การเงิน

ราคาทองคำไทยไปต่ออย่างไร หลังทองคำโลก พุ่งทะลุ2,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์

24 ต.ค. 67
ราคาทองคำไทยไปต่ออย่างไร หลังทองคำโลก พุ่งทะลุ2,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ไฮไลท์ Highlight

ราคาทองคำจะเพิ่มช่วงการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำได้หรือไม่ อาจต้องพิจารณาทั้งในส่วนของราคาทองคำโลก และค่าเงินบาท โดยปัจจัยหนุนที่สำคัญของราคาทองคำในระยะนี้ อันดับแรก คือ ขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งในพื้นที่ตะวันออกกลาง, สมรภูมิรัสเซีย-ยูเครน และช่องแคบจีน-ไต้หวัน เป็นต้น และสุดท้ายการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในวันที่ 5 พ.ย.67

เมื่อวันที่ 18 ต.ค.67 ราคาทองคำไทยมีการปรับตัวขึ้นสร้างระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 42,450 บาทต่อบาททองคำ ซึ่งถูกหนุนด้วยราคาทองคำโลกที่มีการสร้างระดับสูงสุดตลอดกาลครั้งใหม่ที่ 2,713.93 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบที่อัตราการเพิ่มของราคาทองคำโลกและราคาทองคำไทย พบว่า นับตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2023 เป็นต้นมา ราคาทองคำโลกมีการปรับตัวขึ้นแล้วราว 31.57% ขณะที่ราคาทองคำไทยปรับตัวขึ้นที่ 26.15%  หรือราคาทองคำโลกมีการปรับตัวขึ้นมากกว่าราคาทองคำไทยราว 5.42%

ความแตกต่างดังกล่าว ถูกชี้นำจากค่าเงินบาท โดยหากย้อนกลับไปในช่วงไตรมาส 1 ที่ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าลง ราคาทองคำไทยนั้น มีการปรับตัวขึ้นราว 14.56% เมื่อเทียบจากสิ้นปี 2023 ขณะที่ในระยะเวลาเดียวกัน ราคาทองคำโลกปรับตัวขึ้นที่ 8.28%  แนวโน้มเช่นนี้ยังต่อเนื่องไปยังไตรมาส 2 โดยเมื่อเทียบกับสิ้นปีที่ผ่านมา ราคาทองคำโลกเพิ่มขึ้น 12.75% ขณะที่ราคาทองคำไทยเพิ่มขึ้น 20.36%

เมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาส 3 ค่าเงินบาทมีการเร่งตัวแข็งค่าขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นราว 11-12% เมื่อเทียบจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสกุลเงินชาติเอเชียที่แข็งค่ามากที่สุด ในไตรมาส ที่ผ่านมา การแข็งค่าอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ถูกชี้นำจากแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่กระตุ้นให้นักลงทุนแสวงหาการลงทุนที่มีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับการลงทุนในสหรัฐ หรือในรูปของสกุลเงินดอลลาร์

ด้วยเหตุนี้ ราคาทองคำไทยจึงถูกกดดันให้ลดช่วงการปรับตัวขึ้นจากช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา แม้ราคาทองคำจะสามารถปรับตัวขึ้นทำระดับสูงสุดตลอดกาลครั้งใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง อาจสามารถสร้างระดับสูงสุดตลอดกาลครั้งใหม่ได้ แม้ประเด็นขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังไม่มีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้นก็ตาม

ข้อมูลเปรียบเทียบช่วงการปรับตัวขึ้นระหว่างราคาทองคำไทยและราคาทองคำโลก ในช่วงไตรมาส 1-3  ปี 2024

ปี 2024   ราคาปิด Gold Spot          เปลี่ยนแปลง  ราคาปิด ทอง 96.5 (ต่อบาททองคำ)
เปลี่ยนแปลง
ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ม.ค.

 2,038.60  (-1.17%)  34,200 (+1.63)  35.54 

ก.พ.

 2,043.90 (+0.26%)  34,600 (+1.17%)  35.79

มี.ค.

 2,233.48 (+9.28%) 38,550 (+11.42%)   36.31 
YTD
ไตรมาส1 


  +8.28%   +14.56%  5.64 %
เม.ย.

 2,285.60 (+2.33%)  40,650 (+5.45%) 37.14 
พ.ค.

2,326.97 (+1.81%) 40,800 (+0.37%)  36.73 
มิ.ย.

 2,325.60 (-0.06%) 40,500 (-0.74%)   36.65 
YTD ไตรมาส 2 

   +12.75%   +20.36%   6.63%
ก.ค.

 2,447.00 (+5.22%)  40,850 (+0.86%) 35.53 
 ส.ค.

2,502.98 (+2.99%)   40,500 (-0.86%) 33.87 

ก.ย.

2,634.25 (+5.24%) 40,400 (-0.25%)  32.36

YTD ไตรมาส 3

+ 27.71 +20.06 %  5.85%

 ที่มา :  ASPEN

แนวโน้มราคาทองคำหลังทำนิวไฮ 

จากทั้งหมดที่กล่าวในข้างต้น หากตั้งคำถามว่า ราคาทองคำจะเพิ่มช่วงการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำได้หรือไม่ อาจต้องพิจารณาทั้งในส่วนของราคาทองคำโลก และค่าเงินบาท โดยปัจจัยหนุนที่สำคัญของราคาทองคำในระยะนี้ อันดับแรก คือ ขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ทั้งในพื้นที่ตะวันออกกลาง, สมรภูมิรัสเซีย-ยูเครน และช่องแคบจีน-ไต้หวัน เป็นต้น และสุดท้าย การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ในวันที่ 5 พ.ย.

