แม้ว่าสภาพอากาศของประเทศไทยขณะนี้จะเย็นลง และมีฝนตกลงมาบ้างแล้วแต่หลายคนยอมรับว่า อากาศร้อนของประเทศไทยในปี 2567 นี้ร้อนกว่าทุกปีที่ผ่านมาและสอดคล้องกับข้อมูลของหน่วยงานต่างๆที่ระบุว่า ปี2567 เป็นปีที่ประเทศในแถบอาเซียน ร้อนทำลายสถิติ แม้ความร้อนจะมีแนวโน้มคลี่คลายลงแต่ภัยพิบัติจากสภาพอากาศแปรปรวนยังคงเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องเตรียมรับมือต่อไป
บทความนี้ SPOTLIGHT พาไปสำรวจสถานการณ์ความวิกฤตจากคลื่นความร้อนของ 8 ประเทศในอาเซียน รวมถึงแนวทางการรับมือของหลายประเทศ
อุณหภูมิแตะระดับ : 45 °C (ทุบสถิติร้อนสูงสุด 73 ปี)
อุณหภูมิแตะระดับ : 44 °C
อุณหภูมิแตะระดับ : 40 °C
อุณหภูมิแตะระดับ : 37 °C (ร้อนที่สุดอันดับ 4 จากการจดบันทึกเมื่อปี 1929)
อุณหภูมิแตะระดับ : 40 °C
อุณหภูมิแตะระดับ : 43 °C
อุณหภูมิพุ่งสูงสุด : 48.2 °C (ทุบสถิติสูงงสุดในรอบ 60ปี)
อุณหภูมิแตะระดับ : 45 °C (สถิติสูงสุดในประวัติการณ์)
ปรากฎการณ์เอลนีโญ คือ ปรากฏการณ์ที่กระแสน้ำอุ่น ไหลจากตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก อันเป็นปกติ ไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู นานประมาณ 2-3 เดือน บางครั้งอาจยาวนานข้ามปี
ผลกระทบของเอลนีโญ
ทำให้ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ออกมาเตือนว่า อากาศร้อนปี 2566 จะร้อนกว่าปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน หลังปรากฏการณ์ลานีญา ในช่วง 3-4 ปีติดต่อกันได้สิ้นสุดลงแล้ว และปี 2566 ไม่ได้ร้อนที่สุด แต่ปี 2567 จะร้อนมากกว่านี้ เพราะปรากฏการณ์เอลนีโญ จะแรงที่สุดตั้งแต่ช่วงเดือน ธ.ค. ปี 2566 เป็นต้นไป
ปรากฏการณ์เอลนีโญ นอกจากทำให้ปีนี้อากาศร้อนมากขึ้น ยังก่อให้เกิดภัยแล้งยาวนานไปถึงปีหน้า โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างมาก 1 องศาฯ ในปีหน้า และปีถัดๆไปอุณหภูมิจะสูงขึ้นไปอีก
เพราะฉะนั้นเมื่ออากาศร้อนอบอ้าวติดต่อกัน ก็จะเกิดพายุฤดูร้อน ทำให้ตั้งแต่ช่วงนี้เป็นต้นไปตลอดเดือน เม.ย. จะมีทั้งอากาศร้อนอบอ้าวและพายุฤดูร้อน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และตะวันออก ให้ระวังพายุฤดูร้อน ซึ่งเป็นห่วงไม้ผลพวกทุเรียนในภาคตะวันออก จะหักโค่นได้รับความเสียหาย แต่เมื่อเกิดพายุฤดูร้อนก็ต้องยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะไม่สามารถป้องกันหรือระวังได้
ลานีญา คือ ปรากฏการณ์ธรรมชาติทางสมุทรศาสตร์ที่ตรงข้ามกับกับเอลนีโญ ซึ่งทำให้ฝั่งเอเชียฝนตกมากยิ่งขึ้น จนอาจเกิดเป็นภัยพิบัติทางน้ำขึ้นมาได้ ขณะที่ฝั่งอเมริกาจะแห้งแล้งกว่าเดิม
3 ผลกระทบของลานีญาในประเทศไทย