ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 30 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้ เปิดตลาด 36.72 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.80 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนและกลับมาอ่อนค่าขึ้นอย่างรวดเร็วแตะระดับ 36.96 บาท/ดอลลาร์ เมื่อวานนี้ จากการที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ ที่ 4.6% และส่งผลให้ DOLLAR INDEX แข็งค่ากว่า 0.5%
สาเหตุหลักมาจากการที่ กระทรวงการคลังสหรัฐทำการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 5 ปี แต่ BID-TO-COVER RATIO ลดลงสู่ระดับ 2.3 เท่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ระดับ 2.45 เท่า กดดันค่าเงินบาทไทยให้อ่อนค่าตามกลไกของตลาด ท่ามกลางปัจจัยการเมืองในประเทศที่กลับมาสร้างแรงกดดันให้กับตลาดการเงิน
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2567 เมื่อคืน โดยเศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 1.3% ในไตรมาสดังกล่าว ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ที่ระดับ 1.6% แต่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 1.2% และกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 3,000 ราย สู่ระดับ 219,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 218,000 ราย
ตลาดรอดูตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันนี้ เพื่อหาสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วง เวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.60-36.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ
เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 2,066 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,372 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.60- 36.80
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.60 และขายที่ระดับเหนือ 36.80
EUR/THB 39.60- 39.90
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.90
JPY/THB 0.2330- 0.2370
แนะนำ ทยอยซื้อ 0.2330
GBP/THB 46.60-47.00
AUD/THB 24.20- 24.60
สอบถามเพิ่มเติม
FX Sale
02-676-8088/02-676-8030
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 30 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.85 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเมื่อเทียกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 36.75 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ โดยได้แรงหนุนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปรับตัวเหนือระดับ 4.5% หลังข้อมูลบ่งชี้ว่าความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือน พ.ค. ซึ่งทำให้นักลงทุนปรับลดคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.ย.
นักลงทุนจะจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันศุกร์นี้เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้เงินเฟ้อ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,073 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 3,562 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.70-37.00
แนะนำทยอยซื้อที่ 36.70/ขาย 36.95
EUR/THB 39.50 - 40.00
แนะนำทยอยซื้อที่ 39.50 / ขาย 40.00
JPY/THB 0.2315 - 0.2355
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2315 - 0.2355
GBP/THB 46.50 - 47.00
AUD/THB 24.20 - 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 29 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.62 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวเล็กน้อยเมื่อเทียบจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.63 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์เคลื่อนไหวช่วงแคบๆเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยนักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ (31 พ.ค.) เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปีนี้ โดยจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ย. จากเดิมที่คาดไว้ในเดือน ก.ย.
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประสานเสียงส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินในวันที่ 6 มิ.ย.
หาก ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 6 มิ.ย. ก็จะทำให้ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าเฟด
เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 196 ล้านบาท
และขายสุทธิหุ้นไทย 1,660.46 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50 - 36.80
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.80
EUR/THB 39.50 - 39.90
แนะนำ ซื้อ 39.50/ ขาย 39.90
JPY/THB 0.2310 - 0.2350
แนะนำ ซื้อ 0.2310 / ขาย 0.2350
GBP/THB 46.60 - 46.90
AUD/THB 24.10 - 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 28 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด อยู่ที่ 36.60 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวันวานที่ระดับ 36.63 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินยูโรอ่อนค่าเทียบดอลลาร์และปอนด์ ขานรับคาดการณ์ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อนธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมนโยบายการเงินวันที่ 6 มิ.ย.
