เงินบาทดูอ่อนค่าลงในช่วงที่มีข่าวการขึ้นภาษีของโดนัลด์ ทรัมป์ ต่อประเทศต่างๆในโลกรวมถึงไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ภาษีสูงมาก แต่บทวิเคราะห์ของ KKP Research ตั้งข้อสังกตุว่า เงินบาทไทยอยู่ในทิศทางแข็งค่าขึ้น สวนทางกับปัจจัยพื้นฐานที่จะอ่อน เพราะตั้งแต่ช่วงปลายปี 2024 จนถึงต้นปี 2025 ก่อนทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษี ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือแม้ในช่วงที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เงินบาทก็ไม่ได้แข็งค่าตามทันที
KKP Research ระบุว่า เงินบาทกลับกลายเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค โดยเฉพาะเมื่อวัดเทียบกับกลุ่มประเทศคู่ค้าของไทย ค่าเงินบาทแข็งแกร่งถึงขั้นใกล้เคียงกับช่วงหลังวิกฤตปี 1997 เลยทีเดียว
โดยปกติค่าเงินจะแข็งหรือลดลงตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้จากการท่องเที่ยว ดุลการค้า หรือความเชื่อมั่นของนักลงทุน แต่ในรอบนี้ KKP Research ชี้ว่า การแข็งค่าของเงินบาทดูจะ “สวนทางกับความเป็นจริง” หลายด้าน เช่น
ทั้งหมดนี้ทำให้การแข็งค่าของเงินบาทครั้งนี้ดู “ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ”
เมื่อค่าเงินบาทแข็งขึ้นมาก ย่อมส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นเคยเจอหลังการเข้าร่วม Plaza Accord ในอดีต ยิ่งในช่วงนี้ที่ภาคการผลิตของไทยยังเปราะบาง การแข็งค่าของเงินบาทยิ่งเพิ่มแรงกดดัน เพราะรายได้จากการท่องเที่ยวที่ช่วยหนุนเศรษฐกิจในอดีต ไม่ได้มากพอจะชดเชยได้เหมือนก่อน
KKP วิเคราะห์ว่าค่าเงินบาทช่วงนี้ตอบสนองต่อ “ปัจจัยภายนอก” มากกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาค สาเหตุเพราะราคาทองคำ และ ราคาน้ำมัน
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ตรวจสอบได้ยาก หรือมีที่มาไม่ชัดเจน คือ Error and Omissions หรือค่าคลาดเคลื่อนทางสถิติในดุลการชำระเงินของไทย ซึ่งมีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่องมาหลายไตรมาสและขนาดใหญ่กว่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด โดยไม่สามารถอธิบายที่มาที่ไปได้ชัดเจน ซึ่งอาจหมายถึงการมีเงินไหลเข้าไทยต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมาแต่ไม่ได้ถูกสำรวจคลอบคลุมในตัวเลขของทางการ เช่น การนำเงินเข้ามาผ่านช่องทางที่ผิดกฎหมาย หรือการเก็บข้อมูลที่ผิดพลาด เช่น มีการคำนวนรายรับนักท่องเที่ยวที่ต่ำกว่าความเป็นจริง
“Dutch Disease” คือภาวะที่เศรษฐกิจพึ่งพารายได้บางอย่างมากเกินไปจนทำให้ค่าเงินแข็ง ส่งผลเสียต่อภาคผลิตและการส่งออก ในกรณีของไทย รายได้จากการท่องเที่ยวที่สูงขึ้น ราคาทองที่พุ่ง และเงินที่ไหลเข้ามาแบบไม่มีที่มา อาจทำให้เงินบาทแข็งต่อไปอีก และกระทบอุตสาหกรรมไทยในระยะยาว
แม้ปัจจุบันเงินบาทดูจะแข็งขึ้น แต่ KKP Research คาดว่าในช่วงถัดไป โดยเฉพาะจากไตรมาส 2 เป็นต้นไป มีโอกาสสูงที่เงินบาทจะกลับมาอ่อนค่าจาก 3 ปัจจัยหลัก
ในระยะยาว KKP ยังห่วงเรื่องศักยภาพในการแข่งขันของภาคส่งออกไทย เพราะการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวช่วยลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ (Shock Absorber) และช่วยให้การส่งออกไทยบางกลุ่มปรับตัวดีขึ้นแทนเหมือนช่วงหลังวิกฤติปี 1997 ที่เงินบาทอ่อนค่าลงและการส่งออกขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว แต่หากพฤติกรรมของค่าเงินบาทไทยยังคงเหมือนในภาวะปัจจุบันที่แม้การส่งออกและท่องเที่ยวจะแย่ลงมากแต่เงินบาทกลับยังแข็งค่าตามปัจจัยต่างประเทศ จะยิ่งน่ากังวลมากขึ้นว่าภาคอุตสาหกรรมไทยอาจได้รับผลกระทบที่รุนแรงกว่าเดิม อาจทำให้ไทยฟื้นตัวยากขึ้น และกลายเป็นภาระต่อเศรษฐกิจในระยะยาว
ที่มา : KKP Research