ทั้งนี้ ประเด็นที่นับว่าสามารถกำหนดทิศทางค่าเงินบาทได้เป็นอย่างมากเช่นกัน คือ ขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมไปถึงการส่งสัญญาณถึงแนวทางการผ่อนคลายนโยบายการเงินของเฟดในปี 2025 โดยในช่วงที่ผ่านมา ราคาทองคำนับว่าได้ซึบซับกับมุมมองเชิงบวกของประเด็นดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว โดยปัจจุบัน นักลงทุนยังคงเชื่อมั่นต่อแนวโน้มที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกครั้งละ 0.25% ในการประชุมเดือนพ.ย. และธ.ค. ซึ่งเป็นไปตามการส่งสัญญาณของเฟด

อย่างไรก็ดี ข้อมูลสำคัญในฝั่งตลาดแรงงานสหรัฐ เดือนก.ย. นั้นออกมาแข็งแกร่งกว่าคาดการณ์เป็นอย่างมาก อาทิ การจ้างงานนอกภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น 2.54 แสนราย สูงสุดในรอบ  6 เดือน หรือตั้งแต่เดือนมี.ค. ขณะที่ข้อมูลด้านเงินเฟ้อ เดือนก.ย. นั้นมีการเร่งตัวขึ้นสูงกว่าคาดการณ์ แม้ว่ายังเงินเฟ้อสหรัฐยังมีทิศทางชะลอตัวลงในภาพรวม แต่กระนั้น ข้อมูลที่ออกมาเช่นนี้ อาจกดดันให้เฟดต้องชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง จากที่เคยส่งสัญญาณไว้ ซึ่งทางนายราฟาเอล บอสติก ประธานเฟด สาขาแอตแลนตา ได้ออกมาแสดงถึงการสนับสนุนการตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ในเดือนพ.ย. หากข้อมูลออกมาบ่งชี้ว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสม

ขนาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดจึงนับว่ายังมีความไม่แน่นอน แต่หากเฟดมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 0.50% ในช่วงที่เหลือของปีนี้ วายแอลจีประเมินว่า ราคาทองคำอาจปรับตัวขึ้นไปสร้างระดับสูงสุดเหนือช่วง 2,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนปี 2025 ขณะที่ประเด็นนี้ หนุนให้ค่าเงินบาทยังคงทรงตัวแข็งค่าเช่นกัน แต่อาจอ่อนค่าลงจากปัจจุบัน หากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ในเดือนธ.ค.  ทำให้จังหวะการอ่อนค่า อาจไปอยู่ที่ราว 34.32-35.75 บาทต่อดอลลาร์ ราคาทองคำไทยจึงมีโอกาสปรับตัวขึ้นสู่ 43,900-45,800 บาทต่อบาททองคำ

อย่างไรก็ดี หากเฟดใม่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเท่าที่ส่งสัญญาณไว้ในเดือนก.ย. ราคาทองคำมีแนวโน้มถูกกดดันให้ย่อตัวลง ขณะที่เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงมากขึ้น กรณีเช่นนี้ ประเมินว่า หากราคาทองคำยังสามารถรักษาระดับการเคลื่อนไหวเหนือ 2,625 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองคำยังมีโอกาสสร้างระดับสูงสุดตลอดกาลครั้งใหม่ได้เช่นกัน ด้วยทิศทางการอ่อนค่าลงของเงินบาท จากแนวโน้มการปรับตัวลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย อย่างไรก็ดี อาจต้องนำเอาประเด็นที่สามารถขับเคลื่อนราคาทองคำอย่าง ประเด็นความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ เข้ามาร่วมพิจารณาร่วมด้วย เนื่องด้วยอาจสามารถเบี่ยงเบนราคาทองคำ หรือค่าเงินดอลลาร์ได้

อาทิ หากเข้าสู่ช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการเลือกตั้งสหรัฐฯ พบว่า ความเป็นไปได้ในการคว้าชัยการเลือกตั้งประธานาธิบดีระหว่างกมลา แฮร์ริส แคนดิเดตพรรคเดโมแครต และโดนัลด์ ทรัมป์ แคนดิเดตพรรครีพับลิกัน นั้นยังคงขมีความไม่แน่นอนขในระดับสูง มีแนวโน้มที่นักลงทุนอาจขถือเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินปลอดภัยมากขขึ้น ซึ่งอาจมีส่วนกดดันให้เพิ่มแรงกดดันต่อราคาทองคำ และค่าเงินบาท แต่แรงกดดันที่เกิดขึ้นกับราคาทองคำอาจอยู่ในระดับจำกัด เมื่อเทียบกับแรงกดดันของค่าเงินบาท ราคาทองคำไทย

ฐิภา นววัฒนทรัพย์

ฐิภา นววัฒนทรัพย์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท YLG Bullion And Future จำกัด

advertisement

SPOTLIGHT