนโควิดที่ขยายตัว 6.0% ต่อปี
จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พบว่า NPLs ของสินเชื่อเช่าซื้อในะบบธนาคารพาณิชย์ขยับขึ้นจากระดับ 2.23 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นปี 2565 คิดเป็น 1.89% ของสินเชื่อรวม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ ยอดหนี้เสียคงค้างของสินเชื่อเช่าซื้อจจะขยับขึ้นไปที่ 2.66 หมื่นล้านบาท จาก 2..51 หมื่นล้านบาท แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเป็นปีที่ 2 ซึ่งมองว่า ผู้ให้บริการจะมีการปรับโครงสร้างหนี้มากขึ้น และตัดหนี้เสียอย่างรวดเร็ว จึงทำให้คาดว่าหนี้เสียเช่าซื้อปีนี้ น่าจะอยู่ที่ระดับ 2.2% ต่อสินเชื่อเช่าซื้อโดยรวมใจ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 2.13%
โดยความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า BEV ค่อนข้างมาแรง ซึ่งจะมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของค่ายรถ และกลุ่มผู้ให้บริการเช่าซื้อของบริษัทรถยนต์ที่เน้นการทำการตลาดรถยนต์สันดาปเป็นหลัก รวมถึง ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BEV อาจเข้ามารุกตลาดสินเชื่อเช่าซื้อเอง ซึ่งมีผลต่อทิศทางการแข่งขันในระยะต่อไป ส่วนหลักเกณฑ์ชองทางการเริ่มทยอยใช้และมีประเด็นที่ต้องจับตา ได้แก่ เกณฑ์การปล่อยสินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบมากกว่าปัจจัยบวก