โดยหาก ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% จะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเร็วที่สุดในเดือน พ.ย. ท่ามกลางความกังวลที่ว่า เฟดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้ จากตัวเลขภาคการผลิตและภาคบริการ รวมทั้งตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง
ตลาดจับตาดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันที่ 31 พ.ค. เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด
ปิดตลาดเมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิพันธบัตรไทย 576 ล้านบาท และขายสุทธิหุ้นไทย 1,071 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50- 36.80
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.70
EUR/THB 39.60- 39.80
แนะนำ ซื้อ 39.60 / ขาย 39.80
JPY/THB 0.2320- 0.2350
แนะนำ ซื้อ 0.2320/ ขาย 0.2350
GBP/THB 46.50- 46.80
AUD/THB 24.25- 24.60
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 27 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด อยู่ที่ 36.63 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 36.69 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ เนื่องจากมีการเทขายทำกำไรหลังการแข็งค่าในช่วงที่ผ่านมา แต่ดอลลาร์ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นต่อ โดยได้แรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐซึ่งทำให้ตลาดลดการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
ข้อมูลที่เปิดเผยในวันศุกร์ยอดสั่งซื้อใหม่สำหรับสินค้าทุนที่ผลิตโดยสหรัฐเพิ่มขึ้นมากเกินคาดในเดือน เม.ย.และการส่งออกสินค้าเหล่านี้เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งบ่งชี้ว่าการใช้จ่ายทางธุรกิจในด้านอุปกรณ์เพิ่มขึ้นในไตรมาส 2 และสัปดาห์นี้ จับตาปัจจัยสำคัญได้แก่ ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์ราคาทองคำในตลาดโลก และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด รวมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ค. และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ที่จะมีการเปิดเผยในวันที่ 31 พ.ค. รวมถึงตัวเลขจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด
ปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรไทยสุทธิ 63 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 834 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.40- 36.80
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.40/ ขาย 36.80
EUR/THB 39.50- 39.90
แนะนำ ซื้อ 39.50/ ขาย 39.90
JPY/THB 0.2320- 0.2360
แนะนำ ซื้อ 0.2320/ ขาย 0.2360
GBP/THB 46.40- 46.80
AUD/THB 24.10- 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 24 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.65 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.55 บาท/ดอลลาร์
เงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ท่ามกลางความกังวลที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้ หลังเฟดเปิดเผยรายงานการประชุมเมื่อต้นสัปดาห์ที่ระบุว่า กรรมการเฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อ และไม่มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงมากพอที่จะทำให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้หรือไม่
พร้อมกันนี้ล่าสุดสหรัฐเปิดเผยตัวเลขภาคการผลิตและภาคบริการ รวมทั้งตลาดแรงงานที่แข็งแกร่ง ทำให้คาดการณ์ว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพียงครั้งเดียวในปีนี้ โดยจะเกิดขึ้นในเดือน พ.ย. จากเดิมที่คาดไว้ในเดือน ก.ย.
โดยล่าสุดดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 54.4 ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 25 เดือน จากระดับ 51.3 ในเดือน เม.ย.
รวมทั้ง ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของสหรัฐลดลง 8,000 ราย สู่ระดับ 215,000 ราย ในสัปดาห์ที่แล้ว ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 220,000 ราย
ปิดตลาดวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 1,014.36 ล้านบาท และขายสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 1,259 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.50 - 36.80
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.50/ ขาย 36.80
EUR/THB 39.40 - 39.90
แนะนำ ซื้อ 39.40/ ขาย 39.90
JPY/THB 0.2310 - 0.2350
แนะนำ ซื้อ 0.2310 / ขาย 0.2350
GBP/THB 46.30 - 46.80
AUD/THB 24.00 - 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 23 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด อยู่ที่ 36.48 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวันอังคารที่ระดับ 36.31 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร สอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดควรรอหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการชะลอตัวของเงินเฟ้อ ก่อนที่จะตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทำให้มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาดไว้
จับตารายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟดประจำวันที่ 30 เม.ย.-1 พ.ค. รวมทั้งดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั้งนี้ ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ โดยวัดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค ที่จะมีการเปิดเผยในวันที่ 31 พ.ค. เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด นอกจากนี้ จับตา ธนาคารกลางยุโรป ECB คาดว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันที่ 6 มิ.ย. นี้
