อินไซต์เศรษฐกิจ

BOI ปรับยุทธศาสตร์ 4 ปีใหม่ หวังไทยอยู่ในเรดาร์ฐานการผลิตระดับโลก  

26 ต.ค. 66
BOI ปรับยุทธศาสตร์ 4 ปีใหม่ หวังไทยอยู่ในเรดาร์ฐานการผลิตระดับโลก  

บอร์ดบีโอไอไฟเขียวแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก 4 ปี (พ.ศ. 2567-2570) ขานรับรัฐบาลใหม่ ดึงดูดการลงทุน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ BCG ยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัลและสร้างสรรค์  เพื่อผลักดันประเทศไทยให้เป็นฐานการผลิตชั้นนำของโลก พร้อมอนุมัติ 6 โครงการ ลงทุนกว่า 41,000 ล้านบาท

8 เดือน ทุนจีนลงทุนในไทยมากสุด BOI ปรับยุทธศาสตร์ 4 ปีใหม่ หวังไทยอยู่ในเรดาร์ฐานการผลิตระดับโลกได้ 

BOI ปรับยุทธศาสตร์ 4 ปีใหม่ หวังไทยอยู่ในเรดาร์ฐานการผลิตระดับโลก  

จากข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เปิดเผยว่า การประชุมบอร์ดบีโอไอ นัดแรกภายใต้รัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี อนุมัติแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก 4 ปี (พ.ศ. 2567 – 2570) โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวให้ความสำคัญกับ 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ ได้แก่ อุตสาหกรรมกลุ่ม BCG อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมดิจิทัลและสร้างสรรค์ และการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ

“นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก 4 ปี จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นฐานผลิตชั้นนำของโลก โดยบีโอไอจะทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้แผนดังกล่าวบรรลุเป้าหมาย” 

นอกจากนี้ บีโอไอยังมุ่งขับเคลื่อน 5 วาระสำคัญเพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลก ได้แก่ การเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมสีเขียว การพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี การพัฒนาและดึงดูดบุคลากรทักษะสูง การส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบคลัสเตอร์ และการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุน

 

โอกาสทองการลงทุนของประเทศไทย
BOI ปรับยุทธศาสตร์ 4 ปีใหม่ หวังไทยอยู่ในเรดาร์ฐานการผลิตระดับโลก  

นายนฤตม์ กล่าวว่า ช่วง 2 – 3 ปีจากนี้ เป็นช่วงที่มีความสำคัญต่อการลงทุนทั่วโลก เพราะมีการปรับโครงสร้างซัพพลายเชนครั้งใหญ่ และเกิดการย้ายฐานการลงทุนมุ่งหน้ามาสู่ภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น ถือเป็นโอกาสทองของไทย เนื่องจากมีความโดดเด่น ด้วยจุดแข็งที่อยู่ใจกลางอาเซียน มีโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่ง รวมถึงบุคลากรที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ไทยถือเป็นประเทศที่มีซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมสำคัญที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ บีโอไอจะทยอยออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนชุดใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศให้บรรลุเป้าหมายการเป็นฐานผลิตของอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลก และตอบโจทย์ 5 วาระสำคัญเพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ เช่น การออกมาตรการสนับสนุนการจัดการด้านคาร์บอนเครดิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการรายเดิมเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ มาตรการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมของรัฐหรือที่ดำเนินการร่วมกับรัฐไปผลิตต่อยอดในเชิงพาณิชย์ มาตรการส่งเสริมการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและการจ้างงานในภูมิภาคเพื่อกระจาย การลงทุนไปสู่พื้นที่ทั่วประเทศ เป็นต้น

การลงทุนในประเทศไทยเติบโตต่อเนื่อง

BOI ปรับยุทธศาสตร์ 4 ปีใหม่ หวังไทยอยู่ในเรดาร์ฐานการผลิตระดับโลก  

สำหรับสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมรวมทั้งสิ้น 1,375 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 และมีมูลค่าเงินลงทุน 465,058 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 47 ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนทั้งในแง่จำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน

การลงทุนส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ รองลงมาได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 

การลงทุนในพื้นที่ ส่วนใหญ่ เงินลงทุน อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก จาก  533 โครงการ มีมูลค่า 270,908 ล้านบาท รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง มีมูลค่า 111,810 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 29,428 ล้านบาท ภาคเหนือ 14,281 ล้านบาท ภาคใต้ 12,529 ล้านบาท ภาคตะวันตก 11,376 ล้านบาท ตามลำดับ



ทุนจากต่างแดนหลั่งไหลเข้าไทยต่อเนื่อง ทุนจีน มากสุด 

BOI ปรับยุทธศาสตร์ 4 ปีใหม่ หวังไทยอยู่ในเรดาร์ฐานการผลิตระดับโลก  

จากสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 52 ทั้งในแง่จำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุน มีจำนวน 801 โครงการ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน มีมูลค่าเงินลงทุน 365,198 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน

จีนยังคงเป็นประเทศที่มีมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด โดยมีมูลค่าเงินลงทุน 90,346 ล้านบาท จาก 228 โครงการ ส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นอันดับ 2 โดยมีมูลค่าเงินลงทุน 76,437 ล้านบาท จาก 114 โครงการ เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ และแผ่นวงจรพิมพ์

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นอันดับ 3 มีมูลค่าเงินลงทุน 40,554 ล้านบาท จาก 156 โครงการ ส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

 

มีการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นในไทย

BOI ปรับยุทธศาสตร์ 4 ปีใหม่ หวังไทยอยู่ในเรดาร์ฐานการผลิตระดับโลก  

การออกบัตรส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ในช่วง 8 เดือนแรก ปี 2566  สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการลงทุนจริงที่สดใส มีจำนวน 1,106 โครงการที่ลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน เงินลงทุนรวม 288,708 ล้านบาท อยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การออกบัตรส่งเสริมการลงทุนถือเป็นขั้นตอนที่ใกล้เคียงการลงทุนจริงมากที่สุด โดยโครงการที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะเตรียมการและดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 - 2 ปี ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการผลิตหรือให้บริการจริง

การเพิ่มขึ้นของการลงทุนในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และ ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนเชิงรุก 4 ปี ของบีโอไอ เป็นแผนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นฐานผลิตชั้นนำของโลก โดยบีโอไอจะร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้แผนดังกล่าวบรรลุเป้าหมาย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

บีโอไออนุมัติการส่งเสริมการลงทุน 6 โครงการ มูลค่ารวม 41,086 ล้านบาท

BOI ปรับยุทธศาสตร์ 4 ปีใหม่ หวังไทยอยู่ในเรดาร์ฐานการผลิตระดับโลก  

สำหรับผลการอนุมัติโครงการล่าสุดของ BOI  มูลค่า41,086 ล้านบาทนั้นมีทั้งกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยี การท่องเที่ยว กรขนส่ง โดยแยกรายละเอียดดังนี้ 

โครงการยานยนต์ไฟฟ้า มูลค่า 8,862  ล้านบาท

  • ยานยนต์ไฟฟ้า ยังเป็นเป้าหมายหลักของการส่งเสริมการลงทุน บอร์ดบีโอไออนุมัติโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊กของบริษัท ฉางอัน ออโตโมบิล จำกัด มูลค่าลงทุน 8,862 ล้านบาท มีกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV ) 58,000 คันต่อปี และรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมเสียบปลั๊ก (PHEV) 36,000 คันต่อปี

โครงการพลังงานสะอาด 2 โครงการ รวมมูลค่า 9,874  ล้านบาท

  • ด้านพลังงานสะอาด เป็นอีกอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุน บอร์ดบีโอไออนุมัติโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะด้วยเครื่องกังหันไอน้ำของบริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่าลงทุน 4,892 ล้านบาท ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์จัดขยะมูลฝอยหนองแขม กรุงเทพฯ มีกำลังการผลิตรวม 35 เมกะวัตต์
  • โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะด้วยเครื่องกังหันไอน้ำ บริษัท นิวสกาย เอ็นเนอร์จี (แบงค็อก) จำกัด มูลค่าลงทุน 4,892 ล้านบาท  ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพฯ มีกำลังการผลิต 35 เมกะวัตต์

โครงการ Data Center มูลค่า 3,586  ล้านบาท

  • ด้านเทคโนโลยี บอร์ดบีโอไออนุมัติโครงการ Data Center ของบริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด มูลค่าลงทุน 3,586 ล้านบาท เพื่อรองรับความต้องการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้น

โครงการขนส่งทางอากาศ มูลค่า 9,314 ล้านบาท 

  • ด้านโลจิสติกส์ บอร์ดบีโอไออนุมัติโครงการขนส่งทางอากาศของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มูลค่าลงทุน 9,314 ล้านบาท ในการจัดซื้อเครื่องบินโดยสาร จำนวน 5 ลำ แต่ละลำจะมีความจุผู้โดยสารรวม 1,670 ที่นั่ง และสามารถบรรทุกสินค้ารวม 303 ตัน

โครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวไทย มูลค่า 9,540 ล้านบาท 

  • ด้านการท่องเที่ยว บอร์ดบีโอไออนุมัติโครงการสร้างแหล่งท่องเที่ยวของบริษัท ส้งเฉิง โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่าลงทุน 9,540 ล้านบาท เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดชลบุรี

 

การอนุมัติการส่งเสริมการลงทุน 6 โครงการ มูลค่ารวม 41,086 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของประเทศไทยในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยบีโอไอจะยังคงมุ่งมั่นในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

advertisement

Relate Post

SPOTLIGHT