ปิดตลาดเมื่อวันอังคาร นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรไทยสุทธิ 596 ล้านบาท และขายหุ้นไทยสุทธิ 3,150 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.30- 36.70
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.30/ ขาย 36.70
EUR/THB 39.30- 39.70
แนะนำ ซื้อ 39.30/ ขาย 39.70
JPY/THB 0.2310- 0.2350
แนะนำ ซื้อ 0.2310/ ขาย 0.2350
GBP/THB 46.20- 46.60
AUD/THB 24.10- 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 21 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.17 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 36.07 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลหลัก สอดคล้องกับการดีดตัวขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจ และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมทั้งรายงานการประชุมนโยบายการเงินของเฟดซึ่งประชุมไปเมื่อปลายเดือนที่แล้ว ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันพุธ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 8,324 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยเล็กน้อยที่ 104 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.10- 36.50
แนะนำ ซื้อ 36.10/ ขาย 36.50
EUR/THB 39.15- 39.60
แนะนำ ซื้อ 39.15 / ขาย 39.60
JPY/THB 0.2300- 0.2340
แนะนำ ซื้อ 0.2300/ ขาย 0.2340
GBP/THB 45.80- 46.30
AUD/THB 24.00- 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 20 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.10 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 36.28 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ขณะที่ตลาดยังคงคาดการณ์เกี่ยวกับกำหนดเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง ท่ามกลางสัญญาณเงินเฟ้อที่ชะลอตัว โดยนักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้กำหนดเวลาในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ
ทั้งนี้ นายพาวเวลมีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ของสหรัฐในวันอาทิตย์ที่ 19 พ.ค. เวลา 15.30 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับเช้าวันจันทร์ที่ 20 พ.ค. เวลา 02.30 น.ตามเวลาไทย
เมื่อวันศุกร์ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 145 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 832 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.00- 36.30
แนะนำ ซื้อ 36.00/ ขาย 36.30
EUR/THB 39.10- 39.60
แนะนำ ซื้อ 39.10 / ขาย 39.60
JPY/THB 0.2300- 0.2350
แนะนำ ซื้อ 0.2300/ ขาย 0.2350
GBP/THB 45.70- 47.20
AUD/THB 24.00- 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 17 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.27 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.15 บาท/ดอลลาร์
*ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนและกลับมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อวานนี้ เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับบรรดาสกุลเงินหลัก หลังตลาดคลายกังวลแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด และคงคาดการณ์ว่าเฟดยังมีโอกาสลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้งในปีนี้ จากรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ที่ชะลอลง โดยข้อมูลดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเม.ย. ของสหรัฐปรับตัวขึ้นเพียง 0.3% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ชะลอตัวลงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ 0.4% ซึ่งถือว่าตัวเลขออกมาต่ำกว่าคาดการณ์เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เดือนม.ค.
* การปรับตัวอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ในช่วงนี้สอดคล้องกับ BOND YIELD สหรัฐฯที่ทยอยปรับตัวลงแรงเช่นกัน โดยล่าสุด BOND YIELD สหรัฐฯ 10 ปี กลับมาต่ำกว่าระดับ 4.40% และ
ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่าขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 75.3% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 65.1%
**สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวผันผวนตามราคาทองคำ และเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติทั้งในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทย โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.10 - 36.35 บาท/ดอลลาร์ฯ
*เมื่อวานนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,084 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 3,566 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.10- 36.35
*แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.10 และขายที่ระดับเหนือ 36.35
EUR/THB 39.30- 39.70
* แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.70
JPY/THB 0.2320- 0.2360
* แนะนำ ทยอยซื้อ 0.2320
GBP/THB 45.80-46.20
AUD/THB 24.00- 24.40
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 16 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.25 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเมื่อเทียบกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 36.55 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ที่ต่ำกว่าคาดในเดือนเม.ย. ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
ทั้งนี้ ดัชนี CPI เดือนเม.ย.ที่ออกมาต่ำกว่าคาดเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเงินเฟ้อของสหรัฐเริ่มเข้าสู่ช่วงขาลงในไตรมาส 2 ปีนี้
ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 52.1% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการประชุมเดือนก.ย. นอกจากนี้ นักลงทุนให้น้ำหนัก 38.6% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมเดือนธ.ค.
นักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยในวันนี้จะมีการเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนเม.ย., ราคานำเข้าและส่งออกเดือนเม.ย. และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. ส่วนในวันพรุ่งนี้จะเป็นการเปิดเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย.โดย Conference Board
วานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 584 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 2,638 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.10 - 36.40
แนะนำทยอยซื้อที่ 36.15/ขาย 36.40
EUR/THB 39.25 - 39.75
แนะนำทยอยซื้อที่ 39.25 / ขาย 39.70
JPY/THB 0.2330 - 0.2370
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2330 - 0.2370
GBP/THB 45.80 - 46.30
AUD/THB 24.15 - 24.45
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.58 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.68 บาท/ดอลลาร์
เงินดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าเฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก แม้ว่าตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสหรัฐ ออกมาสูงกว่าคาด
โดยล่าสุด ดัชนี PPI ทั่วไปของสหรัฐ (Headline PPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.2% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายปี สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 1.8% ในเดือน มี.ค.
ขณะที่ดัชนี PPI ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.3% ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายเดือน สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.2%
ทั้งนี้ตลาดจับตาดูตัวเลข CPI ของสหรัฐที่จะประกาศในคืนนี้ เพื่อประกอบในการพิจารณานโยบายการเงินของ FED
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นไทย 2,301.96 ล้านบาท และซื้อสุทธิตลาดพันธบัตรไทย 558 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.40 - 36.70
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.40/ ขาย 36.70
EUR/THB 39.40 - 39.80
แนะนำ ซื้อ 39.40/ ขาย 39.80
JPY/THB 0.2320 - 0.2360
แนะนำ ซื้อ 0.2320 / ขาย 0.2360
GBP/THB 45.80 - 46.30
AUD/THB 24.00 - 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 14 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.80 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานนี้ที่ระดับ 36.82 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์เคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากตลาดรอตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งทางสหรัฐจะมีการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)ในวันนี้ (14 พ.ค.) และจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันพุธที่ 15 พ.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี CPI ทั่วไปซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.5% ในเดือน มี.ค. และเมื่อเทียบเป็นรายเดือน คาดว่าดัชนี CPI ทั่วไปจะปรับตัวขึ้น 0.4% ในเดือน เม.ย. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน มี.ค. เช่นกัน
ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน คาดว่าจะปรับตัวขึ้น 3.6% ในเดือน เม.ย. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 3.8% ในเดือน มี.ค. และเมื่อเทียบเป็นรายเดือน คาดว่าดัชนี CPI พื้นฐานจะปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือน เม.ย. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน มี.ค.
นอกเหนือจากตัวเลขเงินเฟ้อแล้ว นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือน เม.ย.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB), ยอดค้าปลีกเดือน เม.ย., ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือน พ.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือน เม.ย., การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน เม.ย. และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือน เม.ย.จาก Conference Board
เมื่อวานนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,848 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,150 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.65 - 36.95
แนะนำทยอยซื้อที่ 36.65/ขาย 36.95
EUR/THB 39.50 - 40.00
แนะนำทยอยซื้อที่ 39.50 / ขาย 39.90
JPY/THB 0.2335 - 0.2375
แนะนำทยอยซื้อที่ 0.2335 - 0.2375
GBP/THB 46.00 - 46.50
AUD/THB 24.15 - 24.45
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 13 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.80 อ่อนค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ระดับ 36.70 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนและเริ่มกลับมาอ่อนค่า แม้ว่าในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทจะแข็งค่าตามภาพรวมการแข็งค่าของสกุลเงินในภูมิภาคที่นำโดย เงินหยวนและเงินเยนก็ตาม อีกทั้งได้แรงหนุนจากราคาทองคำที่รีบาวด์ขึ้นต่อเนื่องและกลับมายืนเหนือ 2,350 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยขายทำกำไรทองคำออกมาบ้าง ซึ่งธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนหนุนให้เงินบาทชะลอการอ่อนค่า
ตลาดจับตาตัวเลขเงินเฟ้อในสัปดาห์นี้ โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในวันที่ 14 พ.ค. และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในวันที่ 15 พ.ค. รวมไปถึงพิจารณาการแสดงความเห็นจากเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อดูแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ แม้กำหนดเวลาและขอบเขตของการปรับลดยังไม่แน่นอนก็ตาม.
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวผันผวนตามราคาทองคำ ค่าเงินเยน และเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติทั้งในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทย โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.65-36.90 บาท/ดอลลาร์ฯ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 141 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 616 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.65- 36.90
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.65 และขายที่ระดับเหนือ 36.90
EUR/THB 39.50- 39.90
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.90
JPY/THB 0.2350- 0.2390
แนะนำ ทยอยซื้อ 0.2350
GBP/THB 45.90-46.90
AUD/THB 24.10- 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 10 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 36.71 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.84 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์อ่อนค่าเทียบสกุลเงินหลัก หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาด ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 22,000 ราย สู่ระดับ 231,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 8 เดือน
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติด้วยคะแนนเสียง 7-2 ในการคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25%
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 1,931 ล้านบาท และขายสุทธิในตลาดหุ้นไทย 1,280 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.60- 36.90
แนะนำ ซื้อ 36.60/ ขาย 36.90
EUR/THB 39.20- 39.70
แนะนำ ซื้อ 39.20 / ขาย 39.70
JPY/THB 0.2330- 0.2380
แนะนำ ซื้อ 0.2330/ ขาย 0.2380
GBP/THB 45.70- 47.20
AUD/THB 24.00- 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 9 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด อยู่ที่ 36.95 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับราคาปิดตลาดเมื่อวานที่ระดับ 36.97 บาท/ดอลลาร์
ดอลลาร์แข็งค่าเทียบสกุลเงินหลัก สอดรับกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขามินเนอาโพลิส ระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่เฟดจะยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้มั่นใจว่าเงินเฟ้อจะเป็นไปตามเป้าหมาย
ตลาดจับตาแถลงการณ์ของ BoE ในวันนี้ ซึ่งอาจส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
เมื่อวานนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อพันธบัตรไทยสุทธิ 3,211 ล้านบาท และขายสุทธิหุ้นไทย 1,497 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.80 - 37.10
แนะนำ ทยอยซื้อที่ 36.80 / ขาย 37.10
EUR/THB 39.60- 40.00
แนะนำ ซื้อ 39.60/ ขาย 40.00
JPY/THB 0.2360- 0.2400
แนะนำ ซื้อ 0.2360/ ขาย 0.2400
GBP/THB 46.00- 46.40
AUD/THB 24.10- 24.50
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)
ค่าเงินบาทเช้านี้
วันที่ 2 พฤษภาคม 2567
ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 37.03 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากราคาปิดตลาดเมื่อวันทำการก่อนหน้าที่ระดับ 37.10 บาท/ดอลลาร์
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนในทิศทางอ่อนค่าแตะระดับ 37.20 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ราคาทองคำปรับลดลงหลุดระดับ 2,310 ในวันหยุดแรงงานเมื่อวานนี้ แต่หลังจากผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งคงดอกเบี้ยตามคาดการณ์ที่ระดับ 5.25-5.50% ค่าเงินบาทก็กลับมาเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 37.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ
ค่าเงินบาทในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาอ่อนค่าเร็ว โดยหลังเกิดสงครามระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน เงินบาทอ่อนค่าประมาณ 1.6% อย่างไรก็ตามในเดือนเม.ย.การอ่อนค่านี้ยังใกล้เคียงกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค แต่หากดูตั้งแต่ต้นปี 2024 เงินบาทอ่อนค่าถึง 7.8% ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาค เป็นรองแค่เงินเยนที่อ่อนค่าถึง 9.6% โดยตลาดยังคงมองว่าการอ่อนค่าของสกุลเงินอื่นในภูมิภาคทั้งเงินหยวนและเงินเยนจะเป็นปัจจัยกดดันให้บาทอ่อนค่าตามได้เช่นกัน
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวผันผวนตามราคาทองคำและเม็ดเงินลงทุนของต่างชาติทั้งในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทย โดยคาดกรอบการเคลื่อนไหวที่ 36.95-37.20 บาท/ดอลลาร์
เมื่อวันทำการที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตรไทย 4,549 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทย 975 ล้านบาท
กรอบค่าเงินวันนี้และกลยุทธ์แนะนำ
USD/THB 36.95- 37.20
แนะนำ ทยอยซื้อที่ระดับ 36.95 และขายที่ระดับเหนือ 37.20
EUR/THB 39.50- 39.90
แนะนำ ทยอยขายที่ระดับ 39.90
JPY/THB 0.2360- 0.2400
แนะนำ ทยอยซื้อ 0.2360
GBP/THB 46.20-46.80
AUD/THB 24.00- 24.40
ที่มา : ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb)